พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินและการทำเหมืองแร่: สิทธิแยกต่างหาก โอนสิทธิได้ แม้ประทานบัตรหมดอายุ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับโอนประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ มาจากบริษัท ซ.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อปี 2514 โจทก์ได้ยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ แม้บริษัท ซ.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจะได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่มิใช่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินนั้นจะไม่มีผลเสียเลย กฎหมายเพียงแต่จำกัดสิทธิมิให้บริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นถือสิทธิหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94เมื่อบริษัท ซ. โอนสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ผู้รับโอนย่อมมีสิทธิในที่ดินนั้นโดยสมบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้วจะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ซึ่งรับโอนทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครองครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสิทธิคนละส่วนกันแต่อย่างใดไม่การที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์แต่จำเลยทั้งสองและบริวารยังขืนอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโดยไม่ยอมส่งมอบคืนโจทก์ จึงเป็นการรบกวนการครอบครองอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประทานบัตรกับการครอบครองที่ดิน: สิทธิแยกต่างหาก โจทก์มีสิทธิครอบครองแม้มีประทานบัตร
สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ.2510อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้วจะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่าผู้มีสิทธิครอบครองแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้วหากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่แต่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกับการชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นสิทธิที่แยกต่างหาก
ค่าชดเชยเป็นเงินที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างเป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมดังนั้น แม้นายจ้างจะได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อได้เลิกจ้างแล้วก็ตาม แต่ถ้าการเลิกจ้างนั้นเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเป็นบทกฎหมายที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง ส่วนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เป็นบทกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์รวมทั้งวิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปโดยวิธีปรองดองและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายเป็นกฎหมายคนละส่วน มิได้ขัดแย้งหรือซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเป็นบทกฎหมายที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง ส่วนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เป็นบทกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์รวมทั้งวิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปโดยวิธีปรองดองและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายเป็นกฎหมายคนละส่วน มิได้ขัดแย้งหรือซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการก่อสร้างอาคารแยกจากกรรมสิทธิที่ดิน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมการก่อสร้าง แม้กรรมสิทธิยังไม่ถูกเวนคืน
กรรมสิทธิในที่ดินเป็นสิทธิอย่างหนึ่งต่างหากจากการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารเพราะการปลูกสร้างอาคารนั้นมีกฎหมายบัญญัติไว้อีกต่างหาก ผู้ใดจะทำการปลูกสร้างอาคารต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมการก่อสร้าง
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่จะต้องตัดถนนตามพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ 2473 โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในที่พิพาท จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตดังนี้เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา 2 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดปลูกสร้างโรงเรือนหรือทำการอย่างหนึ่งอย่างใดลงในที่ดินภายในเขตนั้น นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าพนักงาน.
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่จะต้องตัดถนนตามพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ 2473 โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในที่พิพาท จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตดังนี้เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา 2 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดปลูกสร้างโรงเรือนหรือทำการอย่างหนึ่งอย่างใดลงในที่ดินภายในเขตนั้น นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าพนักงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนและการชำระค่าเสียหายเป็นสิทธิแยกต่างหาก การบังคับคดีชอบแล้ว
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกานอกจากจะบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองจนกว่าจะรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำแล้ว ยังมีหนี้ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ พร้อมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองด้วย อันเป็นคำพิพากษาที่ให้จำเลยกระทำการแยกต่างหากจากหนี้ในส่วนหลังที่ให้จำเลยชำระค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิที่จะชำระค่าเสียหายรายเดือนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้จนกว่าจำเลยจะรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองชอบแล้ว ไม่มีการพิจารณาใดที่ผิดระเบียบอันเป็นเหตุจะให้เพิกถอน