พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อผู้เสียสิทธิสมัคร ส.ส. กรณีเจ้าหน้าที่ละเลยหน้าที่ ทำให้ผู้มีสิทธิไม่ได้รับการพิจารณาแจ้งเหตุไม่อาจใช้สิทธิเลือกตั้ง
ผู้ร้องยื่นหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อนายอำเภอไว้โดยชอบแล้ว นายอำเภอซึ่งเป็นนายทะเบียนอำเภอตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 8 (4) ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบุคคลรับแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการพิจารณาการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543 ข้อ 3 มีหน้าที่พิจารณาเหตุของการไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่าเป็นเหตุอันสมควรหรือไม่ ตามข้อ 6 กับข้อ 12 แล้วแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้แจ้งเหตุทราบโดยเร็ว แต่นายทะเบียนอำเภอไม่ได้พิจารณาคำร้องของผู้ร้องเพราะเจ้าหน้าที่อำเภอไม่ได้นำหนังสือของผู้ร้องเสนอต่อนายทะเบียนอำเภอ เนื่องจากหนังสือดังกล่าวสูญหาย อันเป็นความผิดพลาดของฝ่ายนายทะเบียนอำเภอที่ไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ดังนี้ การจัดให้ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ของฝ่ายผู้คัดค้านจึงไม่ชอบ ผู้ร้องจึงไม่เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 23 (3) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกตั้งกรรมการการเลือกตั้ง-การสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. ผู้ไม่ใช้สิทธิ-หน่วยเลือกตั้งที่ไม่มีชื่อ
สิทธิของผู้ที่เป็นกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำเขตต้องเป็นไปตามข้อกำหนดคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแต่งตั้งและวิธีปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้อ 15/1 มิใช่เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาฯเพราะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้ข้อกำหนดคณะกรรมการการเลือกตั้งฯ ระบุให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีหน้าที่ในการเลือกตั้งหรือเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมีสิทธิลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งที่ตนต้องประจำปฏิบัติหน้าที่นั้นโดยไม่ต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และต้องแสดงหลักฐานคำสั่งแต่งตั้งต่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งก่อนทำการลงคะแนน โดยให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเพิ่มชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกส่วนหนึ่งต่างหากได้ แต่เมื่อผู้ร้องเป็นกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตซึ่งมีหน้าที่ตรวจเยี่ยมหน่วยเลือกตั้งในเขตโดยไม่มีหน้าที่ต้องประจำปฏิบัติในหน่วยเลือกตั้งหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่อาจใช้ความเป็นกรรมการเลือกตั้งไปลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งที่ผู้ร้องไม่มีบัญชีรายชื่อได้ การที่ผู้ร้องไปลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งที่ผู้ร้องไม่มีบัญชีรายชื่อทั้งมิได้มีการเพิ่มชื่อผู้ร้องในบัญชีรายชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด จึงเป็นการไม่ชอบและเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องก็มิได้แจ้งเหตุถึงการไปใช้สิทธิในหน่วยเลือกตั้งที่ไม่มีบัญชีรายชื่อดังกล่าวต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 22 ผู้ร้องจึงเป็นผู้เสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 68 วรรคสอง และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ ฉะนั้นการที่ผู้คัดค้านไม่รับสมัครผู้ร้องและไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงชอบแล้ว
คดีร้องขอให้รับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯมาตรา 34
คดีร้องขอให้รับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯมาตรา 34
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8695/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จากการใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. ไม่ถูกต้องหลังย้ายทะเบียนบ้าน
บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ผู้ร้องย้ายตนเองจากจังหวัดร้อยเอ็ดไปอยู่จังหวัดยโสธรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันแล้ว การที่ผู้ร้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่จังหวัดร้อยเอ็ดจึงเป็นการมิชอบ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดยโสธรประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องสามารถแจ้งเหตุที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่จังหวัดยโสธรได้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ มาตรา 22 แต่ผู้ร้องหาได้ปฏิบัติการตามที่กฎหมายกำหนดไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้เสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกตั้งและการแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ: การย้ายทะเบียนบ้านและผลกระทบต่อสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
คำว่า "วันเลือกตั้ง" ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 บัญญัติในมาตรา 4 ให้หมายความถึงวันที่กำหนดให้เป็นวันเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาแล้วแต่กรณี ซึ่งหมายถึงวันที่ให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปไม่ใช่วันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ ผู้ร้องย้ายทะเบียนบ้านจากจังหวัดสกลนครมาอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ยังไม่ครบ 90 วัน ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ยังคงเป็นบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดสกลนครอยู่ นอกจากนั้นตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543 ข้อ 9 กำหนดว่าให้ใช้บัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งที่เป็นเหตุให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งใหม่ ดังนั้น ผู้ร้องก็มีหน้าที่ต้องไปเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งของเขตเลือกตั้งจังหวัดสกลนคร การที่ผู้ร้องจะไปลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์โดยไม่ไปลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดสกลนคร ซึ่งผู้ร้องมีชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ย่อมถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 วรรคสอง
การแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องแจ้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจำแต่ละเขตเลือกตั้งซึ่งกรณีของผู้ร้องคือนายอำเภอเมืองสกลนครและต้องแจ้งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ แม้ผู้ร้องอ้างว่าได้มีหนังสือแจ้งเหตุไปแล้ว แต่จ่าหน้าซองผิดโดยระบุชื่อผู้รับเป็น "ก.ก.ต.สกลนคร" แทนที่จะระบุว่าเป็นนายอำเภอเมืองสกลนครตามที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทำให้หนังสือแจ้งเหตุส่งไม่ถึงนายอำเภอเมืองสกลนครก็ดี และเมื่อล่วงพ้นเวลาแจ้งเหตุแล้ว ผู้ร้องได้มีหนังสือแจ้งเหตุต่อนายอำเภอเมืองสกลนคร อันเป็นการแสดงว่าผู้ร้องมิได้มีเจตนาหรือจงใจไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาก็ดี ไม่เป็นเหตุที่ถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งที่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 21, 22 ผู้ร้องจึงต้องเสียสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 23 (3)
การแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องแจ้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจำแต่ละเขตเลือกตั้งซึ่งกรณีของผู้ร้องคือนายอำเภอเมืองสกลนครและต้องแจ้งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ แม้ผู้ร้องอ้างว่าได้มีหนังสือแจ้งเหตุไปแล้ว แต่จ่าหน้าซองผิดโดยระบุชื่อผู้รับเป็น "ก.ก.ต.สกลนคร" แทนที่จะระบุว่าเป็นนายอำเภอเมืองสกลนครตามที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทำให้หนังสือแจ้งเหตุส่งไม่ถึงนายอำเภอเมืองสกลนครก็ดี และเมื่อล่วงพ้นเวลาแจ้งเหตุแล้ว ผู้ร้องได้มีหนังสือแจ้งเหตุต่อนายอำเภอเมืองสกลนคร อันเป็นการแสดงว่าผู้ร้องมิได้มีเจตนาหรือจงใจไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาก็ดี ไม่เป็นเหตุที่ถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งที่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 21, 22 ผู้ร้องจึงต้องเสียสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 23 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลโดยไม่มีสิทธิ: บทบัญญัติโทษและขอบเขตการนำกฎหมายเลือกตั้งมาใช้
พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ.2495 ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์โดยไม่มีสิทธิ มิได้บัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตราหนึ่งมาตราใด และตามพ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2528 มาตรา 3 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ.2495 และให้ใช้ความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา 7 ว่า "การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน (4) ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม" เมื่อ พ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2528 มาตรา 3 บัญญัติวิธีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล ตามความใน(4) แห่งมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว คือให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า พ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2528มาตรา 3 มีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา7 (4) ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น ทั้งนี้เพราะตามพ.ร.บ.สุขาภิบาลไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลไว้มิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมด ดังนั้น จะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 มาตรา 72 ซึ่งอยู่ในหมวด 9 อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษโดยเฉพาะมาใช้บังคับ โดยอนุโลมด้วยหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ในวันเกิดเหตุโดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ถือว่าการกระทำของจำเลยในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5636/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล แม้ไม่มีคำขอในฟ้อง ศาลก็มีอำนาจสั่งได้
ตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 65ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาแปดปีนั้น มีความหมายว่า เมื่อศาลพิพากษาลงโทษผู้ใดตามกฎหมายมาตรานี้แล้ว ให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นเสียมีกำหนดแปดปีด้วย แม้โจทก์จะไม่มีคำขอดังกล่าวระบุมาท้ายฟ้องก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งขยายผลถึงการเลือกตั้งทุกประเภท จำเลยทราบดีว่าถูกเพิกถอนสิทธิแล้ว
จำเลยถูกศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 แล้ว ต้องถือว่าสิทธิเลือกตั้งของจำเลยต้องถูกเพิกถอนตามกฎหมายในทุกกรณี รวมทั้งสิทธิเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ.2482ด้วย การที่จำเลยสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด โดยระบุว่าจำเลยมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ.2482 มาตรา 64
การเข้าใจว่ามีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเพราะไม่ได้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พุทธศักราช 2482 ไม่ใช่การสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
การเข้าใจว่ามีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเพราะไม่ได้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พุทธศักราช 2482 ไม่ใช่การสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งข้ามกฎหมาย: สิทธิเลือกตั้งเป็นสิทธิทางการเมืองขั้นพื้นฐาน เมื่อถูกเพิกถอนแล้วมีผลในทุกกรณี
จำเลยถูกศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 แล้วต้องถือว่าสิทธิเลือกตั้งของจำเลยต้องถูกเพิกถอนตามกฎหมายในทุกกรณีรวมทั้งสิทธิเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดพ.ศ. 2482 ด้วย การที่จำเลยสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดโดยระบุว่าจำเลยมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2482 มาตรา 64 การเข้าใจว่ามีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเพราะไม่ได้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พุทธศักราช 2482 ไม่ใช่การสำคัญผิดในข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้ใหญ่บ้านและการมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด
ผู้ใหญ่บ้านไม่ใช่ลูกจ้างหรือคนงานของรัฐบาลตามความหมายของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งของสมาชิกจังหวัด
ผู้ใหญ่บ้านที่สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ.2482 ม.21,64 พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2498 ม.9
ผู้ใหญ่บ้านที่สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ.2482 ม.21,64 พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2498 ม.9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9804/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติ และความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง
จำเลยถูกศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเนื่องจากสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นกรณีตามมาตรา 163 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ที่บัญญัติให้ถือว่าผู้นั้นถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ด้วย หาใช่กรณีเสียสิทธิเลือกตั้งเนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 164 และตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังคงบัญญัติบทกำหนดโทษกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ในมาตรา 139 อันเป็นกรณีที่กฎหมายที่ได้บัญญัติภายหลังยังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ จึงไม่ทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ทั้งบัญญัติให้มีระวางโทษเท่าเดิม จึงไม่มีส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใด