พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8657/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วมและการบังคับคดีขับไล่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเดิมเป็นของโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่ พ. โดยในวันทำสัญญาพ. ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วมบางส่วน ส่วนเงินที่เหลือ พ. จะนำมามอบให้แก่โจทก์ร่วมต่อเมื่อสามารถขับไล่จำเลยซึ่งอาศัยในที่ดินของโจทก์ร่วมออกไปเสียก่อนและโจทก์ร่วมจะต้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งจะแต่งงานกับ พ. หลังจากที่มีการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแล้ว ดังนี้หากจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ร่วมจริงตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ร่วมก็ย่อมมีอำนาจบังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทอยู่ก่อนโอนให้โจทก์ ทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท หากโจทก์ไม่สามารถขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินได้และโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์และ พ. ย่อมไม่ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ร่วม และอาจใช้สิทธิเรียกร้องเงินที่ชำระแล้วคืนได้ โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี และมีสิทธิยื่นคำร้องเข้าเป็นคู่ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)
ปัญหาว่า โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องหรือร้องสอดเข้ามาในคดีได้หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องแย้ง ศาลฎีกาจึงสั่งให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
ปัญหาว่า โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องหรือร้องสอดเข้ามาในคดีได้หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องแย้ง ศาลฎีกาจึงสั่งให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้สิทธิในทรัพย์สินจะเปลี่ยนแปลงภายหลัง เบี้ยปรับลดได้ตามสมควร
ล. ซึ่งได้รับสิทธิเข้าทำการก่อสร้างอาคารในที่ดินของกระทรวงการคลังและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้ ทำสัญญาให้โจทก์เข้าก่อสร้างและได้รับผลประโยชน์แทน จำเลยบุกรุกเข้าไปอยู่ในอาคารรายพิพาทที่โจทก์มีสิทธิจากการก่อสร้างโจทก์ดำเนินคดีหาว่าจำเลยบุกรุก แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันโดยจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์บางส่วนก่อน และจะชำระให้อีกจำนวนหนึ่งภายในกำหนดสามเดือนหากถึงกำหนดไม่ชำระให้ถือว่าตกลงเลิกสัญญา ให้โจทก์คืนเงินที่รับไว้จากจำเลยให้แก่จำเลยในวันที่จำเลยออกไปจากอาคาร และหากจำเลยไม่ยอมออกไปต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะได้ออกไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวแล้วถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมาย
แม้ต่อมาจะปรากฏว่ากระทรวงการคลังบอกริบเอาอาคารรายพิพาท เป็นของกระทรวงการคลัง ล. หรือโจทก์หมดสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากอาคารนั้นไปแล้วหรือไม่ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วนั้นต้องเสียไป เพราะเป็นเรื่องผูกมัดระหว่างโจทก์จำเลยเท่านั้น การที่ต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หาใช่เป็นการพ้นวิสัยไม่
สัญญาระหว่าง ล. กับโจทก์ ที่ ล. ให้โจทก์เข้าก่อสร้างแทนแล้วให้ได้ผลประโยชน์ในการทำแทนนั้น โดยแท้จะมีผลอย่างใดก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์เข้าทำการก่อสร้างให้กับ ล. แทนที่ ล. จะต้องทำเอง และ ล. ทำสัญญายกประโยชน์ที่จะได้จากการก่อสร้างนั้นให้โจทก์ เมื่อโจทก์ได้ทำและครอบครองอยู่อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการทำแทนหรือเพื่อจะส่งมอบแก่ ล.ซึ่งโจทก์จะใช้อ้างบังคับให้ ล. มอบประโยชน์จากการที่ทำเสร็จนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่จำเลยได้แย่งเข้าอยู่ในอาคารที่ก่อสร้างโดยพลการเป็นการขัดขวางเรื่องการส่งมอบนั้นเสีย ย่อมเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน (ระงับข้อพิพาท)ย่อมมีผลบังคับได้ จะยกเอาสัญญาภายในระหว่าง ล. กับโจทก์มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นมิได้
จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลัวโทษทัณฑ์จากคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องหาว่าบุกรุกนั้นความกลัวเช่นว่านี้ไม่ทำให้สัญญาที่ทำไว้ตกเป็นโมฆียะหรือเสียไป เพราะโจทก์ได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อโรงศาลยุติธรรมโดยสุจริตอย่างตรงไปตรงมา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ออกไปจากอาคารรายพิพาทต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะออกไป ค่าเสียหายนี้พอนับเนื่องได้ว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้เมื่อเห็นสมควร
แม้ต่อมาจะปรากฏว่ากระทรวงการคลังบอกริบเอาอาคารรายพิพาท เป็นของกระทรวงการคลัง ล. หรือโจทก์หมดสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากอาคารนั้นไปแล้วหรือไม่ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วนั้นต้องเสียไป เพราะเป็นเรื่องผูกมัดระหว่างโจทก์จำเลยเท่านั้น การที่ต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หาใช่เป็นการพ้นวิสัยไม่
สัญญาระหว่าง ล. กับโจทก์ ที่ ล. ให้โจทก์เข้าก่อสร้างแทนแล้วให้ได้ผลประโยชน์ในการทำแทนนั้น โดยแท้จะมีผลอย่างใดก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์เข้าทำการก่อสร้างให้กับ ล. แทนที่ ล. จะต้องทำเอง และ ล. ทำสัญญายกประโยชน์ที่จะได้จากการก่อสร้างนั้นให้โจทก์ เมื่อโจทก์ได้ทำและครอบครองอยู่อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการทำแทนหรือเพื่อจะส่งมอบแก่ ล.ซึ่งโจทก์จะใช้อ้างบังคับให้ ล. มอบประโยชน์จากการที่ทำเสร็จนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่จำเลยได้แย่งเข้าอยู่ในอาคารที่ก่อสร้างโดยพลการเป็นการขัดขวางเรื่องการส่งมอบนั้นเสีย ย่อมเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน (ระงับข้อพิพาท)ย่อมมีผลบังคับได้ จะยกเอาสัญญาภายในระหว่าง ล. กับโจทก์มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นมิได้
จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลัวโทษทัณฑ์จากคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องหาว่าบุกรุกนั้นความกลัวเช่นว่านี้ไม่ทำให้สัญญาที่ทำไว้ตกเป็นโมฆียะหรือเสียไป เพราะโจทก์ได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อโรงศาลยุติธรรมโดยสุจริตอย่างตรงไปตรงมา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ออกไปจากอาคารรายพิพาทต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะออกไป ค่าเสียหายนี้พอนับเนื่องได้ว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้เมื่อเห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้สิทธิในทรัพย์สินจะเปลี่ยนแปลง สัญญาเดิมไม่เป็นเหตุให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ
ล. ซึ่งได้รับสิทธิเข้าทำการก่อสร้างอาคารในที่ดินของกระทรวงการคลังและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้ ทำสัญญาให้โจทก์เข้าก่อสร้างและได้รับผลประโยชน์แทน จำเลยบุกรุกเข้าไปอยู่ในอาคารรายพิพาทที่โจทก์มีสิทธิจากการก่อสร้างโจทก์ดำเนินคดีหาว่าจำเลยบุกรุก แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันโดยจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์บางส่วนก่อน และจะชำระให้อีกจำนวนหนึ่งภายในกำหนดสามเดือนหากถึงกำหนดไม่ชำระให้ถือว่าตกลงเลิกสัญญา ให้โจทก์คืนเงินที่รับไว้จากจำเลยให้แก่จำเลยในวันที่จำเลยออกไปจากอาคาร และหากจำเลยไม่ยอมออกไปต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะได้ออกไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวแล้วถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมาย
แม้ต่อมาจะปรากฏว่ากระทรวงการคลังบอกริบเอาอาคารรายพิพาทเป็นของกระทรวงการคลัง ล. หรือโจทก์หมดสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากอาคารนั้นไปแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วนั้นต้องเสียไป เพราะเป็นเรื่องผูกมัดระหว่างโจทก์จำเลยเท่านั้น การที่ต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หาใช่เป็นการพ้นวิสัยไม่
สัญญาระหว่าง ล. กับโจทก์ ที่ ล. ให้โจทก์เข้าก่อสร้างแทนแล้วให้ได้ผลประโยชน์ในการทำแทนนั้น โดยแท้จะมีผลอย่างใดก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์เข้าทำการก่อสร้างให้กับ ล. แทนที่ ล. จะต้องทำเอง และ ล. ทำสัญญายกประโยชน์ที่จะได้จากการก่อสร้างนั้นให้โจทก์ เมื่อโจทก์ได้ทำและครอบครองอยู่ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการทำแทนหรือเพื่อจะส่งมอบแก่ ล. ซึ่งโจทก์จะใช้อ้างบังคับให้ ล. มอบประโยชน์จากการที่ทำเสร็จนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่จำเลยได้แย่งเข้าอยู่ในอาคารที่ก่อสร้างโดยพลการเป็นการขัดขวางเรื่องการส่งมอบนั้นเสีย ย่อมเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน (ระงับข้อพิพาท) ย่อมมีผลบังคับได้ จะยกเอาสัญญาภายในระหว่าง ล. กับโจทก์มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นมิได้
จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลัวโทษทัณฑ์จากคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องหาว่าบุกรุกนั้นความกลัวเช่นว่านี้ไม่ทำให้สัญญาที่ทำไว้ตกเป็นโมฆียะหรือเสียไป เพราะโจทก์ได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อโรงศาลยุติธรรมโดยสุจริตอย่างตรงไปตรงมา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ออกไปจากอาคารรายพิพาทต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะออกไป ค่าเสียหายนี้พอนับเนื่องได้ว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้เมื่อเห็นสมควร
แม้ต่อมาจะปรากฏว่ากระทรวงการคลังบอกริบเอาอาคารรายพิพาทเป็นของกระทรวงการคลัง ล. หรือโจทก์หมดสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากอาคารนั้นไปแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วนั้นต้องเสียไป เพราะเป็นเรื่องผูกมัดระหว่างโจทก์จำเลยเท่านั้น การที่ต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หาใช่เป็นการพ้นวิสัยไม่
สัญญาระหว่าง ล. กับโจทก์ ที่ ล. ให้โจทก์เข้าก่อสร้างแทนแล้วให้ได้ผลประโยชน์ในการทำแทนนั้น โดยแท้จะมีผลอย่างใดก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์เข้าทำการก่อสร้างให้กับ ล. แทนที่ ล. จะต้องทำเอง และ ล. ทำสัญญายกประโยชน์ที่จะได้จากการก่อสร้างนั้นให้โจทก์ เมื่อโจทก์ได้ทำและครอบครองอยู่ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการทำแทนหรือเพื่อจะส่งมอบแก่ ล. ซึ่งโจทก์จะใช้อ้างบังคับให้ ล. มอบประโยชน์จากการที่ทำเสร็จนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่จำเลยได้แย่งเข้าอยู่ในอาคารที่ก่อสร้างโดยพลการเป็นการขัดขวางเรื่องการส่งมอบนั้นเสีย ย่อมเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน (ระงับข้อพิพาท) ย่อมมีผลบังคับได้ จะยกเอาสัญญาภายในระหว่าง ล. กับโจทก์มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นมิได้
จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลัวโทษทัณฑ์จากคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องหาว่าบุกรุกนั้นความกลัวเช่นว่านี้ไม่ทำให้สัญญาที่ทำไว้ตกเป็นโมฆียะหรือเสียไป เพราะโจทก์ได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อโรงศาลยุติธรรมโดยสุจริตอย่างตรงไปตรงมา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ออกไปจากอาคารรายพิพาทต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะออกไป ค่าเสียหายนี้พอนับเนื่องได้ว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้เมื่อเห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับตามคำพิพากษาขับไล่ขยายถึงบริวาร แม้สิทธิในทรัพย์สินจะเปลี่ยนแปลง
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาทแล้ว คำพิพากษานี้ย่อมมีผลบังคับถึงบริวารจำเลยด้วย แม้ห้องแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทจะหลุดเป็นสิทธิของบุคคลอื่นก็ตาม บริวารจำเลยก็ยังมีหน้าที่ออกไปจากที่พิพาท และโจทก์ย่อมมีอำนาจบังคับให้บริวารจำเลยออกจากที่พิพาทตามคำพิพากษาของศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6949/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: หนี้ค้างชำระ ไม่ใช่หนี้ในอนาคต สิทธิในการขอเปลี่ยนแปลงไม่มี
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อหน้าศาลเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วนั้น กำหนดให้จำเลยชำระค่าอุปกรณ์เลี้ยงดูบุตรทั้งสี่คนให้แก่โจทก์เป็นเงิน 400,000 บาท โดยจำเลยจะชำระให้โจทก์ภายในเดือนสิงหาคม 2546 หลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยไม่ได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์เลย แต่จำเลยกลับมายื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ต้องชำระแก่โจทก์ โดยจำเลยขอชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเงิน 200,000 บาท การที่จำเลยไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นหนี้ค้างชำระตามข้อสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ใช่หนี้จะพึงชำระในอนาคต จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะขอเพิกถอนหรือลดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง ได้