พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมจากการจัดสรรที่ดิน: สิทธิการใช้ทาง และข้อจำกัดสิทธิเจ้าของที่ดิน
ล. ก่อสร้างตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ ลงบนที่ดินแปลงย่อยซึ่งแบ่งจากที่ดินแปลงใหญ่รวม 121 คูหา เรียงติดต่อกัน การที่ อ. จัดจำหน่ายที่ดินพร้อมตึกแถวตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป โดยมีทางเท้าและถนนผ่านหน้าตึก โครงการ ชี้ให้เห็นว่าเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะจึงถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดิน ดังนั้น ทางเท้าที่ดินพิพาทของโจทก์ ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ปัญหานี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะ มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตก่อสร้างภายหลังกฎกระทรวงหมดอายุ: เจ้าของที่ดินมีสิทธิหากไม่มีกฎหมายห้าม
โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารภายหลังจากที่กฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่บริเวณที่ดินที่โจทก์ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเป็นเขตพื้นที่สีเขียวอ่อนสิ้นผลบังคับใช้ไปแล้ว จึงไม่มีกฎหมายใด ๆ กำหนดว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตพื้นที่สีเขียวอ่อนซึ่งห้ามเจ้าของที่ดินก่อสร้างอาคาร ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขออนุญาตโดยถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินในการใช้สอยและขัดขวางการใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนโดยมิชอบ แม้จะกระทบสิทธิการค้าขายของผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการใช้ทางร่วม
การที่จำเลยที่ 2 นำแผ่นเหล็กปิดกั้นประตูด้านข้างตึกแถวของโจทก์ หรือทำประตูเหล็กปิดกั้นปากทางเข้าออกหอพัก ล้วนได้กระทำภายในเขตโฉนดที่ดินของตนที่ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 และปากทางเข้าออกหอพักนั้นก็ไม่ได้ตกอยู่ในภารจำยอมอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดินดังกล่าว โดยเฉพาะการที่บุคคลใดจะใช้ประโยชน์จากที่ดินของบุคคลอื่นได้นั้นต้องมีสิทธิอันมีกฎหมายรองรับ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเช่นว่านี้จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะใช้สอย รวมทั้งมีสิทธิขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
การที่จำเลยที่ 2 นำแผ่นเหล็กและทำประตูเหล็กปิดกั้นก็เพราะมีบุคคลภายนอกเข้ามาใช้ทางเข้าออกหอพัก และเพื่อเป็นการป้องกันทรัพย์สินของผู้ที่อาศัยอยู่ในหอพักเป็นการใช้สิทธิตามปกติวิสัยของผู้เป็นเจ้าของที่ดินในการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2 ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นและโจทก์เองก็สามารถประกอบกิจการค้าขายด้านหน้าร้านได้ตามปกติ ซึ่งอาจจะลดความสะดวกลงไปบ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
ขณะทำสัญญาซื้อขายตึกแถว จำเลยที่ 1 ได้ตกลงให้โจทก์ทำประตูเหล็กปิดเปิดที่ผนังด้านข้างของตึกได้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้มีการทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานและเป็นเพียงบุคคลสิทธิไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อที่ดินต่อจากจำเลยที่ 1 และไม่ใช่กรณีผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 นำแผ่นเหล็กและทำประตูเหล็กปิดกั้นก็เพราะมีบุคคลภายนอกเข้ามาใช้ทางเข้าออกหอพัก และเพื่อเป็นการป้องกันทรัพย์สินของผู้ที่อาศัยอยู่ในหอพักเป็นการใช้สิทธิตามปกติวิสัยของผู้เป็นเจ้าของที่ดินในการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2 ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นและโจทก์เองก็สามารถประกอบกิจการค้าขายด้านหน้าร้านได้ตามปกติ ซึ่งอาจจะลดความสะดวกลงไปบ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
ขณะทำสัญญาซื้อขายตึกแถว จำเลยที่ 1 ได้ตกลงให้โจทก์ทำประตูเหล็กปิดเปิดที่ผนังด้านข้างของตึกได้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้มีการทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานและเป็นเพียงบุคคลสิทธิไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อที่ดินต่อจากจำเลยที่ 1 และไม่ใช่กรณีผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: สิทธิของเจ้าของที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทกว้าง 3 เมตร ยาว 100 เมตร บนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่ให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบว่า ทางพิพาทจะเป็นทางประเภทใดเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม และจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าทางพิพาทตามความกว้างยาวดังกล่าวตกเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องเสียค่าทดแทน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสำนวน และใช้ดุลพินิจเลือกวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นการตรงตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว
ป.พ.พ.มาตรา 1350 บัญญัติรับรองให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ย่อมมีสิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย ดังนี้จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก
ป.พ.พ.มาตรา 1350 บัญญัติรับรองให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ย่อมมีสิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย ดังนี้จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินและภาระจำยอมสาธารณูปโภค: สิทธิการใช้สโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมของเจ้าของที่ดิน
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 1 ประกอบข้อ 30วรรคหนึ่ง กรณีที่ถือว่าเข้าหลักเกณฑ์เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ สาระสำคัญอยู่ที่การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่10 แปลงขึ้นไป และมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงให้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบการพาณิชย์ หรือที่ประกอบการอุตสาหกรรม เมื่อมีการกระทำครบหลักเกณฑ์ดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามความหมายหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ส่วนผู้จัดสรรจะขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินต่อคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 หรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของผู้จัดสรรไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้นำที่ดินของตนมาแบ่งเป็นแปลงย่อยคนละ 5 แปลง รวมเป็น 10 แปลง แล้วให้บริษัท ส.ทำการจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านโดยที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยรวม 10 แปลง ได้มีการก่อสร้างบ้านจำนวน 9 หลังลงในที่ดิน 10 แปลง การจัดจำหน่ายที่ดินและบ้าน ทางผู้จัดสรรขายได้มีการแยกทำสัญญาเป็น 3 ฉบับ คือให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 3 หรือที่ 4 ส่วนการปลูกสร้างบ้านให้ผู้ซื้อทำสัญญาว่าจ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.เป็นผู้รับจ้างปลูกสร้างบ้าน และให้บริษัท ส.เป็นผู้รับจ้างทำถนน น้ำ ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ ตลอดจนปรับปรุงที่ดินเพื่อแบ่งเบาภาระในเรื่องภาษี แต่การดำเนินจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านของบริษัท ส. กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ล้วนกระทำการโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ส. อันมีจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 รู้เห็นและมีส่วนร่วมในการจัดสรรในโครงการการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่นำมาจัดสรรขายปรากฏว่าได้นำที่ดินซึ่งแบ่งเป็นแปลงย่อยรวม 10 แปลง ดังกล่าวนำเข้าโครงการเพื่อจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์และผู้ซื้อทั่วไป อีกทั้งยังได้มีการโฆษณาว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมบริการแก่ผู้ซื้ออีกด้วย ซึ่งต่อมาว่าได้มีการจัดสร้างสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะดังกล่าวขึ้นตามที่ได้โฆษณาหรือให้คำมั่นไว้แล้วดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกับบริษัท ส. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ดำเนินการจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านในโครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าว และได้แสดงเจตนาออกอย่างชัดแจ้งว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินและบ้านจากโครงการได้ใช้ประโยชน์จากสโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมร่วมกัน ย่อมเข้าหลักเกณฑ์เป็นสาธารณูปโภคตามบทบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 ฉะนั้น สโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อม จึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรของโจทก์ทั้งสามโดยผลแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
จำเลยทั้งหกได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่286 ข้อ 30 โดยนำที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อม ในส่วนที่ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 6อีกทั้งมีการห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามใช้สโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมกับได้สร้างกำแพงคอนกรีตปิดกั้นมิให้โจทก์ทั้งสามเข้าไปอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกไป โจทก์ทั้งสามย่อมมีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ปิดกั้นนั้นได้
แม้การจัดสรรจะปลูกสร้างบ้านขายเพียง 9 หลัง แต่จำเลยที่ 3และจำเลยที่ 4 ได้แบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยจำนวนคนละ 5 แปลง จึงเท่ากับ10 แปลง กรณีถือได้ว่าเป็นการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวน10 แปลงขึ้นไป แม้บ้านเลขที่เดียวจะตั้งอยู่บนที่ดิน 2 โฉนด ในพื้นที่จำนวน 1 แปลงเหมือนกับแปลงอื่น ๆ ก็ไม่ทำให้การดำเนินการของจำเลยไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านที่จำเลยทั้งหมดร่วมกันจัดสรรโดยมีการโฆษณาให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมเพื่อให้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับโครงการ และต่อมาได้จัดให้มีสาธารณูปโภคดังกล่าวแล้ว แต่ห้ามโจทก์ทั้งสามเข้าไปใช้ทำให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ซื้อมาจากการจัดสรรของจำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งหมดไม่มีสิทธิกระทำได้เพราะสาธารณูปโภคดังกล่าวตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสามตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 จำเลยทั้งหมดจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกไม่ได้ โดยขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งหกจดทะเบียนที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสโมสร สระว่ายน้ำ ฉละสวนหย่อม ตกอยู่ในบังคับภาระจำยอมของที่ดินโจทก์ทั้งสามและห้ามจำเลยทั้งหกกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้การใช้ประโยชน์ในสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกโจทก์ทั้งสามได้บรรยายฟ้องถึงเหตุและสิทธิของโจทก์ทั้งสามที่จะขอให้ศาลบังคับเอาแก่จำเลยทั้งหกว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิหรือเหตุอย่างไร จำเลยทั้งหกย่อมทราบเรื่องดีอยู่แล้ว มิใช่โจทก์ทั้งสามเพิ่งจะมากล่าวอ้างเมื่อฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงแจ้งชัดทั้งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จำเลยทั้งหกจะให้การต่อสู้คดีได้แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้นำที่ดินของตนมาแบ่งเป็นแปลงย่อยคนละ 5 แปลง รวมเป็น 10 แปลง แล้วให้บริษัท ส.ทำการจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านโดยที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยรวม 10 แปลง ได้มีการก่อสร้างบ้านจำนวน 9 หลังลงในที่ดิน 10 แปลง การจัดจำหน่ายที่ดินและบ้าน ทางผู้จัดสรรขายได้มีการแยกทำสัญญาเป็น 3 ฉบับ คือให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 3 หรือที่ 4 ส่วนการปลูกสร้างบ้านให้ผู้ซื้อทำสัญญาว่าจ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.เป็นผู้รับจ้างปลูกสร้างบ้าน และให้บริษัท ส.เป็นผู้รับจ้างทำถนน น้ำ ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ ตลอดจนปรับปรุงที่ดินเพื่อแบ่งเบาภาระในเรื่องภาษี แต่การดำเนินจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านของบริษัท ส. กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ล้วนกระทำการโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ส. อันมีจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 รู้เห็นและมีส่วนร่วมในการจัดสรรในโครงการการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่นำมาจัดสรรขายปรากฏว่าได้นำที่ดินซึ่งแบ่งเป็นแปลงย่อยรวม 10 แปลง ดังกล่าวนำเข้าโครงการเพื่อจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์และผู้ซื้อทั่วไป อีกทั้งยังได้มีการโฆษณาว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมบริการแก่ผู้ซื้ออีกด้วย ซึ่งต่อมาว่าได้มีการจัดสร้างสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะดังกล่าวขึ้นตามที่ได้โฆษณาหรือให้คำมั่นไว้แล้วดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกับบริษัท ส. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ดำเนินการจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านในโครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าว และได้แสดงเจตนาออกอย่างชัดแจ้งว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินและบ้านจากโครงการได้ใช้ประโยชน์จากสโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมร่วมกัน ย่อมเข้าหลักเกณฑ์เป็นสาธารณูปโภคตามบทบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 ฉะนั้น สโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อม จึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรของโจทก์ทั้งสามโดยผลแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
จำเลยทั้งหกได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่286 ข้อ 30 โดยนำที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อม ในส่วนที่ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 6อีกทั้งมีการห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามใช้สโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมกับได้สร้างกำแพงคอนกรีตปิดกั้นมิให้โจทก์ทั้งสามเข้าไปอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกไป โจทก์ทั้งสามย่อมมีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ปิดกั้นนั้นได้
แม้การจัดสรรจะปลูกสร้างบ้านขายเพียง 9 หลัง แต่จำเลยที่ 3และจำเลยที่ 4 ได้แบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยจำนวนคนละ 5 แปลง จึงเท่ากับ10 แปลง กรณีถือได้ว่าเป็นการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวน10 แปลงขึ้นไป แม้บ้านเลขที่เดียวจะตั้งอยู่บนที่ดิน 2 โฉนด ในพื้นที่จำนวน 1 แปลงเหมือนกับแปลงอื่น ๆ ก็ไม่ทำให้การดำเนินการของจำเลยไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านที่จำเลยทั้งหมดร่วมกันจัดสรรโดยมีการโฆษณาให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมเพื่อให้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับโครงการ และต่อมาได้จัดให้มีสาธารณูปโภคดังกล่าวแล้ว แต่ห้ามโจทก์ทั้งสามเข้าไปใช้ทำให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ซื้อมาจากการจัดสรรของจำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งหมดไม่มีสิทธิกระทำได้เพราะสาธารณูปโภคดังกล่าวตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสามตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 จำเลยทั้งหมดจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกไม่ได้ โดยขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งหกจดทะเบียนที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสโมสร สระว่ายน้ำ ฉละสวนหย่อม ตกอยู่ในบังคับภาระจำยอมของที่ดินโจทก์ทั้งสามและห้ามจำเลยทั้งหกกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้การใช้ประโยชน์ในสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกโจทก์ทั้งสามได้บรรยายฟ้องถึงเหตุและสิทธิของโจทก์ทั้งสามที่จะขอให้ศาลบังคับเอาแก่จำเลยทั้งหกว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิหรือเหตุอย่างไร จำเลยทั้งหกย่อมทราบเรื่องดีอยู่แล้ว มิใช่โจทก์ทั้งสามเพิ่งจะมากล่าวอ้างเมื่อฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงแจ้งชัดทั้งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จำเลยทั้งหกจะให้การต่อสู้คดีได้แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินริมคลองในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ แม้เป็นประโยชน์สาธารณะ
จำเลยปลูกสร้างสะพานกว้าง 1 เมตร ยาว 50 เมตร ลงในคลองสำโรงซึ่งเป็นคลองสาธารณะ ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์ในระยะห่างประมาณ1 ถึง 2 เมตร ในลักษณะมั่นคงและถาวร อันอาจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางขึ้นหรือทางลงคลองดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์มิได้อาศัยและทำประโยชน์อยู่ในที่ดินขณะจำเลยปลูกสร้างสะพาน และการปลูกสร้างได้กระทำลงในคลองสาธารณะและเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะฟ้องขอให้รื้อถอนสะพานที่ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์เพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและมูลละเมิด: สิทธิเจ้าของที่ดินในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเรียกค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวว่าอาคารของโจทก์เสียหายอย่างไรอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสิบเอ็ด ความเสียหายดังกล่าวสามารถซ่อมแซมได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ค่าเสียหายจำนวนเงินเท่าใด โจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งถึงสภาพของความเสียหายของโจทก์และจำนวนค่าเสียหาย เพียงพอที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะให้การต่อสู้ได้แล้ว โจทก์ไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้องว่าความเสียหายของโจทก์อยู่ที่ส่วนไหนเพียงใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบเอ็ดรื้อถอนอาคารชุดจำเลยที่ 2 ในส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336บังคับให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดรื้อถอนอาคารชุดส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องละเมิด ส่วนกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายที่อาคารของโจทก์เสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดโดยตรงนั้น โจทก์อ้างว่าอาคารของโจทก์แตกร้าวเสียหายเมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2530และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดรื้อถอนอาคารชุดส่วนที่รุกล้ำ แต่จำเลยทั้งสิบเอ็ดเพิกเฉย ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยทั้งสิบเอ็ดยังคงปล่อยให้มีการรุกล้ำดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดกระทำละเมิดต่อโจทก์ติดต่อกันมาอยู่ตราบนั้น โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตราบเท่าที่ยังไม่มีการรื้อถอนอาคารชุดส่วนที่รุกล้ำ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6158/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางพิพาท ทางจำเป็น และขอบเขตการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดิน
คลองแคมีกว้างประมาณ 6 เมตร แม้จะมีน้ำตลอดปี แต่ก็มีสภาพเน่าเสีย ร่องน้ำตรงกลางกว้างประมาณ 1 เมตร ริมคลองมีต้นกก บางส่วนของคลองตื้นเขิน ปัจจุบันไม่ค่อยมีเรือผ่าน เนื่องจากมีถนนสาธารณะเลียบริมคลอง ชาวบ้านใช้รถยนต์ ไม่ใช้เรือ ดังนั้น คลองแคจึงไม่อยู่ในสภาพที่ชาวบ้านใช้สัญจรไปมาตามปกติไม่ใช่ทางสาธารณะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 เมื่อที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ จึงต้องออกทางพิพาทไปสู่ถนนสาธารณะประโยชน์ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นของที่ดินโจทก์
ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็นตามสภาพ สามารถใช้รถยนต์แล่นผ่านได้ โจทก์จึงนำรถยนต์บรรทุกแล่นผ่านทางพิพาทได้ เพราะเป็นการใช้ทางพิพาทสัญจรตามปกติโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินของจำเลย
การที่จำเลยใช้ไม้ปิดกั้นมิให้โจทก์นำรถยนต์บรรทุกเข้าไปถมดินในที่ดินของโจทก์นั้น เนื่องจากรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักมากอาจเกิดความเสียหายแก่ที่ดินของจำเลยได้ จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยมีอำนาจที่จะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย มิได้มีเจตนาจะแกล้งให้โจทก์ต้องได้รัความเสียหาย และมิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อ การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็นตามสภาพ สามารถใช้รถยนต์แล่นผ่านได้ โจทก์จึงนำรถยนต์บรรทุกแล่นผ่านทางพิพาทได้ เพราะเป็นการใช้ทางพิพาทสัญจรตามปกติโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินของจำเลย
การที่จำเลยใช้ไม้ปิดกั้นมิให้โจทก์นำรถยนต์บรรทุกเข้าไปถมดินในที่ดินของโจทก์นั้น เนื่องจากรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักมากอาจเกิดความเสียหายแก่ที่ดินของจำเลยได้ จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยมีอำนาจที่จะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย มิได้มีเจตนาจะแกล้งให้โจทก์ต้องได้รัความเสียหาย และมิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อ การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินตกเป็นทางสาธารณะ การไฟฟ้านครหลวงวางเสาไฟฟ้าไม่ละเมิดสิทธิเจ้าของที่ดิน
คดีก่อน โจทก์ฟ้องการไฟฟ้านครหลวงเป็นจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยเข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 เลขที่77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 เฉพาะส่วนนอกจากที่แบ่งไว้เป็นถนน และที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000การไฟฟ้านครหลวงให้การว่า เมื่อ ล.เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่1006 ออกเป็น 72 แปลง จัดสรรให้บุคคลอื่น การแบ่งแยกได้กันที่ดินทำเป็นถนนเพื่อให้ประชาชนในบริเวณนั้นใช้ โดย ล.มีเจตนาจะให้ที่ดินส่วนที่กันไว้เป็นทางสาธารณะและประชาชนได้ใช้สัญจรมากว่า 20 ปีแล้ว การไฟฟ้านครหลวงได้เข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมจากถนนไปสู่ที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 ซึ่งเป็นทางสาธารณะไปแล้วนั้นก็ได้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อย ๆ อีกหลายแปลง รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ปัญหาที่ว่าที่ดินทั้งสี่โฉนดของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นประเด็นที่พิพาทกันโดยตรงในคดีก่อน ซึ่งในคดีก่อนศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินของโจทก์ตกเป็นทางสาธารณะแล้ววินิจฉัยว่าการกระทำของการไฟฟ้านครหลวงไม่เป็นการละเมิด พิพากษายกฟ้อง และคดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงในปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกันว่า ล.ได้อุทิศที่ดินทั้งสี่โฉนดให้เป็นทางสาธารณะแล้วดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ด้วยเพราะเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาคดีนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องฟังว่าที่ดินทั้งสี่แปลงพิพาทในคดีนี้เป็นทางสาธารณะ การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งกรมที่ดินจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 บันทึกลงในโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลงว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304 (2) จึงมิใช่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงใช้ทางเดินส่วนบุคคลไม่เป็นภารจำยอม แม้จะมีการปฏิบัติตามตกลง แต่เป็นการใช้สิทธิเจ้าของที่ดินเดิม
จำเลยยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงของเจ้าของเดิมของที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 ให้เส้นทางพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าวด้านทิศใต้กว้าง 1.5 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินดังกล่าวแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ด้านหลังใช้เป็นทางเดินและเมื่อแรกที่จำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 ก็ได้ทำรั้วโดยเว้นทางพิพาทไว้อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในทางพิพาทออกไป โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 จึงไม่อาจได้ภารจำยอมโดยอายุความและข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นทรัพยสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 4 จึงไม่เป็นภารจำยอม