พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกฟ้องคดีแรงงาน: ลูกจ้างต้องเลือกระหว่างฟ้องศาลแรงงานหรือร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ไม่สามารถทำทั้งสองอย่างพร้อมกันได้
กรณีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิฟ้องร้องนายจ้างต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติแล้ว กฎหมายยังกำหนดแนวทางใหม่ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเสียก่อน เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งตาม มาตรา 124 แล้ว หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งจึงนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อให้ศาลแรงงานพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียว กล่าวคือจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้ แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานก็เท่ากับสละสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานไปแล้วอยู่ในตัว
การที่ลูกจ้างยื่นฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต่อศาลแรงงาน ขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าจ้างที่ค้างพร้อมดอกเบี้ย ถือว่าลูกจ้างเลือกใช้สิทธิที่จะฟ้องต่อศาลแรงงาน ลูกจ้างจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 แล้ว การที่ลูกจ้างได้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอีก ในขณะที่คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงาน เพื่อขอให้โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างที่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน ไว้แล้วและค่าจ้างในเดือนถัดมาต่อเนื่องกัน ถือว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับค่าจ้างค้างจ่ายที่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องของลูกจ้าง แม้ต่อมาลูกจ้างจะถอนฟ้องคดีไปจากศาล ก็ไม่ทำให้พนักงานตรวจแรงงานกลับมีอำนาจพิจารณาคำร้องนั้นขึ้นมาอีก คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียว กล่าวคือจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้ แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานก็เท่ากับสละสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานไปแล้วอยู่ในตัว
การที่ลูกจ้างยื่นฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต่อศาลแรงงาน ขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าจ้างที่ค้างพร้อมดอกเบี้ย ถือว่าลูกจ้างเลือกใช้สิทธิที่จะฟ้องต่อศาลแรงงาน ลูกจ้างจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 แล้ว การที่ลูกจ้างได้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอีก ในขณะที่คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงาน เพื่อขอให้โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างที่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน ไว้แล้วและค่าจ้างในเดือนถัดมาต่อเนื่องกัน ถือว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับค่าจ้างค้างจ่ายที่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องของลูกจ้าง แม้ต่อมาลูกจ้างจะถอนฟ้องคดีไปจากศาล ก็ไม่ทำให้พนักงานตรวจแรงงานกลับมีอำนาจพิจารณาคำร้องนั้นขึ้นมาอีก คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในความเสียหายจากการละเมิด โจทก์มีสิทธิเลือกฟ้องนายจ้างหรือลูกจ้างก็ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ที่ได้บัญญัติบังคับให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างได้ทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายนั้น เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนจะต้องชำระหนี้ โดยทำนองซึ่งแต่ละคนต้องชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว เจ้าหนี้ชอบจะเรียกให้ชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับ ส. ผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จะเลือกฟ้องจำเลยที่ 1 หรือส. คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวก็ได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 1 จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจาก ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 426 นั้น ก็ชอบที่จะกระทำได้อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องรอให้โจทก์ฟ้อง ส. ให้รับผิดเสียชั้นหนึ่งก่อนดังนี้ การที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ผู้ที่ทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง แต่กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนายจ้างของ ส. ให้รับผิดนั้น จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกฟ้องหนี้จากการจำนองและการหักกลบหนี้: เมื่อจำเลยไม่บังคับชำระจากทรัพย์จำนอง
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ในการทำสัญญาจ้างโจทก์ได้จำนองที่ดินแปลงหนึ่งไว้เป็นประกันความเสียหาย การที่โจทก์ได้จำนองที่ดินไว้ดังกล่าวย่อมแยกการจำนองกับหนี้ที่เอาทรัพย์สินจำนองเป็นประกันออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจำเลยจึงมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามสัญญาจำนองก็ได้ เพราะว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๓๓มิได้บังคับว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองเพียงทางเดียว ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ประสงค์ที่จะบังคับชำระหนี้ค่าเสียหายจากที่ดินที่จำนองและจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระเงินสะสมและเงินบำเหน็จจำนวนหนึ่งให้โจทก์ประกอบกับจำเลยได้ใช้สิทธิขอหักหนี้มาในคำให้การแล้ว จำเลยจึงมีสิทธินำเงินบำเหน็จของโจทก์มาหักกับค่าเสียหายแก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๔๑โดยหาจำต้องบังคับเอาจากทรัพย์ที่จำนองเป็นประกันก่อนไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกฟ้องระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและจำนอง การหักหนี้ค่าเสียหาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ในการทำสัญญาจ้างโจทก์ได้จำนองที่ดินแปลงหนึ่งไว้เป็นประกันความเสียหาย การที่โจทก์ได้จำนองที่ดินไว้ดังกล่าวย่อมแยกการจำนองกับหนี้ที่เอาทรัพย์สินจำนองเป็นประกันออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจำเลยจึงมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามสัญญาจำนองก็ได้ เพราะว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733มิได้บังคับว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองเพียงทางเดียว ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ประสงค์ที่จะบังคับชำระหนี้ค่าเสียหายจากที่ดินที่จำนองและจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระเงินสะสมและเงินบำเหน็จจำนวนหนึ่งให้โจทก์ประกอบกับจำเลยได้ใช้สิทธิขอหักหนี้มาในคำให้การแล้ว จำเลยจึงมีสิทธินำเงินบำเหน็จของโจทก์มาหักกับค่าเสียหายแก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341โดยหาจำต้องบังคับเอาจากทรัพย์ที่จำนองเป็นประกันก่อนไม่.