พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมและการใช้ทรัพย์สินร่วมกัน การก่อสร้างโดยไม่ยินยอมกระทบสิทธิผู้อื่น
ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ" ดังนั้นเมื่อที่ดินกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยังไม่มีการแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นส่วนสัด การใช้ทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยที่ 1 จึงต้องเป็นการใช้ที่ไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ ที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารโดยเลือกบริเวณติดถนนสุขุมวิท โดยไม่ได้รับความยินยอมของเจ้าของรวมคนอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สินค้าต่างจำพวก ไม่ทำให้สับสน, สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าแม้ไม่ได้จดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ต่างใช้รูปหัวไก่เป็นส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีส่วนคล้ายกันมาก แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้า ของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันหรือต่างจำพวก สินค้ากันในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้และโจทก์กับจำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนสำหรับ สินค้าคนละประเภทกันดังกล่าวผลิตออกจำหน่ายแก่สาธารณชน โดยสุจริตมาเป็นเวลานานหลายสิบปี จนสาธารณชนทราบดีว่า สินค้าชนิดใดเป็นของโจทก์ ชนิดใดเป็นของจำเลย มิได้ทำให้ สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้า ของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียน ไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็น เจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ไม่เข้าลักษณะ ต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6(3) และ 13 วรรคหนึ่ง(2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาโดยสุจริตการที่โจทก์มิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และนายทะเบียนได้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้น มีผลทำให้โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วอันจะได้รับความคุ้มครองในฐานะดังกล่าวตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น หาได้เป็นการตัดสิทธิโจทก์ไม่ให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นต่อไปไม่และโจทก์ย่อมมีสิทธิ ที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใหม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่เสียสิทธิในการใช้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงหาใช่ข้อวินิจฉัยที่ คลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมกับมติทายาท: การจัดสรรที่ดินมรดกและการใช้สิทธิโดยชอบธรรม
เมื่อเจ้ามรดกตาย โจทก์และจำเลยจึงเป็นทายาทรับมรดกที่ดินพิพาทร่วมกับบุตรคนอื่น ๆ ของเจ้ามรดกตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งทรัพย์มรดกเป็นส่วนสัดก็ต้องถือว่าทุกคนเป็นเจ้าของรวม จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของรวมการที่จำเลยปลูกโรงเรือนและนำวัสดุก่อสร้างมาไว้บนที่ดินพิพาท ก็เพราะได้รับอนุญาตจากเจ้ามรดกเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อเจ้ามรดกได้ร่วมกับบริษัท ฮ. จัดสรรแบ่งขายที่ดินและทายาทส่วนใหญ่มีมติให้ยังคงดำเนินการดังกล่าวต่อไป โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกจึงต้องดำเนินการไปตามเสียงข้างมากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 วรรคสาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามมติของทายาทส่วนใหญ่ด้วย การที่จำเลยอ้างว่าในฐานะทายาทคนหนึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะปลูกโรงเรือนหรือนำวัสดุก่อสร้างมาไว้บนที่ดินพิพาทได้นั้น จึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคหนึ่งที่กำหนดว่าการใช้ทรัพย์สินของเจ้าของรวมคนหนึ่งต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ เมื่อทายาทคนอื่น ๆ ประสงค์จะให้มีการจัดสรรที่ดินแบ่งขายต่อไป โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็มีหน้าที่ดำเนินการไปตามมติเสียงส่วนใหญ่ของทายาทเมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยขนย้ายสิ่งที่เป็นอุปสรรคแก่การดำเนินการจัดสรรที่ดินออกไป จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะก่อสร้างโรงเรือนหรือนำวัสดุก่อสร้างมาวางบนที่ดินพิพาทต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6507/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตามข้อตกลงตัวแทนจำหน่าย สิ้นสุดเมื่อสิ้นสุดสัญญา
จำเลยที่ 1 ใช้คำว่า เคอนิก ซึ่งเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ได้เพราะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 1และจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อดังกล่าวได้ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิใช้คำว่า เคอนิก (KOENIG) เป็นชื่อของจำเลยที่ 1โดยชอบอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041-5042/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ & สิทธิใช้เครื่องหมายการค้า: คดีเลียนแบบเครื่องหมายการค้าเดิมที่ศาลยกฟ้องแล้ว การใช้เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนโดยชอบ
พนักงานอัยการโจทก์และผู้เสียหายโจทก์ร่วมเคยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์ร่วมพบสินค้าของจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกันนั้นอีกจึงดำเนินการให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอาศัยพยานหลักฐานใหม่และเพิ่มข้อหาอื่นอีกแต่ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยได้ร่วมกันกระทำการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมขึ้นใหม่ดังนี้เป็นการนำการกระทำของจำเลยที่มีคำพิพากษา เสร็จเด็ดขาดแล้วมาฟ้องใหม่นั่นเองสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราควายพระอาทิตย์ย่อมมีสิทธิใช้หรือให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่ตนจดทะเบียนได้โดยชอบ การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 นำเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ร่วมมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายมาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 4 โดยโจทก์ร่วมยินยอมจึงไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราควายพระอาทิตย์ย่อมมีสิทธิใช้หรือให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่ตนจดทะเบียนได้โดยชอบ การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 นำเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ร่วมมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายมาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 4 โดยโจทก์ร่วมยินยอมจึงไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2942/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีละเมิด แม้มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่มีสิทธิใช้และหน้าที่ดูแลรักษารถ
โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถพิพาท แต่มีสิทธิใช้และมีหน้าที่บำรุงรักษาตามที่กรมตำรวจมอบหมาย เมื่อจำเลยกระทำละเมิดเป็นเหตุให้รถเสียหายใช้การไม่ได้ ในขณะที่โจทก์ครอบครองใช้สอยอยู่ ย่อมถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นอายุความมรดกและการใช้สิทธิของเจ้าของรวม ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดไว้
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความมรดกเป็นประเด็นไว้ และจำเลยก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอายุความรดก จำเลยย่อมหมดสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความมรดก จึงเป็นการนอกประเด็น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ม.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ม.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวม - การใช้ที่ดินร่วมกัน - ไม่เป็นละเมิด - ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ที่ดินและเรือนพิพาทเป็นของโจทก์และจำเลยรวมกันคนละครึ่ง โจทก์ย่อมมีสิทธิจะใช้ที่ดินและเรือนพิพาทเป็นที่อยู่ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคแรก จำเลยไม่มีสืทธิขับไล่โจทก์ ฉะนั้น แม้โจทก์จะไม่ออกไปจากที่ดินและเรือนพิพาท เมื่อจำเลยบอกกล่าวให้ออกไป จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลย
จำเลยฟ้องแย้งว่า ที่ดินและเรือนพิพาทเป็นของจำเลย จำเลยขอให้โจทก์ออกไปเพื่อจะให้ผู้อื่นเช่า แต่โจทก์ไม่ยอมออก ทำให้จำเลยเสียหายขาดค่าเช่าที่ควรจะได้ ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีประเด็นจะวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์แบ่งดอกผลของที่ดินและเรือนพิพาทที่โจทก์ได้มาให้แก่จำเลยตามส่วนที่จำเลยมีอยู่
จำเลยฟ้องแย้งว่า ที่ดินและเรือนพิพาทเป็นของจำเลย จำเลยขอให้โจทก์ออกไปเพื่อจะให้ผู้อื่นเช่า แต่โจทก์ไม่ยอมออก ทำให้จำเลยเสียหายขาดค่าเช่าที่ควรจะได้ ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีประเด็นจะวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์แบ่งดอกผลของที่ดินและเรือนพิพาทที่โจทก์ได้มาให้แก่จำเลยตามส่วนที่จำเลยมีอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ที่สาธารณะสมบัติ - การรบกวนสิทธิ - ความเสียหายเป็นพิเศษ
ที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น ผู้ใดหามีกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองแต่การใด ไม่.
แต่เมื่อมีผู้ไปปลูกโรงเรือนอยู่ในที่สาธารณะสมบัติดังกล่าวแล้ว มีผู้อื่นไปรื้อเสียแล้วปลูกโรงของคนขึ้นแทนบ้าง เช่นนี้ ย่อมถือว่าเป็นการรบกวนสิทธิของผู้ปลูกโรงเรือนคนแรกในอันที่จะใช้ที่สาธารณะสมบัตินั้น และถือว่า ผู้ปลูกโรงเรือนคนแรกได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงย่อมมีสิทธิฟ้องให้ผู้ปลูกโรงเรือนทีหลัง รื้อโรงเรือนที่ปลูกนั้นไปให้พ้นที่นั้นได้
ประชุมใหญ่
แต่เมื่อมีผู้ไปปลูกโรงเรือนอยู่ในที่สาธารณะสมบัติดังกล่าวแล้ว มีผู้อื่นไปรื้อเสียแล้วปลูกโรงของคนขึ้นแทนบ้าง เช่นนี้ ย่อมถือว่าเป็นการรบกวนสิทธิของผู้ปลูกโรงเรือนคนแรกในอันที่จะใช้ที่สาธารณะสมบัตินั้น และถือว่า ผู้ปลูกโรงเรือนคนแรกได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงย่อมมีสิทธิฟ้องให้ผู้ปลูกโรงเรือนทีหลัง รื้อโรงเรือนที่ปลูกนั้นไปให้พ้นที่นั้นได้
ประชุมใหญ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11605/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากละเมิด แม้ไม่ใช่เจ้าของรถ แต่มีสิทธิใช้และครอบครองรถคันดังกล่าว
พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มอบบัตรจอดรถซึ่งด้านหน้าระบุว่าต้องเสียค่าจอดรถชั่วโมงละ 10 บาท และหากทำบัตรจอดรถหายจะต้องถูกปรับ 200 บาท โดยต้องนำหลักฐานการเป็นเจ้าของรถมาแสดงให้แก่โจทก์และยินยอมให้โจทก์นำรถเข้าไปจอดในลานจอดรถของห้างฯ จำเลยที่ 2 เมื่อคนร้ายลักรถยนต์โดยขับรถฝ่าพนักงานรักษาความปลอดภัยออกไปด้วยความเร็วและไม่คืนบัตรจอดรถให้แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยไม่ดำเนินการใดๆ เพื่อแจ้งเหตุหรือสกัดจับ กลับรอกระทั่งโจทก์กลับมาจึงแจ้งให้ทราบ การกระทำของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นละเมิด และจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าทรัพย์สินที่อยู่ภายในรถยนต์ดังกล่าวด้วย เนื่องจากเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อ
แม้โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์เก๋งที่ถูกคนร้ายลักไปโดยครอบครองรถยนต์เก๋งในฐานะเป็นเพียงหลักประกันการกู้ยืมเงิน แต่โจทก์ก็มีสิทธิใช้และมีหน้าที่บำรุงรักษารถยนต์เก๋งเพื่อส่งมอบคืนให้แก่เจ้าของ เมื่อจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์เก๋งถูกคนร้ายโจรกรรมไปในระหว่างที่โจทก์ครอบครองใช้สอยอยู่โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์เก๋งคันดังกล่าว ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์เก๋งที่ถูกคนร้ายลักไปโดยครอบครองรถยนต์เก๋งในฐานะเป็นเพียงหลักประกันการกู้ยืมเงิน แต่โจทก์ก็มีสิทธิใช้และมีหน้าที่บำรุงรักษารถยนต์เก๋งเพื่อส่งมอบคืนให้แก่เจ้าของ เมื่อจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์เก๋งถูกคนร้ายโจรกรรมไปในระหว่างที่โจทก์ครอบครองใช้สอยอยู่โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์เก๋งคันดังกล่าว ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง