คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเดินทาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องโดยไม่ขัดขวาง ย่อมได้สิทธิภารจำยอม แม้เจ้าของที่ดินยินยอมโดยไม่ได้จดทะเบียน
โจทก์ทั้งสิบซึ่งมีที่ดินและบ้านเรือนอยู่ด้านหลังที่ดินจำเลยและชาวบ้านใกล้เคียงได้ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นคันดินร่องสวนในที่ดินโฉนดเลขที่ 3818 ของจำเลยเดินออกสู่ถนนสาธารณะมาประมาณ 50 ปี โดยเจ้าของเดิมไม่ได้ห้ามปรามและเมื่อจำเลยซื้อที่ดินดังกล่าวมาก็ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ห้ามปรามยังคงให้เดินผ่านตลอดมา แม้จำเลยปลูกสร้างรั้วในที่ดินก็ยังเว้นทางเดินให้อยู่นอกรั้วที่จำเลยก่อสร้างเมื่อโจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านเดินเข้าออกในทางพิพาทเกิน10 ปี ติดต่อกันโดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ใด และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวบ้านในท้องถิ่นที่เอื้อเฟื้อกัน กรณีผู้ที่อยู่ในสวนลึกจะต้องอาศัยเดินผ่านสวนของผู้อื่นออกสู่ทางสาธารณะการยินยอมอนุญาตดังกล่าวเป็นการยินยอมอนุญาตโดยทั่วไปที่ไม่หวงห้ามหรือสงวนสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของตน ยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน เป็นภารจำยอมที่เกิดขึ้นโดยสมัครใจ จึงมิใช่การอนุญาตด้วยความคุ้นเคยเป็นการเฉพาะตัวหรือเป็นการถือวิสาสะ ดังนี้โจทก์ทั้งสิบจึงได้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าการเดินเผชิญสืบในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวเป็นการเพียงพอที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดเดินเผชิญสืบจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดอัตราค่าทนายความในคดีไม่มีทุนทรัพย์ขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ 3,000 บาท คดีนี้แม้มีโจทก์ 10 คน แต่ฟ้องรวมเป็นคดีเดียว โจทก์ทั้งสิบจึงมีสิทธิได้ค่าทนายความอย่างสูงเพียง 3,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องโดยไม่ขัดขวาง ย่อมได้สิทธิภารจำยอม แม้เจ้าของที่ดินยินยอมโดยทั่วไป
โจทก์ทั้งสิบซึ่งมีที่ดินและบ้านเรือนอยู่ด้านหลังที่ดินจำเลยและชาวบ้านใกล้เคียงได้ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นคันดินร่องสวนในที่ดินโฉนดเลขที่ 3818 ของจำเลยเดินออกสู่ถนนสาธารณะมาประมาณ 50 ปี โดยเจ้าของเดิมไม่ได้ห้ามปรามและเมื่อจำเลยซื้อที่ดินดังกล่าวมาก็ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ห้ามปรามยังคงให้เดินผ่านตลอดมา แม้จำเลยปลูกสร้างรั้วในที่ดินก็ยังเว้นทางเดินให้อยู่นอกรั้วที่จำเลยก่อสร้างเมื่อโจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านเดินเข้าออกในทางพิพาทเกิน10 ปี ติดต่อกันโดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ใด และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวบ้านในท้องถิ่นที่เอื้อเฟื้อกัน กรณีผู้ที่อยู่ในสวนลึกจะต้องอาศัยเดินผ่านสวนของผู้อื่นออกสู่ทางสาธารณะการยินยอมอนุญาตดังกล่าวเป็นการยินยอมอนุญาตโดยทั่วไปที่ไม่หวงห้ามหรือสงวนสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของตน ยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน เป็นภารจำยอมที่เกิดขึ้นโดยสมัครใจ จึงมิใช่การอนุญาตด้วยความคุ้นเคยเป็นการเฉพาะตัวหรือเป็นการถือวิสาสะ ดังนี้โจทก์ทั้งสิบจึงได้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าการเดินเผชิญสืบในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวเป็นการเพียงพอที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดเดินเผชิญสืบจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดอัตราค่าทนายความในคดีไม่มีทุนทรัพย์ขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ 3,000 บาท คดีนี้แม้มีโจทก์ 10 คน แต่ฟ้องรวมเป็นคดีเดียว โจทก์ทั้งสิบจึงมีสิทธิได้ค่าทนายความอย่างสูงเพียง 3,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเดินทางและภาระจำยอม: การได้มา การสูญเสีย และผลกระทบต่อผู้รับโอน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 610 เป็นของบิดาจำเลยที่ 1 เคยให้โจทก์ทั้งสองเช่าบางส่วน เมื่อบิดาจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1ได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วนำไปแบ่งขายให้แก่โจทก์ทั้งสอง ขณะที่เช่าที่ดินกับบิดาจำเลยที่ 1 บิดาจำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทหลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ก็ได้ให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทดังกล่าว การที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเดินผ่านที่ดินพิพาท จึงเป็นการได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเดินผ่านจากบิดาจำเลยที่ 1 และตัวจำเลยที่ 1 นั่นเอง โจทก์ทั้งสองมิได้เดินในที่พิพาทโดยอาศัยอำนาจแห่งตนและขณะนั้นที่ดินดังกล่าวยังเป็นที่ดินแปลงเดียวกันอยู่กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องการมีสิทธิเหนือที่ดินแปลงหนึ่งเพื่อประโยชน์ของที่ดินอีกแปลงหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เพิ่งจะซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 16กุมภาพันธ์ 2524 โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์2527 นับถึงวันฟ้องวันที่ 31 มกราคม 2534 ยังไม่ครบ 10 ปี ถึงแม้หากโจทก์ทั้งสองจะใช้สิทธิโดยอำนาจแห่งตนโดยพลการเดินผ่านที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1ตั้งแต่ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 ก็หาอาจได้สิทธิภาระจำยอมในทางเดินในที่ดินพิพาทดังกล่าวไม่
ที่โจทก์ที่ 2 อ้างว่าในการซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1เคยทำสัญญาไว้ว่า เมื่อซื้อที่ดินแล้วจะเปิดทางให้ทำถนนนั้น ก็ปรากฏว่าสัญญาดังกล่าวกระทำกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส. มิได้กระทำกับโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 เองก็เบิกความว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ที่ 2 ได้หย่าขาดกับ ส.แล้ว และมิได้มีการจดทะเบียนให้ทางเดินในที่ดินพิพาทเป็นทางเดินภาระจำยอมไว้ ทั้งสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็เป็นบุคคลสิทธิ บังคับได้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส.ไม่มีเหตุที่โจทก์ที่ 2 จะนำสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาได้
ขณะที่โจทก์ที่ 2 สร้างถนนคอนกรีตบางส่วนบนที่ดินพิพาทนั้นจำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินอยู่ การสร้างถนนคอนกรีตของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการสร้างโดยได้รับอนุญาต เมื่อจำเลยที่ 2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินต่อไปอีก โจทก์ที่ 2 จึงต้องรื้อถนนคอนกรีตส่วนนี้ออก เมื่อโจทก์ที่ 2 ไม่ยินยอมรื้อจำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะฟ้องแย้งบังคับโจทก์ที่ 2 ให้รื้อถนนคอนกรีตดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเดินทางในที่ดินของผู้อื่น: การได้รับอนุญาตไม่ใช่สิทธิภารจำยอม, การโอนสิทธิเมื่อเจ้าของเปลี่ยน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่610เป็นของบิดาจำเลยที่1เคยให้โจทก์ทั้งสองเช่าบางส่วนเมื่อบิดาจำเลยที่1ถึงแก่ความตายจำเลยที่1ได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วนำไปแบ่งขายให้แก่โจทก์ทั้งสองขณะที่เช่าที่ดินกับบิดาจำเลยที่1บิดาจำเลยที่1อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทหลังจากนั้นจำเลยที่1ก็ได้ให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทดังกล่าวการที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเดินผ่านที่ดินพิพาทจึงเป็นการได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเดินผ่านจากบิดาจำเลยที่1และตัวจำเลยที่1นั่นเองโจทก์ทั้งสองมิได้เดินในที่พิพาทโดยอาศัยอำนาจแห่งตนและขณะนั้นที่ดินดังกล่าวยังเป็นที่ดินแปลงเดียวกันอยู่กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องการมีสิทธิเหนือที่ดินแปลงหนึ่งประโยชน์ของที่ดินอีกแปลงหนึ่งเมื่อปรากฎว่าโจทก์ที่1เพิ่งจะซื้อที่่ดินจากจำเลยที่1เมื่อวันที่16กุมภาพันธ์2524โจทก์ที่2ซื้อที่ดินจากจำเลยที่1เมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2527นับถึงวันฟ้องวันที่31มกราคม2534ยังไม่ครบ10ปีถึงแม้หากโจทก์ทั้งสองจะใช้สิทธิโดยอำนาจแห่งตนโดยพลการเดินผ่านที่ดินพิพาทของจำเลยที่1ตั้งแต่ซื้อที่ดินจากจำเลยที่1ก็หาอาจได้สิทธิภารจำยอมในทางเดินในที่ดินพิพาทดังกล่าวไม่ ที่โจทก์ที่2อ้างว่าในการซื้อที่ดินจากจำเลยที่1จำเลยที่1เคยทำสัญญาไว้ว่าเมื่อซื้อที่ดินแล้วจะเปิดทางให้ทำถนนนั้นก็ปรากฎว่าสัญญาดังกล่าวกระทำกันระหว่างจำเลยที่1กับส.มิได้กระทำกับโจทก์ที่2ซึ่งโจทก์ที่2เองก็เบิกความว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ที่2ได้หย่าขาดกับส.แล้วและมิได้มีการจดทะเบียนให้ทางเดินในที่ดินพิพาทเป็นทางเดินภารจำยอมไว้ทั้งสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็เป็นบุคคลสิทธิบังคับได้ระหว่างจำเลยที่1กับส. ไม่มีเหตุที่โจทก์ที่2จะนำสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้จำเลยที่1ต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ของโจทก์ที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาได้ ขณะที่โจทก์ที่2สร้างถนนคอนกรีตบางส่วนบนที่ดินพิพาทนั้นจำเลยที่1อนุญาตให้โจทก์ที่2ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินอยู่การสร้างถนนคอนกรีตของโจทก์ที่2จึงเป็นการสร้างโดยได้รับอนุญาตเมื่อจำเลยที่2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่อนุญาตให้โจทก์ที่2ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินต่อไปอีกโจทก์ที่2จึงต้องรื้อถนนคอนกรีตส่วนนี้ออกเมื่อโจทก์ที่2ไม่ยินยอมรื้อจำเลยที่2จึงชอบที่จะฟ้องแย้งบังคับโจทก์ที่2ให้รื้อถนนคอนกรีตดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7461/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเดินทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและไม่มีทางออกสู่สาธารณะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์และที่ดินจำเลยอยู่ติดกันและแบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเดียวกัน โจทก์ใช้ทางผ่านที่ดินจำเลยออกสู่ถนนมาเป็นเวลา 10 ปีเศษ บ้านและที่ดินโจทก์อยู่ในวงล้อมของที่ดินบุคคลอื่นไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์มีทางออกสู่ถนนสาธารณะต้องผ่านที่ดินจำเลยซึ่งเป็นทางจำเป็นหรือภารจำยอมคำฟ้องของโจทก์ระบุถึงสิทธิของโจทก์ว่า มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภารจำยอมบนที่ดินจำเลย จากที่ดินโจทก์เพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ และในคำขอท้ายฟ้องก็ระบุให้จำเลยเปิดทางพิพาทให้โจทก์ใช้ได้อย่างเดิม ฟ้องโจทก์บรรยายไว้ครบทั้งเรื่องทางจำเป็นและทางภารจำยอมโดยไม่ขัดกัน ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภารจำยอมแล้ววินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น การแบ่งแยกหรือแบ่งโอนทำให้ที่ดินโจทก์ซึ่งแบ่งออกมาไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินซึ่งเป็นทางจำเป็นบนที่ดินจำเลยซึ่งเป็นแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเดินทางผ่านที่ดินปิดล้อม: การแบ่งแยกที่ดินต้องพิจารณาที่ดินเดิมที่แบ่งแยกมา ไม่ใช่ที่ดินแปลงแรก
การที่เจ้าของที่ดินที่ถูก ที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมใช้ สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่ง ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะนั้น เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ จึงต้อง แปลโดย เคร่งครัดดังนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนด เลขที่ 33092ก็ต้อง ถือ โดย เคร่งครัดว่าที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 33092 เท่านั้น แม้ที่ดินโฉนด เลขที่ 33092 จะเคยเป็นที่แปลงเดียว กับที่ดินจำเลยมาก่อนก็ตาม จะถือ โดย อนุโลมว่าที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินจำเลยด้วย หา ได้ ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้ เฉพาะ ภายในบริเวณที่ดินโฉนด เลขที่ 33092 ซึ่ง เป็นที่ดินแปลงที่ที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 จะใช้ สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินจำเลยไปสู่ทางสาธารณะหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี และการยินยอมของเจ้าของที่ดิน
โจทก์ซื้อที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้ใช้ปลูกบ้าน โดยจำเลยตกลงยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทในที่ดินจำเลยเดินผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะที่อยู่ทางทิศเหนือ ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนทางภาระจำยอมให้โจทก์จำเลยไปขอจดทะเบียนทางภาระจำยอมแล้ว แต่ภรรยาจำเลยคัดค้านจึงจดทะเบียนไม่ได้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดิน โดยถือว่าตนมีสิทธิใช้ตลอดไปไม่ใช่ใช้อย่างถือวิสาสะอาศัยสิทธิของจำเลย เมื่อใช้ทางเดินเกิน 10 ปี โจทก์ย่อมได้สิทธิภาระจำยอม จำเลยสร้างรั้วปิดกั้นทางดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดโจทก์
คำฟ้องมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยตกลงยอมให้โจทก์เดินผ่านทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจนกลายเป็นภาระจำยอมที่ได้มาโดยอายุความเนื่องจากโจทก์ถือสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นปรปักษ์ต่อจำเลย แต่จำเลยไม่ได้ให้การถึงข้อตกลงดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่ว่าข้อตกลงข้างต้นไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่บริบูรณ์ โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมได้นั้น จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเดินทาง (ภารจำยอม/ทางจำเป็น) เมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ การใช้สิทธิโดยปรปักษ์
ที่ดินของโจทก์ซึ่งผู้ซื้อคนก่อนและโจทก์ไม่เคยเข้าอยู่หรือเกี่ยวข้องทำประโยชน์และไม่เคยใช้ทางพิพาทเดินผ่านเข้าออกที่ดินดังกล่าว ดังนี้ โจทก์จะอ้างว่าทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความหาได้ไม่ เพราะการจะได้ภารจำยอมโดยเหตุดังกล่าวจะต้องเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์เดินผ่านทางพิพาทเข้าออกที่ดินของโจทก์ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว และเหตุเพียงแต่ว่าที่ดินของโจทก์ได้แบ่งแยกจากทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ก็หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์อันจะทำให้เกิดภารจำยอมโดยอายุความไม่
ที่ดินโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อมโดยรอบ โจทก์มีความจำเป็นจะต้องมีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่ที่ดินของโจทก์นี้แบ่งแยกออกมาจากที่ดินซึ่งอยู่ติดกับทางสาธารณะ จึงเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกได้โจทก์จะเอาทางเดินจากที่ดินแปลงอื่นหาได้ไม่ และเมื่อกรณีต้องด้วยมาตรา 1350 ก็จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 มาปรับแก่คดีของโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมเกิดจากการใช้สิทธิเดิมโดยอายุความ แม้สามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่ติดกันก็เป็นได้
เมื่อคดีฟังได้ว่าทางพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมซึ่งโจทก์ได้มาโดยอายุความ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ทางพิพาทตั้งอยู่ก็ไม่มีอำนาจจะปิดทางพิพาท ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินมาจากผู้อื่น ก็ไม่มีสิทธิล้อมรั้วกินทางพิพาทนั้นเข้าไปได้ เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์อยู่ในตัว โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้
สามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ถ้าการที่ต้องจำยอมนั้นมีลักษณะเป็นภาระแก่อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น จะเป็นแปลงหนึ่งหรือหลายแปลงก็ดี จะมีอสังหาริมทรัพย์อื่นคั่นอยู่ระหว่างหรือจะต้องข้ามทางสาธารณะไปก็ดี ก็อาจเป็นภารจำยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: สิทธิเดินทางแม้เจ้าของเดิมมิได้ใช้เอง หากผู้เช่าใช้ต่อเนื่องเกิน 10 ปี
ภารจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง กฎหมายเพิ่งเล็งถึงความสำคัญของที่ดินไม่ใช่ส่วนตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ
ตอนแรกโจทก์ที่ 1 เช่าที่ดินซึ่งเป็นสามนทรัพย์ปลูกบ้านอยู่ และโจทก์ที่ 2 เช่าบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ในที่ดินนั้นด้วย ระหว่างนั้นโจทก์ทั้งสองใช้ทางพิพาทเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ตอนหลังโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินนั้นและก็คงใช้ทางพิพาทเดินตลอดมา เมื่อรวมระยะเวลาทั้ง 2 ตอน เกิน 10 ปี โจทก์ย่อมได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ
of 2