พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน, การประเมินภาษี, สิทธิในการโต้แย้ง, การยื่นคำร้อง
จำเลยได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเก็บภาษีสำหรับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2535 และ 2536 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2537 จำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องนำค่าภาษีไปชำระภายใน 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 38 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และมิได้ชำระค่าภาษีตามการประเมินดังกล่าวภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2537 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินดังกล่าว จึงเป็นค่าภาษีค้างชำระอันก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยได้ นับแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 จึงยังอยู่ภายในระยะเวลา 10 ปี สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีโรงเรือนประจำปีภาษี 2535 และ 2536 ยังไม่ขาดอายุความ (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2538)
เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยไม่พอใจ กฎหมายกำหนดให้จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ จำเลยย่อมไม่อาจโต้แย้งหรือยกข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในชั้นศาลได้ เพราะปัญหาดังกล่าวยุติไปในชั้นการประเมิน (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2530, 705/2531)
เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยไม่พอใจ กฎหมายกำหนดให้จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ จำเลยย่อมไม่อาจโต้แย้งหรือยกข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในชั้นศาลได้ เพราะปัญหาดังกล่าวยุติไปในชั้นการประเมิน (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2530, 705/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองต้องให้สิทธิคู่กรณีทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งได้ แม้เป็นงานนโยบายก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
การพิจารณาพิพากษาคดีปกครองเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในระบบไต่สวน ซึ่งมุ่งหมายให้ศาลทำหน้าที่ค้นคว้าหาความจริงและตรวจสอบการพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นมีข้อความว่าคู่ความประสงค์ให้ศาลวินิจฉัยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539มาตรา 3,4,5 และมาตรา 37 หรือไม่ โดยมิได้กล่าวถึงมาตรา 30 ที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง แต่เมื่อคำนึงถึงความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์แล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์มุ่งหมายให้ศาลตรวจสอบการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องถือว่าโจทก์ยังประสงค์ให้ศาลพิจารณาและวินิจฉัยว่าการออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 30 หรือไม่ และถือไม่ได้ว่าเป็นการสละประเด็นข้อนี้
งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหมายถึงงานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน มิใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 16 ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักร จึงมิใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรงตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 4(3) ทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรตามมาตรา 4(7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 4(3) และ (7) จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งก่อน จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนได้ตามมาตรา 50
งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหมายถึงงานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน มิใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 16 ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักร จึงมิใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรงตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 4(3) ทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรตามมาตรา 4(7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 4(3) และ (7) จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งก่อน จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนได้ตามมาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิโต้แย้งและการหมดอายุความตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลย ภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 ที่โจทก์ระบุว่าเป็นการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 หากจำเลยยังไม่พอใจคำชี้ขาดก็อาจนำคดีไปสู่ศาล เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบ ในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน
จำเลยได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 หากจำเลยยังไม่พอใจคำชี้ขาดก็อาจนำคดีไปสู่ศาล เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบ ในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิโต้แย้งของผู้รับประเมิน และภาระการพิสูจน์ของโจทก์
จำเลยมิได้โต้แย้งคำชี้ขาดการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลได้ว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบ ไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลยอย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมิน ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ประจักษ์ว่าการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโรงแรมของจำเลยมีห้องพักจำนวน 119 ห้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์นำห้องพักรวม 124 ห้องมาคำนวณค่ารายปีและค่าภาษี จึงเกินกว่าจำนวนห้องพักที่มีอยู่จริงการคำนวณในส่วนที่เกินไปจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลยภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2539 ที่โจทก์ระบุปีภาษี 2539 นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบแล้ว
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลยภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2539 ที่โจทก์ระบุปีภาษี 2539 นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการได้รับค่าทดแทนเวนคืน: การหักราคาที่ดินที่เหลือ และขอบเขตสิทธิในการโต้แย้งราคา
สิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้อง และสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลว่าคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25ไม่ถูกต้อง เป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 เท่านั้นเมื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯไม่ได้มีมติว่าที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้เอาราคาที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพราะเป็นการฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของฝ่ายตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8995/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คำร้องสอดเป็นคำฟ้องใหม่ หากมีคดีเดิมที่สิทธิโต้แย้งกันแล้ว
กรณีผู้ร้องยื่นคำฟ้องต่อศาลก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและเป็นการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(8)เมื่อคดีอยู่ในระหว่างไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง แล้วโดยไม่ต้องรอให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก่อน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีโดยอ้างสิทธิว่า ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทที่จำเลยนำไปขายฝากโจทก์ทั้งสี่เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันซื้อมาผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่กึ่งหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธินำที่ดินและบ้านพิพาทไปขายฝากโจทก์ทั้งสี่นั้นเป็นการตั้งสิทธิของผู้ร้องเข้ามาในคดีในฐานะคู่ความฝ่ายที่สามและเป็นปฏิปักษ์แก่โจทก์ทั้งสี่และจำเลย หาใช่เข้ามาเพียงเป็นจำเลยต่อสู้คดีกับโจทก์ทั้งสี่โดยเฉพาะไม่ ซึ่งถ้าศาลรับคำร้องสอดของผู้ร้องไว้ โจทก์ทั้งสี่และจำเลยก็ต้องให้การแก้คำร้องสอดของผู้ร้อง คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์หาใช่เป็นจำเลยไม่ เมื่อสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยโต้แย้งนี้ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่เป็นคดีต่อศาลไว้แล้วและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาคำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองแรงงานถึงที่สุด การไม่อุทธรณ์ทำให้จำเลยหมดสิทธิโต้แย้งคำสั่ง
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามมาตรา 124 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้วถ้านายจ้างไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ในกรณีที่นายจ้างไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดตามมาตรา 125 ดังนี้ เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่นำคดีมาสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าว คำสั่งนั้นจึงถึงที่สุดตามมาตรา 125 จำเลยจะดำเนินการในศาลแรงงานในปัญหาดังกล่าวซึ่งรวมตลอดถึงการให้การต่อสู้อีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งคำสั่งอันถึงที่สุดแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งย้ายลูกจ้างชอบด้วยกฎหมาย หากลูกจ้างไม่เห็นด้วยมีสิทธิโต้แย้งหรือฟ้องเพิกถอน การไม่ไปทำงานถือเป็นความสมัครใจ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์ป่วยเป็นโรคไตอักเสบและโจทก์ได้ลาป่วยหลายครั้ง เหตุที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากมีปัญหาจาก ความเจ็บป่วยและสุขภาพของโจทก์ จำเลยชอบที่จะย้ายโจทก์ ไปทำงานตามความเหมาะสมได้ หากโจทก์เห็นว่างานประชาสัมพันธ์ประจำสำนักงานใหญ่ไม่เหมาะกับโจทก์ทั้งงานใหม่ดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างลดลงจากเดิม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงานโจทก์ชอบที่จะตกลงกับจำเลยเพื่อขอเปลี่ยนงานใหม่หรือดำเนินการฟ้องเพิกถอนคำสั่งย้ายดังกล่าว ในภายหลังดังนี้การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจาก เหตุดังกล่าว คำสั่งของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเมื่อจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์แต่โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ตามคำสั่ง โจทก์มีความประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไปโดยติดต่อ กับ ป. เรื่องตำแหน่งงานใหม่ภายหลังรายงานตัวกลับเข้าทำงาน จำเลยยังไม่จัดหาตำแหน่งงานใด ๆ ให้โจทก์ต่อมาโจทก์หายป่วยได้กลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติงานต่อจำเลยแต่จำเลยไม่ได้จัดหาตำแหน่งงานหรือมอบงานใด ๆ ให้โจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้ รับค่าจ้าง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ระหว่างโจทก์ลาป่วยจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานประจำที่สำนักงานใหญ่โจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าว แต่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานที่สำนักงานใหญ่เนื่องจากรายได้ของโจทก์ลดลงจากเดิมโจทก์ติดต่อกับ ป. เกี่ยวกับตำแหน่งงานใหม่ของโจทก์ที่จะทำหลังจากที่โจทก์ได้รายงานตัวกลับเข้าทำงาน แล้ว การที่โจทก์ไม่ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลย จึงเป็นความสมัครใจของโจทก์ จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์บังคับคดี: ยังไม่มีสิทธิโต้แย้งจนกว่าจะเกิดข้อผูกมัดต่อผู้มีส่วนได้เสีย
การประเมินราคาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้น การที่จะประเมินราคาเท่าใดยังไม่มีข้อผูกมัดผู้ที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี จึงยังไม่มีกรณีที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่จะร้องขอต่อศาลได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง จำเลยจึงไม่อาจจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อคัดค้านการประเมินราคาของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกประเมินต่อบริษัท และสิทธิในการโต้แย้งการประเมิน
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 (3) กรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ผู้ต้องเสียภาษีเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินและผูกพันจำเลยที่ 1ให้ต้องชำระค่าภาษีตามการประเมิน แต่จะนำหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาใช้ยันแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ถูกประเมินด้วยหาได้ไม่ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิโต้แย้งได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้อง และหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีภาษีซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และมีนาคม 2538 ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้
จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องอย่างไร ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์เท่าใด ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะเหตุใด ทั้งไม่ได้บรรยายถึงขั้นตอนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ถูกต้องอย่างไรได้มีการแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องอย่างไร ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์เท่าใด ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะเหตุใด ทั้งไม่ได้บรรยายถึงขั้นตอนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ถูกต้องอย่างไรได้มีการแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย