พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, การเลิกสัญญา, และสิทธิเรียกร้องหนี้
คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีการค้าของธนาคาร โจทก์ได้บรรยายที่มาแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม ความรับผิดของจำเลยทั้งสามที่มีต่อโจทก์ และการคิดดอกเบี้ยตลอดจนจำนวนหนี้ที่คำนวณถึงวันฟ้องโดยละเอียดและชัดแจ้งเป็นที่เข้าใจได้อย่างดีว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์เพราะเหตุใด จำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ให้โจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใด และจำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนเงินเท่าใดจึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว โจทก์หาต้องแนบหลักฐานหรือเอกสาร แสดงรายละเอียดการเบิกเงิน การชำระเงิน การหักทอนบัญชีและการคิดดอกเบี้ยในแต่ละเดือนมาพร้อมกับคำฟ้องไม่ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันต่อไปในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวในวงเงิน 16,500,000 บาท โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ กรณีเช่นนี้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้คืนจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน
ตามรายการในบัญชีของโจทก์ระบุข้อความไว้ถึงจำนวนวงเงินเบิกเกินบัญชี อัตราดอกเบี้ยและวันครบกำหนดไว้ว่าเป็นวันที่ 30 ธันวาคม 2528ซึ่งเป็นเพียงวิธีปฏิบัติทางบัญชีภายในของโจทก์มิได้ผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ด้วย และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ตกลงกันให้การเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ครบกำหนดตามวันที่ระบุไว้ตามรายการในบัญชีดังกล่าว ทั้งตามรายการในบัญชีที่โจทก์ยกยอดมาตั้งเป็นบัญชีใหม่เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2528 ในช่องวันครบกำหนดก็มิได้ระบุวันครบกำหนดไว้และโจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1ต่อไป ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงถือเอาวันที่ระบุไว้ในบัญชีเป็นวันครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและมีการต่อสัญญากันจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม2528 อันเป็นวันสิ้นสุดของสัญญาไม่ แม้หลังจากวันที่ 30 ธันวาคม 2528 จะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวอีกและมียอดเงินในบัญชียังไม่เกินวงเงิน ตามข้อตกลงในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี คงปรากฏแต่รายการที่จำเลยที่ 1 นำเงินชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเท่านั้น ก็ตาม แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึงจำเลยวันที่ 1 มีนาคม 2534 และเรียกให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ทั้งหมดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม หากไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลง ณ วันครบกำหนดเวลาดังกล่าว จึงถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2534 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันสิ้นสุดลง
จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวในวงเงิน 16,500,000 บาท โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ กรณีเช่นนี้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้คืนจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน
ตามรายการในบัญชีของโจทก์ระบุข้อความไว้ถึงจำนวนวงเงินเบิกเกินบัญชี อัตราดอกเบี้ยและวันครบกำหนดไว้ว่าเป็นวันที่ 30 ธันวาคม 2528ซึ่งเป็นเพียงวิธีปฏิบัติทางบัญชีภายในของโจทก์มิได้ผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ด้วย และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ตกลงกันให้การเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ครบกำหนดตามวันที่ระบุไว้ตามรายการในบัญชีดังกล่าว ทั้งตามรายการในบัญชีที่โจทก์ยกยอดมาตั้งเป็นบัญชีใหม่เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2528 ในช่องวันครบกำหนดก็มิได้ระบุวันครบกำหนดไว้และโจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1ต่อไป ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงถือเอาวันที่ระบุไว้ในบัญชีเป็นวันครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและมีการต่อสัญญากันจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม2528 อันเป็นวันสิ้นสุดของสัญญาไม่ แม้หลังจากวันที่ 30 ธันวาคม 2528 จะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวอีกและมียอดเงินในบัญชียังไม่เกินวงเงิน ตามข้อตกลงในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี คงปรากฏแต่รายการที่จำเลยที่ 1 นำเงินชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเท่านั้น ก็ตาม แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึงจำเลยวันที่ 1 มีนาคม 2534 และเรียกให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ทั้งหมดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม หากไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลง ณ วันครบกำหนดเวลาดังกล่าว จึงถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2534 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันสิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, ดอกเบี้ย, การบอกกล่าวบังคับจำนอง: การใช้สิทธิเรียกร้องหนี้และการบังคับหลักประกัน
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ มีโนตารี่พับลิคแห่งมลรัฐนิวยอร์คลงนามเป็นพยาน และผู้รับมอบอำนาจเบิกความว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจของธนาคารโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมิใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 แม้โจทก์จะไม่นำพยานที่รู้เห็นเกี่ยวกับเอกสารนี้มาสืบ ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับให้ฟังว่าใบมอบอำนาจของโจทก์มิใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง
ตามหนังสือรับรองการขอเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ ได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่าจำเลยที่ 1 จะจ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไปตามอัตราที่โจทก์จะกำหนดขึ้นไว้ และอยู่ในบังคับที่จะเปลี่ยนแปลงได้เป็นคราว ๆ ตามดุลพินิจของโจทก์ และโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละสิบสามครึ่งต่อปีตลอดมา จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2518 หลังจากนั้นได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือร้อยละสิบสองครึ่งต่อปี ถือได้ว่าดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียให้แก่โจทก์ได้กำหนดอัตราไว้โดยนิติกรรมแล้วตามดุลพินิจของโจทก์ เมื่อดอกเบี้ยที่โจทก์กำหนดไม่เกินอัตราตามกฎหมาย ย่อมใช้บังคับได้
การกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่มิได้กำหนดเวลาให้ชำระหนี้ไว้โดยแน่นอน เพียงแต่การที่โจทก์ปล่อยเวลาให้เนิ่นนานมา ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700
โจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนอง ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่บอกกล่าวครั้งแรกถึงครั้งสุดท้ายเป็นเวลาเกือบ 3 เดือน และก่อนจะมีหนังสือบอกกล่าวครั้งสุดท้าย ฝ่ายโจทก์นัดให้จำเลยมาเจรจาเรื่องการชำระหนี้ 2 ครั้ง แต่จำเลยไม่สามารถชำระได้ ถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 แล้ว
ตามหนังสือรับรองการขอเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ ได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่าจำเลยที่ 1 จะจ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไปตามอัตราที่โจทก์จะกำหนดขึ้นไว้ และอยู่ในบังคับที่จะเปลี่ยนแปลงได้เป็นคราว ๆ ตามดุลพินิจของโจทก์ และโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละสิบสามครึ่งต่อปีตลอดมา จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2518 หลังจากนั้นได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือร้อยละสิบสองครึ่งต่อปี ถือได้ว่าดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียให้แก่โจทก์ได้กำหนดอัตราไว้โดยนิติกรรมแล้วตามดุลพินิจของโจทก์ เมื่อดอกเบี้ยที่โจทก์กำหนดไม่เกินอัตราตามกฎหมาย ย่อมใช้บังคับได้
การกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่มิได้กำหนดเวลาให้ชำระหนี้ไว้โดยแน่นอน เพียงแต่การที่โจทก์ปล่อยเวลาให้เนิ่นนานมา ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700
โจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนอง ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่บอกกล่าวครั้งแรกถึงครั้งสุดท้ายเป็นเวลาเกือบ 3 เดือน และก่อนจะมีหนังสือบอกกล่าวครั้งสุดท้าย ฝ่ายโจทก์นัดให้จำเลยมาเจรจาเรื่องการชำระหนี้ 2 ครั้ง แต่จำเลยไม่สามารถชำระได้ ถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกัน: ประเด็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงและการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไป 11,300 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ตั้งแต่กู้เงินไปไม่เคยชำระดอกเบี้ยครบกำหนดชำระแล้วโจทก์ทวงถามก็เพิกเฉยขอให้ศาลบังคับจำเลยร่วมกันชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันจริงจำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามสัญญาที่ฟ้องไปแล้วแต่ขณะกู้เงินยังมิได้กรอกรายการใดๆ อันจะต้องรับผิดลงในสัญญา จำเลยตกลงกู้เงินโจทก์ 6 เดือน มิใช่ 1 เดือน ดังที่โจทก์ฟ้องและตกลงกันให้ดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน จำเลยได้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแล้วแต่โจทก์ไม่ออกใบรับให้ สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาปลอมขอให้ยกฟ้องและทำลายสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยมิได้โต้แย้งว่ามิได้กู้ยืมเงินโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 รับว่าได้ลงชื่อในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันจริงโดยมิได้ถูกหลอกลวงหรือหลงผิดแต่อย่างใด เงินดอกเบี้ยก็มิได้โต้เถียงว่าเกินอัตราที่ตกลงกันเพียงแต่อ้างว่ากำหนดเวลาชำระหนี้ 6 เดือน ไม่ใช่ 1 เดือนตามสัญญาแต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 6 เดือนแล้วแม้โจทก์จะกรอกข้อความลงในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยลำพัง มิได้รับความยินยอมหรือรู้เห็นจากจำเลยทั้งสองจริงดังที่อ้างก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสองชนะคดีได้ และที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าได้ชำระหนี้รายนี้หมดแล้วก็ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือแทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วจำเลยจึงนำสืบถึงการใช้เงินไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองนำสืบตามคำให้การดังกล่าวนี้ไม่ได้ จึงไม่มีเหตุที่จะฟ้องแย้งศาลชอบที่จะไม่รับฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ก่อนกำหนดและการห้ามฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่การพิจารณา
โจทก์ฎีกาว่า สัญญากู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 เป็นการใช้สิทธิซึ่งจะทำให้คู่สัญญาต้องได้รับความเดือดร้อน ทั้งที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ผิดสัญญา อันถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของจำเลยที่ 1 ในฐานะสถาบันการเงิน แต่ปัญหาดังกล่าวโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องและคำแก้อุทธรณ์ จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 และสัญญากู้ยืมเงินที่มีข้อความว่า สัญญากู้ยืมเงินได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ แต่ไม่ตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควรโดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ ผู้กู้สัญญาว่าจะชำระหนี้ตามที่ผู้ให้กู้เรียกร้องทันที เป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นด้วยใจสมัครของลูกหนี้เอง หาเกี่ยวกับสังคมหรือประชาชนไม่ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ตามลำดับ