พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่จดทะเบียน โมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน
ตามหนังสือสัญญามีข้อความว่า วันที่ 7 เมษายน 2529 จำเลยได้ขายบ้านพร้อมที่ดิน 1 แปลง ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 60,000 บาท ได้รับชำระราคาจากโจทก์แล้ว และยอมมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่โจทก์วันที่ 30 สิงหาคม 2529 เมื่อสิ้นกำหนดสัญญานี้แล้ว หากจำเลยไม่นำเงินมาชำระคืนในจำนวนดังกล่าว จำเลยจะมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ซื้อเพียงผู้เดียว สัญญาดังกล่าวเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ในข้อสัญญาไม่มีข้อความว่าคู่สัญญาจะไปทำการจดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง เพียงแต่มีข้อกำหนดในการชำระราคาคืนอันเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง และข้อกำหนดในการมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่โจทก์อันเป็นเงื่อนเวลาเท่านั้น จึงเป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาดหาใช่สัญญาจะซื้อจะขายไม่ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 115 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนโดยอาศัยมูลจากสัญญาซื้อขายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เหตุผลที่ไม่สุจริตของผู้ขายไม่ใช่เหตุเลิกสัญญาตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์วางมัดจำ 3,000 บาทค่าที่ดินตกลงชำระกันเป็นงวด ๆ เมื่อได้ชำระค่าที่ดินไปบ้างแล้วโจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินและเช็คที่ได้ชำระค่าที่ดินไปตามสำเนาหนังสือบอกเลิกสัญญาท้ายฟ้อง อ้างเหตุแตกร้าวที่โจทก์ถูกตำรวจจับเรื่องอายัดเช็ค ทั้งหาว่าจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถไปโอนโฉนดให้แต่ตามฟ้องโจทก์หาได้กล่าวอ้างตั้งประเด็นว่า จำเลยทำผิดสัญญาแต่ประการใดไม่ กลับอ้างว่าจำเลยไม่สุจริตพยายามกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอับอายโดยถูกพนักงานสอบสวนควบคุมตัวจึงไม่ประสงค์ซื้อที่ดินต่อไป ดังนี้แสดงว่า เหตุเลิกสัญญาไม่ใช่เกิดจากจำเลยทำผิดสัญญาข้อใด ๆ แต่เป็นเพราะโจทก์ไม่พอใจจำเลย จึงไม่ต้องการซื้อที่ดินเท่านั้น
การเลิกสัญญานอกจากจะได้ระบุไว้ชัดในสัญญาว่า ให้เลิกกัน ได้อย่างไรแล้วก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387, 388, 389 และมาตรา 466 ฯลฯ แม้ตามสัญญาจะระบุว่า ถ้าผู้ซื้อ(โจทก์)ผิดสัญญาโดยไม่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ซื้อยอมให้ผู้ขาย(จำเลย)ริบเงินมัดจำก็เป็นแต่ข้อสัญญาที่ให้ถือปฏิบัติไปตามมาตรา 378นั่นเอง จะแปลเลยไปถึงกับว่าเมื่อโจทก์แสดงเจตนาไม่ซื้อที่ดินแล้วเท่ากับผิดสัญญาแล้วหาได้ไม่ เพราะการทำผิดสัญญาก็ยังไม่เกิดขึ้นสัญญาข้อนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้อย่างใด การที่โจทก์บอกปัดเลิกสัญญาเสียตามชอบใจไม่มีผลให้สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นความผูกพันต่อกัน โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่ชำระไปแล้วคืนโดยอาศัยสิทธิเรียกเงินคืนจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 391 ไม่ได้
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาทั้งสองฝ่ายพร้อม ๆ กันตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระค่าที่ดินไปก่อนทำการโอนตลอดจนส่งมอบที่ดินคืนตามฟ้องแย้งไม่ได้
การเลิกสัญญานอกจากจะได้ระบุไว้ชัดในสัญญาว่า ให้เลิกกัน ได้อย่างไรแล้วก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387, 388, 389 และมาตรา 466 ฯลฯ แม้ตามสัญญาจะระบุว่า ถ้าผู้ซื้อ(โจทก์)ผิดสัญญาโดยไม่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ซื้อยอมให้ผู้ขาย(จำเลย)ริบเงินมัดจำก็เป็นแต่ข้อสัญญาที่ให้ถือปฏิบัติไปตามมาตรา 378นั่นเอง จะแปลเลยไปถึงกับว่าเมื่อโจทก์แสดงเจตนาไม่ซื้อที่ดินแล้วเท่ากับผิดสัญญาแล้วหาได้ไม่ เพราะการทำผิดสัญญาก็ยังไม่เกิดขึ้นสัญญาข้อนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้อย่างใด การที่โจทก์บอกปัดเลิกสัญญาเสียตามชอบใจไม่มีผลให้สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นความผูกพันต่อกัน โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่ชำระไปแล้วคืนโดยอาศัยสิทธิเรียกเงินคืนจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 391 ไม่ได้
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาทั้งสองฝ่ายพร้อม ๆ กันตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระค่าที่ดินไปก่อนทำการโอนตลอดจนส่งมอบที่ดินคืนตามฟ้องแย้งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และสิทธิเรียกเงินคืนกรณีวางเงินเกินจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้นำเงินสมทบและผลประโยชน์มาวางศาลเพื่อจ่ายให้แก่จำเลย โจทก์จึงเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร บริษัท ส. เป็นเพียงผู้กระทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนโจทก์เท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าผู้จ่ายเงินให้แก่จำเลยมิใช่โจทก์ แต่บริษัท ส. เป็นผู้จ่าย บริษัท ส. จึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและมีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จ่ายเกินไปคืน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์วางเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบต่อศาลแรงงานกลางเกินไปโดยไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ผู้วางเงินดังกล่าวและมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่วางเกินไปคืน ส่วนที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยด้วยว่า บริษัท ส. กระทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนโจทก์ เป็นการวินิจฉัยในรายละเอียด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่าบริษัท ส. กระทำการแทนโจทก์ คำวินิจฉัยส่วนนี้ก็มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากโจทก์เพียงเฉพาะส่วนที่เกินจากที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แม้โจทก์จะหลงลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อนจ่ายเงินทั้งหมดให้แก่จำเลยไป แต่เมื่อโจทก์นำส่งเงินภาษีที่ต้องหักไว้ ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่โจทก์นำส่งให้แก่กรมสรรพากรไปแล้วจากจำเลยได้ จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์วางเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบต่อศาลแรงงานกลางเกินไปโดยไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ผู้วางเงินดังกล่าวและมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่วางเกินไปคืน ส่วนที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยด้วยว่า บริษัท ส. กระทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนโจทก์ เป็นการวินิจฉัยในรายละเอียด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่าบริษัท ส. กระทำการแทนโจทก์ คำวินิจฉัยส่วนนี้ก็มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากโจทก์เพียงเฉพาะส่วนที่เกินจากที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แม้โจทก์จะหลงลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อนจ่ายเงินทั้งหมดให้แก่จำเลยไป แต่เมื่อโจทก์นำส่งเงินภาษีที่ต้องหักไว้ ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่โจทก์นำส่งให้แก่กรมสรรพากรไปแล้วจากจำเลยได้ จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์