คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเรียกคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8676/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกและการส่งคืนโฉนดที่ดิน ผู้จัดการมรดกมีสิทธิเรียกคืนจากผู้ยึดถือโดยมิชอบ
ผู้ตายมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จำเลยได้ยึดถือต้นฉบับโฉนดที่ดินไว้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกฟ้องเรียกต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทจากจำเลยมิใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืน แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับโฉนด จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
การวินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องคืนโฉนดที่ดินที่พิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ศาลต้องวินิจฉัยเป็นก่อนว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวเป็นของผู้ตายหรือไม่ หากเป็นทรัพย์สินของผู้ตายแล้ว ก็เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่โจทก์ในฐานะ ผู้จัดการมรดกมีอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวมาแบ่งปันแก่ทายาทและมีสิทธิเรียกทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้อื่นยึดถือไว้โดยมิชอบกลับคืนมาได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย จำเลยจึงต้องส่งคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์
ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยชำระแทนเกินอัตราค่าทนายความขั้นสูง จึงไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงรับบัตรเครดิต: สิทธิปฏิเสธชำระเงินเมื่อพบหลักฐานบัตรปลอม และสิทธิเรียกคืนเงินจากร้านค้า
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับการรับบัตรเครดิต มีข้อความจำกัดความรับผิดของโจทก์ว่า "ในกรณีที่ธนาคารได้รับและตรวจพิจารณา Sales Slip (บันทึกรายการใช้บัตรเครดิต) ที่ร้านค้าส่งมาเข้าบัญชีแล้วเห็นว่า มีข้อสงสัยและ/หรือมีเหตุอื่นใดที่ทำให้สงสัยได้ว่าการดำเนินการในการใช้บัตร และ/หรือออก Sales Slip ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามที่กล่าวมา และ/หรือไม่ว่าโดยประการใดธนาคารมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงิน และ/หรือการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันข้างต้นได้ และในกรณีที่ธนาคารได้จ่ายเงิน และ/หรือนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันข้างต้นไปแล้ว ร้านค้าตกลงชำระคืนเงินที่ได้รับหรือเบิกถอนไปจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวให้แก่ธนาคาร?" เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าหลังจากที่โจทก์นำเงิน 486,800 บาท เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยแล้ว โจทก์ได้รับแจ้งจากบริษัทมาสเตอร์การ์ดอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ว่าบัตรเครดิตที่มีผู้นำไปใช้ซื้อสินค้าจากจำเลยทั้ง 9 ครั้งเป็นบัตรปลอม กรณีจึงต้องด้วยข้อตกลงที่ว่า "?หรือมีเหตุอื่นใดที่ทำให้สงสัยได้ว่าการดำเนินการในการใช้บัตร และ/หรือออก Sales Slip ดังกล่าว จะไม่ถูกต้องตามที่กล่าวมา และ/หรือไม่ว่าโดยประการใด?" อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิปฏิเสธไม่ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยหรือหากโจทก์ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิหักเงินจำนวนดังกล่าวออกจากบัญชีเงินฝากของจำเลยได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการรับบัตรเครดิตหรือไม่
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากบันทึกข้อตกลงในการรับบัตรเครดิต ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้: อายุความ 1 ปี นับจากวันที่ทราบเนื้อที่ดินที่ถูกต้อง หลังการรังวัดใหม่
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินบางส่วนที่ชำระให้จำเลย เกินไปคืน ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูล อันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นเรื่องลาภมิควรได้ ไม่ใช่เป็น การฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในฐานทรัพย์ซึ่งซื้อขายขาดตกบกพร่อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 กำหนดอายุความของลาภมิควรได้ไว้ 1 ปี นับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหาย คือ โจทก์ทั้งสองรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดให้โจทก์ทั้งสองเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2535ระบุเนื้อที่ดินขาดไปจากที่โจทก์ทั้งสองชำระราคาให้จำเลย หลังจากรังวัดตรวจสอบให้เป็นที่แน่นอนอีกครั้งแล้ว จึงแก้ไข ในโฉนดระบุเนื้อที่ดินใหม่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536ดังนั้น อายุความ 1 ปี ย่อมเริ่มนับตั้งแต่ตรวจสอบทราบแน่นอนแล้ว คือวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2537 ยังไม่เกิน 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันชำระราคาเกินไป คดีของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะนิติกรรมยกที่ดินเป็นทางสาธารณะจากความผิดพลาด เจ้าของมีสิทธิเรียกคืนได้ ศาลสั่งให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
++ เรื่อง ที่ดิน เพิกถอนนิติกรรม ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อน แต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว คงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1305 การที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในคำขอยกที่ดิน 2 แปลงของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ระบุไว้ว่า ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายให้โจทก์และโจทก์ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงหนึ่งแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย กับก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีจึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคแรก
โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทก็ต้องตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า เมื่อปี 2523 โจทก์ซื้อบ้านเลขที่ 52/6 พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 10265 ตำบลลาดยาว (บางซื่อฝั่งเหนือ) อำเภอบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นบ้านและที่ดินจัดสรรในโครงการหมู่บ้านสยามวิลล่าของบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัด จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัด ต่อมาวันที่ 6 มกราคม 2524 โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 18 ตารางวา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่1265 และอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 ในราคาตารางวาละ3,500 บาท เป็นเงิน 63,000 บาท จากจำเลยที่ 1 โจทก์วางเงินมัดจำเป็นเงิน 10,000 บาท และจำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนับแต่วันทำหนังสือวางมัดจำ โจทก์จึงขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจากสำนักงานเขตบางเขน แล้วปลูกสร้างอาคารบนที่ดินพิพาทจากนั้นขอเลขหมายประจำบ้านจากสำนักงานเขตบางเขนและได้เลขหมายประจำบ้าน 52/60
++ ครั้นวันที่ 15 เมษายน2528 โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทอีกครั้งหนึ่งโดยโจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทที่ค้างอีก 53,000 บาท ให้จำเลยที่ 1และมีข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งขณะนั้นจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์
++ แต่เมื่อวันที่ 5 กันยายน2533 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265ให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยมิได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดิน 1265 ให้โจทก์ตามข้อตกลง
++
++ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์และขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 นั้น
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำพิพากษาดังเช่นที่จำเลยที่ 2 ฎีกา หากแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 โดยมิได้บังคับจำเลยทั้งสองให้ไปจดทะเบียนเพิกถอนแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
++
++ คงมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการแรกว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับได้หรือไม่
++ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ทำหนังสือและจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันที การโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 เพื่อโอนให้โจทก์จึงเป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับไม่ได้เพราะขัดต่อกฎหมาย
++
++ ในข้อนี้ ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องการโอนขายที่ดินโครงการที่ 2 ให้แก่บริษัทเซ็นจูรี่พาร์คคอนโดมิเนียม จำกัด เพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้รับจำนองและในการโอนขายที่ดินดังกล่าวจำเลยที่ 1 จะต้องยินยอมให้ถนนในที่ดินโฉนดเลขที่1264 และ 1265 ซึ่งอยู่ในโครงการที่ 1 เป็นทางสาธารณประโยชน์ก่อน การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ1265 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์นั้น จำเลยที่ 1 มีเจตนายกให้เฉพาะที่ดินส่วนที่เป็นถนนอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 1 ตกลงขายให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว
++ ดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อนหากแต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 สัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วคงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอโอนเป็นที่สาธารณประโยชน์และจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์มาก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 และเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2แล้ว คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมเป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับได้และไม่ขัดต่อกฎหมาย
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการที่สองมีว่า มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ และมีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์หรือไม่
++ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า กรณีพิพาทเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนร่วมหรือรับรู้ในการกระทำหรือในความสำคัญผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ควรต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคแรก บัญญัติให้ความรับผิดชั้นสุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ทั้งนี้ให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีด้วย
++ ตามคำขอยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265 ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าเพื่อให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในโฉนดเลขที่ 1265 จำเลยที่ 1 สัญญาจะขายให้โจทก์ และโจทก์ปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทก่อนจำเลยที่ 1 จะทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265 แก่จำเลยที่ 2 เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ ย่อมเป็นการข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย ทั้งก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การและต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ และไม่มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์
++ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ10,000 บาท และที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์ ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการสุดท้ายมีว่า คดีนี้เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือไม่
++ เห็นว่า คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมายถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
++ เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีในศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาท และที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเรียกคืนบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครอง และผลของการยื่นเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเกินกำหนด
บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4)หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดา มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมายย่อมไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1)ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้ คำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาซึ่งเป็นการเพิ่มประเด็นจากฎีกาเดิมจะต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวนี้แล้วจะขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาไม่ได้ จำเลยยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาของจำเลยไว้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดกในการเรียกคืนโฉนดที่ดินจากบุคคลที่ไม่ใช่ผู้จัดการมรดก เพื่อจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมาย
แม้ทรัพย์มรดกของจ. เคยมีห. เป็นผู้จัดการมรดกและได้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของจ. ไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมก็ตามแต่ห. ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้วต่อมาเมื่อศาลได้ตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในอันที่จะต้องจัดการทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามกฎหมายโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเอาโฉนดที่ดินมรดกจากจำเลยได้เพื่อจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมายจำเลยมิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีข้ออ้างที่จะยึดถือเอาโฉนดที่ดินมรดกไว้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกเกินอำนาจของผู้จัดการมรดก เจ้าของมรดกมีสิทธิเรียกคืน
เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรม มรดกย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาททันที โจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ใช่ทายาท ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเป็นการเกินขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ เพราะเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 164 เดิม คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกที่ดินพิพาททั้งสามแปลงระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกัน และสิทธิการฟ้องเรียกคืนการครอบครอง
ทั้งโจทก์และจำเลยต่างได้ครอบครองที่ดินในบริเวณที่ปรากฏในแผนที่พิพาท ส่วนฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินเนื้อที่เท่าใด และฝ่ายใดครอบครองมาก่อนกันอันจะทำให้ฟังได้ว่าฝ่ายนั้นเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทนั้นปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีบ้านอยู่ในที่พิพาท อีกทั้งพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายไม่อาจรับฟังได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแต่เพียงฝ่ายเดียว และฟังไม่ได้ว่ามีการครอบครองที่พิพาทเป็นสัดส่วนในส่วนไหนเท่าใด จึงควรฟังว่าโจทก์และฝ่ายจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทมาด้วยกันและต่างมีส่วนในที่พิพาทเท่า ๆ กัน แม้ในวันที่16 กรกฎาคม 2533 จำเลยได้นำรถตักดินเข้าไปตักดินในที่พิพาทกั้นคันดินเพื่อทำเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง อันเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาทก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้คัดค้านทันทีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2534เพื่อเรียกคืนการครอบครองภายใน 1 ปี สิทธิการฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่พิพาทของโจทก์ยังไม่ขาดไป และได้ความว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินในส่วนที่ไม่ได้โต้แย้งกันซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของที่พิพาท จึงเห็นควรให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งในที่พิพาททางด้านทิศตะวันออก โดยแบ่งเนื้อที่ดินพิพาทออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน และให้โจทก์มีสิทธิในที่พิพาททางด้านตะวันออก ห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนทรัพย์ฝากไม่ขาดอายุความ ตราบเท่าที่ทรัพย์ยังเป็นของเจ้าของ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือก เป็นการใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่ฝาก โจทก์ก็มีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ที่ฝากยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดิน: เจ้าของกรรมสิทธิ์แท้จริงมีสิทธิเรียกคืนโฉนด แม้ถูกยึดถือเป็นประกันหนี้
ฉ. ไม่ใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ดินพิพาท แม้ทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทให้ ฉ. ฉ.ก็หาได้เป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดฉบับดังกล่าวไม่จึงไม่มีสิทธิที่จะยึดถือโฉนดฉบับดังกล่าวไว้ได้ เมื่อ ฉ.ส่งมอบโฉนดฉบับพิพาทให้แก่จำเลยและยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงย่อมมีอำนาจติดตามเอาโฉนดซึ่งเป็นเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินของโจทก์กลับคืนมาได้ จำเลยไม่อาจอ้างว่ามีสิทธิยึดหน่วงโฉนดฉบับพิพาทไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ เพราะหนี้เงินกู้มิได้เป็นหนี้ที่เป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวกับโฉนดฉบับพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา241 วรรคหนึ่ง
of 7