พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดิน (ทางจำเป็น/ภาระจำยอม) เกิดขึ้นจากการแบ่งแยกที่ดิน ไม่ใช่การใช้ทางเดิม
ที่ดินโฉนดเลขที่23454กับที่ดินโฉนดเลขที่23455ได้แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่2336เมื่อแยกออกมาแล้วทางทิศใต้ของที่ดินทั้ง2แปลงต่างอยู่ติดซอยสาธารณะต่อมาโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดเลขที่23455แล้วเพิ่งแบ่งแยกที่ดินกันเองในเวลาต่อมาออกเป็น3แปลงคือแปลงในสุดซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือโฉนดเลขที่209886เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่1และที่2แปลงกลางโฉนดเลขที่209887เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่3เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงในสุดและแปลงกลางไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะส่วนที่ดินโฉนดเลขที่23455ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ติดซอยสาธารณะตามเดิมเช่นนี้โจทก์ที่1และที่2ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงโฉนดเลขที่209886และโจทก์ที่3ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงโฉนดเลขที่209887ชอบที่จะเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะที่ดินแปลงโฉนดเลขที่23455ของโจทก์ที่3ที่ได้แบ่งแยกมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350หาใช่เรียกร้องทางเดินจากที่ดินตามโฉนดเลขที่23454ของจำเลยไม่ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่ตกเป็นทางจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3282/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินและการพิสูจน์ภารจำยอม: ที่ดินแบ่งแยกและทางจำเป็น
ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดตราจองที่ 3369ซึ่งมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินออกสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะในที่ดินโฉนดตราจองที่ 3369ซึ่งเป็นที่ดินแปลงที่โจทก์แบ่งแยกมาเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางพิพาทในที่ดินจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นเป็นทางเดินผ่านไปสู่ทางสาธารณะหาได้ไม่ ทางพิพาทจึงไม่เป็นทางจำเป็นแก่โจทก์ โจทก์อ้างว่าใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยเป็นทางภารจำยอม มีผลเป็นการรอนสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอื่น จึงต้องมีหลักฐานชัดแจ้งมั่นคงว่า โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิในทางพิพาทอย่างเป็นปรปักษ์หรือโดยพลการต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้ใช้สิทธิในทางพิพาทอย่างเป็นปรปักษ์หรือโดยพลการหากแต่มีลักษณะว่าได้ใช้สิทธิในทางพิพาทโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ ดังนั้นไม่ว่าโจทก์จะใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกจากที่ดินของโจทก์มานานเพียงใดก็ตามทางพิพาทก็ไม่เป็นทางภารจำยอมโดยอายุความแก่ที่ดินของโจทก์