พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าทดแทนจากชู้สาว: ไม่ต้องรอการหย่า
สิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชี้สาว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสองกฎหมายมิได้มีเงื่อนไขว่าภริยาต้องฟ้องหรือหย่าขาดจากสามีเสียก่อนจึงจะฟ้องได้จึงไม่ต้องอาศัยเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นคงเหลือของบริษัท, อายุความ, และอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1120,1121เป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ไม่ต้องเรียกภายใน10ปีนับแต่วันจดทะเบียนบริษัท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกดอกเบี้ยตามฟ้อง แม้ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่ศาลชั้นต้นให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ปัญหาที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยในอัตราตามฟ้องได้หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหานี้เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5508/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับ, การเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย: สิทธิเรียกค่าปรับเมื่อเลิกสัญญาและผลกระทบต่อการลดเบี้ยปรับหากสูงเกินไป
เมื่อพิจารณาข้อความสัญญาซื้อขายในส่วนหลังทั้งหมดแล้วถ้ามีการเลิกสัญญาก็ให้ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกค่าชดเชยราคาสินค้าทีเพิ่มขึ้นและเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากเบี้ยปรับ เท่ากับนอกจากเรียกร้องค่าเสียหายแล้ว ยังเรียกเบี้ยปรับที่นับจากวันหลังจากวันที่ส่งมอบของถึงวันบอกเลิกสัญญาได้ด้วย กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องเลิกสัญญา ต้องใช้ข้อความส่วนหลังในสัญญาบังคับโจทก์จึงมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 ได้ เบี้ยปรับคือค่าเสียหายซึ่งคู่ความตกลงกันล่วงหน้าเบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียทุกอย่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัท และอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจ ของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรง อยู่ หาใช่ว่าจะต้อง เรียกภายในกำหนด ๑๐ ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้ง กรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้ เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๖๕ ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้นและเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ และ ๑๑๙ เรียกให้ผู้ร้องซึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกทั้งหมดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัทและการบังคับชำระหลังล้มละลาย
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจ ของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรง อยู่ หาใช่ว่าจะต้อง เรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้ง กรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้ เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้นและเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกทั้งหมดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกได้เสมอ การนำสืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ และการที่ผู้กู้นำพยานบุคคลมาสืบว่า การกู้รายนี้มีข้อตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้คืน 3 เดือน ตามเช็คล่วงหน้าที่ผู้กู้ได้ออกให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้นั้น เป็นการนำสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญากู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้นจะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่ และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้ ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาท ที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้นจะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่ และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้ ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาท ที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องจำเลยบางส่วนในคดีที่มีมูลความผิดต่างกัน และสิทธิในการเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี
ในคดีที่มีจำเลยหลายคน โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยคนหนึ่งคนใดหากมิใช่เป็นคดีที่เป็นการชำระหนี้แบ่งแยกกันมิได้ ก็ไม่ถือว่าได้กระทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้นโดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้นจะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกันโดยโจทก์ขอให้จำเลยที่1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่มีเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้นโดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้นจะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกันโดยโจทก์ขอให้จำเลยที่1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่มีเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก