พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: การโอนที่ดินตามสิทธิเดิมชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้แก่ จ. โดยให้ จ. ชำระเงินส่วนที่เหลือตามสัญญา การที่ จ. ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว ทั้งจำเลยได้มอบโฉนดที่ดินและหนังสือมอบอำนาจให้แก่ จ. ไปดำเนินการโอนที่ดินก่อนศาลชั้นต้น มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงเป็นการที่ จ. ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนครบถ้วนแล้ว คงเหลือแต่เฉพาะหน้าที่ของจำเลยที่ต้องดำเนินการโอนที่ดินให้แก่ จ. ถือว่าเป็นสิทธิตามคำพิพากษาที่ จ. จะรับไปเพียงฝ่ายเดียว จำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ใด ๆ ตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือตามคำพิพากษาดังกล่าวอีก กรณีมิใช่สิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่พึงได้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิดังกล่าว เช่นนี้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 22 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านไม่คัดค้านคำร้องขอให้ถอนการยึดในคดีแพ่งและมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการโอนที่ดินให้แก่ จ. ตามสิทธิที่ จ. มีอยู่ตามคำพิพากษาของศาลจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว และกรณีดังกล่าวนี้ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 145(1) ถึง (5) จึงไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายเดียวที่ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง 10 ปี แม้ยังมิได้จดทะเบียน ผู้ซื้อที่ดินต้องยอมรับสิทธิเดิม
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภาระจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719
ส.กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภาระจำยอมไปแล้ว แม้ ส.กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของ ส.กับโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส.ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วยย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ส.กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภาระจำยอมไปแล้ว แม้ ส.กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของ ส.กับโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส.ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วยย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความยังคงมีผลผูกพัน แม้มีการตกลงเพิ่มเติม หากฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา การตกลงใหม่ไม่ตัดสิทธิเดิม
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกลงกันให้นำที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวออกขาย โดยโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ซื้อเองหรือนำบุคคลอื่นมาซื้อก็ได้ ฝ่ายใดให้ราคาสูงสุดให้ขายให้แก่ฝ่ายที่ให้ราคาสูงสุดไป และให้ขายให้เสร็จสิ้นภายในปี 2536 หากขายไม่ได้ภายในปี 2536 ให้โจทก์กับจำเลยที่ 2 นำที่ดินและบ้านดังกล่าวมาประมูลกันเองก่อน หากประมูลกันเองไม่ได้ ขอให้ศาลนำที่ดินและบ้านดังกล่าวออกขายทอดตลาด การที่โจทก์และจำเลยที่ 2 แถลงต่อศาลว่าไม่สามารถหาผู้ซื้อบ้านและที่ดินได้ จึงตกลงกันใหม่ว่าจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 3,500,000 บาท โดยโจทก์ยอมสละสิทธิในที่ดินและบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงวิธีการชำระหนี้ต่อกันเท่านั้น และการตกลงกันครั้งหลังนี้ไม่มีข้อความตอนใดให้ยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดข้อตกลง ไม่สามารถชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดที่ตกลงกันไว้ได้โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่นี้อีก และโจทก์จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเอาคืนการครอบครองที่ดินหลังคดีอาญาถึงที่สุด สิทธิครอบครองเดิมไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้ฟ้องจ. และป. ภรรยาเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาภายในระยะเวลา1ปีนับแต่บุกรุกเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทโดยกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จ. ให้การปฏิเสธและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการฟ้องเอาคืนการครอบครองการที่จำเลยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจ. จำเลยในคดีก่อนในระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดจำเลยย่อมไม่อาจยกการครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นอ้างยันสิทธิครอบครองของโจทก์โจทก์จึงหาขาดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและไม่อาจฟ้องเรียกร้องเอาคืนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมระงับสิ้นเนื่องจากไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี แม้เคยมีสิทธิมาก่อน
จำเลยได้ปลูกบ้านและทำประตูรั้วปิดกั้นทางพิพาทมานานประมาณ 20 ปีแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยตลอดมา ถึงแม้โจทก์จะเคยได้ภารจำยอมเหนือทางพิพาทมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ต่อมาโจทก์ยอมรับสิทธิเหนือทางพิพาทของจำเลย ฐานะของโจทก์ย่อมเปลี่ยนไปเป็นการใช้ทางพิพาทโดยความยินยอมของจำเลยเป็นเวลานานถึง 20 ปี ย่อมถือได้ว่าภารจำยอมระงับสิ้นไปเพราะการไม่ใช่ภารจำยอมเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลย จึงไม่เป็นทางภารจำยอมอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมระงับสิ้นเนื่องจากการไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี แม้เคยมีสิทธิมาก่อน
จำเลยได้ปลูกบ้านและทำประตูรั้วปิดกั้นทางพิพาทมานานประมาณ20ปีแล้วหลังจากนั้นโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยตลอดมาถึงแม้โจทก์จะเคยได้ภารจำยอมเหนือทางพิพาทมาก่อนหน้านั้นแล้วแต่ต่อมาโจทก์ยอมรับสิทธิเหนือทางพิพาทของจำเลยฐานะของโจทก์ย่อมเปลี่ยนไปเป็นการใช้ทางพิพาทโดยความยินยอมของจำเลยเป็นเวลานานถึง20ปีย่อมถือได้ว่าภารจำยอมระงับสิ้นไปเพราะการไม่ใช่ภารจำยอมเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1399ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางภารจำยอมอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355-1357/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองในที่ดินของผู้อื่น หากอ้างสิทธิเดิมแล้ว ไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นที่ดินมรดกตกทอดจากปู่ย่าตายายมาเป็นของจำเลยแม้จะให้การว่าได้ครอบครองที่ดินด้วยความสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของแต่ก็เป็นการครอบครองที่ดินที่อ้างว่าจำเลยมีสิทธิอยู่แล้วกรณีหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่ปัญหาเรื่องการครอบครองที่ดินปรปักษ์ของผู้อื่นจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การไม่ก่อให้เกิดประเด็นถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นกันมาในศาลชั้นต้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่3917ของโจทก์อันเป็นหลักฐานแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ส่วนแบบแจ้งการครอบครอง(ส.ค.1)ที่จำเลยอ้างเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่1เป็นเจ้าของที่ดินมิใช่หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291-1292/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมในที่ดินจัดสรร: การโอนกรรมสิทธิ์ไม่กระทบสิทธิภารจำยอมเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่4ต่างได้ซื้อที่ดินและบ้านในโครงการจัดสรรของจำเลยที่1ที่2ที่3โดยการซื้อขายได้มีการตกลงยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ทางเดินพิพาทและสระว่ายน้ำพิพาทและบรรยายว่าที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ในโครงการและการจัดสรรของจำเลยที่1ที่2ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286จำเลยที่4มิได้ให้การต่อสู้หรือปฏิเสธจึงถือว่ารับในประเด็นข้อนี้ จำเลยที่1ที่2ในฐานะผู้จัดสรรที่ดินได้จัดถนนและสระว่ายน้ำเป็นสาธารณูปโภคบนที่ดินดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่ผู้ซื้อบ้านในโครงการเสร็จแล้วถนนและสระว่ายน้ำจึงเป็นภารจำยอมเป็นประโยชน์แก่ที่ดินทุกแปลงซึ่งเป็นภารจำยอมโดยผลของกฎหมายติดกับตัวทรัพย์ผูกพันแก่บุคคลที่เป็นเจ้าของภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1387เมื่อจำเลยที่4รับโอนที่ดินไปจึงต้องมีหน้าที่บำรุงรักษาให้คงสภาพตลอดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1394และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286จำเลยที่4สร้างโรงรถและปิดกั้นรั้วในที่ดินดังกล่าวจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินก่อนถูกกำหนดเป็นป่าสงวนฯ ยังคงมีผล แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
จำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองอยู่ก่อนวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ท้องที่ซึ่งที่ดินพิพาทตั้งอยู่ภายในเขตเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยทั้งสองจึงยังมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: บทเฉพาะกาล พ.ร.บ.อนุญาโตฯ 2530 ไม่กระทบสิทธิเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2528 อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และเมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกิดขึ้นขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 168(เดิม) ใช้บังคับ อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงต้องบังคับตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ภายในกำหนด 10 ปี ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามคำร้อง ของ จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ซึ่งมาตรา 227 มิใช่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ก่อน ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้