พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินที่เป็นมรดกส่วนตัว แม้เป็นส่วนหนึ่งของสินสมรส สิทธิในทรัพย์สินนั้นยังคงเป็นของทายาท
โจทก์ขอให้บังคับคดีและนำยึดบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของผู้ร้องออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าบ้านเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องแต่ผู้เดียว มิใช่สินสมรสของจำเลยกับผู้ร้อง แม้ตามคำร้องขอจะมิได้อ้างว่าเป็นบ้านที่ผู้ร้องได้มาโดยการรับมรดกร่วมกับพี่น้องตามที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างมาในฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นการอ้างถึงที่มาเพื่อแสดงให้เห็นว่าบ้านดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธินำยึดนั่นเอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในฎีกาได้ เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในประเด็นตามคำร้อง มิใช่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
บ้านที่โจทก์นำยึดออกขายทอดตลาดซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของผู้ร้องเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาโดยการรับมรดกร่วมกับทายาทอื่นของ ล. สิทธิของผู้ร้องในบ้านจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) มิใช่สินสมรสที่โจทก์จะมีสิทธินำยึดได้ และผู้ร้องในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมใช้สิทธิครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ตามมาตรา 1359 จึงมีอำนาจร้องขัดทรัพย์
บ้านที่โจทก์นำยึดออกขายทอดตลาดซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของผู้ร้องเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาโดยการรับมรดกร่วมกับทายาทอื่นของ ล. สิทธิของผู้ร้องในบ้านจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) มิใช่สินสมรสที่โจทก์จะมีสิทธินำยึดได้ และผู้ร้องในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมใช้สิทธิครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ตามมาตรา 1359 จึงมีอำนาจร้องขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน: แม้ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ แต่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายก็เป็นละเมิดได้
ในคดีก่อนแม้จะยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองโดยชอบหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อันอาจถูกเพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ ก็ตาม แต่การที่จำเลยใช้ให้คนนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถดันที่ดินพิพาทแล้วจุดไฟเผาต้นไม้ต่าง ๆ ที่โจทก์ปลูกไว้จนได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากแม้จะอ้างว่ากระทำไปโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาว่าจ้างก็ตาม พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและทรัพย์สินของโจทก์บนที่ดินพิพาทโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามกฎหมายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์ เมื่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7982/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่จำเลยต้องมีสิทธิในบ้านพิพาท การเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ตายไม่ทำให้ได้สิทธิในทรัพย์สิน
คดีสืบเนื่องมาจาก ก. เป็นโจทก์ฟ้อง บ. ให้ออกจากบ้านพิพาท ในระหว่างพิจารณา บ. ถึงแก่กรรม ศาลอนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองบ้านพิพาทเข้าเป็นคู่ความแทน บ. แม้ต่อมาศาลฎีกาจะยกฟ้องคดีดังกล่าวและผลแห่งคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ แต่ไม่ได้ทำให้โจทก์ได้สิทธิในบ้านพิพาทแทน บ. โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะคือ บ. มีหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแทน บ. ในระหว่างพิจารณาเท่านั้น โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว เมื่อโจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิในบ้านพิพาทนอกเหนือจากการที่โจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนที่ บ. อย่างไร โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์นำสืบว่า ก่อน บ. ถึงแก่กรรม บ. ได้ยกบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ด้วยวาจา โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเรื่องนี้ไว้ แม้ศาลชั้นต้นจะให้โจทก์นำสืบประเด็นดังกล่าวและศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นนี้ไว้ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นเรื่องนำสืบนอกฟ้องและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
โจทก์นำสืบว่า ก่อน บ. ถึงแก่กรรม บ. ได้ยกบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ด้วยวาจา โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเรื่องนี้ไว้ แม้ศาลชั้นต้นจะให้โจทก์นำสืบประเด็นดังกล่าวและศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นนี้ไว้ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นเรื่องนำสืบนอกฟ้องและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7038/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระราคาซื้อขายทอดตลาดเกินกำหนด: สิทธิในทรัพย์สินและการได้รับเงินค่าทดแทน
คดีนี้แม้ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจะชำระราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือเกินเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้ในหมาย แต่เมื่อพิจารณาจากคำสั่งกรมบังคับคดีประกอบกับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ซื้อทรัพย์กับเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว เห็นได้ว่ามิได้มีการบังคับตายตัวว่าถ้าหากผู้ซื้อทรัพย์ไม่ชำระราคาภายในกำหนดเวลาแล้วให้ถือว่าสัญญาซื้อขายที่ดินต้องเลิกกันทันทีหรือผู้ซื้อทรัพย์หมดสิทธิซื้อที่ดินพิพาทและจะต้องริบเงินมัดจำเสมอไป หากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจของอธิบดีกรมบังคับคดี เมื่อรองอธิบดีกรมบังคับคดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดีในขณะนั้นมีคำสั่งเห็นชอบกับบันทึกของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เห็นควรให้รับเงินส่วนที่เหลือจากผู้ซื้อทรัพย์ และผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว จึงเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ได้ทำการชำระราคาทรัพย์ครบถ้วนชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 515 แล้ว ย่อมได้สิทธิในที่ดินพิพาทแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 เมื่อที่ดินแปลงที่ซื้อถูกเวนคืนทั้งหมด และกรมทางหลวงได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดีแล้ว ผู้ซื้อทรัพย์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทและการตั้งผู้จัดการมรดก: กรณีไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก
เมื่อที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใชทรัพย์สินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย แม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่กรรมเจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธไม่ยอมแก้ไขชื่อในโฉนดที่ดินจากผู้ตายมาเป็นของผู้ร้องก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกล่าวแต่เพียงว่า ที่ดินตามคำร้องขอเป็นของผู้ตายและเป็นมรดกตกได้แก่ผู้คัดค้าน และผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทของผู้ตาย ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินมรดกเท่านั้นแต่ผู้คัดค้านไม่ได้กล่าวอ้างว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเช่นกัน ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าวก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาทกรณีไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดกกรณีของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(1)(2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 55ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8293/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์สินโดยคำสั่งนายกฯ และการวินิจฉัยสิทธิในทรัพย์สินโดยคณะกรรมการ: ความชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.40/2516 และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 ต่างออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใด ๆโดยมติของคณะรัฐมนตรีได้และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นรวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายด้วยนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งที่ สลร.40/2516 ให้อายัดทรัพย์ของจอมพล ถ.และภริยากับพวกรวม 6 คน รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 2361 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาท มีชื่อโจทก์และท่านผู้หญิงจ.ภริยาจอมพล ถ.ร่วมกันในโฉนดที่ดิน คณะกรรมการซึ่งดำเนินการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ได้อายัดที่ดินพิพาทไว้ ต่อมามีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่สลร.39/2517 ให้ทรัพย์สินของจอมพล ถ.และภริยา กับพวกรวม 6 คน ซึ่งอายัดไว้ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ตกเป็นของรัฐ ให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบรรดาที่ตกเป็นของรัฐ และให้ดำเนินการตามควรทุกประการในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ การที่ปรากฏชื่อของโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยเท่านั้น เมื่อโจทก์ใช้สิทธิตามคำสั่งที่ สลร.39/2517ข้อ 5 แล้ว และต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยตามข้อ 6 ว่า โจทก์มิได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีหลวง จ. เมื่อพันตรีหลวง จ.ได้ทำพินัยกรรมยกให้ท่านผู้หญิง จ.แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว ดังนี้เท่ากับคณะกรรมการวินิจฉัยแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของท่านผู้หญิง จ. และในชั้นพิจารณาของศาลเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อวินิจฉัยดังกล่าวของคณะกรรมการได้ ที่ดิน-พิพาทก็ย่อมตกเป็นของรัฐตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ระบุไว้ชัดว่าต้องการให้การสอบสวนเรื่องทรัพย์สินที่อายัดไว้แล้วนั้นเสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังนั้นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจึงมีหน้าที่ทำการสอบสวนให้เสร็จไปโดยเร็ว การที่คณะกรรมการไม่แจ้งให้โจทก์นำพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดเข้าสืบประกอบเอกสารซึ่งคณะกรรมการรับพิจารณาอยู่แล้วก็ดี หรือนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาเป็นข้อวินิจฉัยก็ดี ย่อมอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการตามที่เห็นสมควร อันจักพึงชี้ให้เห็นได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ซึ่งได้มาโดยสุจริตและโดยชอบหรือไม่ หาใช่จำกัดไว้เฉพาะข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการพิจารณาโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 การพิจารณาของคณะกรรมการดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ระบุไว้ชัดว่าต้องการให้การสอบสวนเรื่องทรัพย์สินที่อายัดไว้แล้วนั้นเสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังนั้นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจึงมีหน้าที่ทำการสอบสวนให้เสร็จไปโดยเร็ว การที่คณะกรรมการไม่แจ้งให้โจทก์นำพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดเข้าสืบประกอบเอกสารซึ่งคณะกรรมการรับพิจารณาอยู่แล้วก็ดี หรือนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาเป็นข้อวินิจฉัยก็ดี ย่อมอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการตามที่เห็นสมควร อันจักพึงชี้ให้เห็นได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ซึ่งได้มาโดยสุจริตและโดยชอบหรือไม่ หาใช่จำกัดไว้เฉพาะข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการพิจารณาโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 การพิจารณาของคณะกรรมการดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9509/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกในการเรียกคืนเอกสารสิทธิที่ดินจากผู้ครอบครอง แม้มีการอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์
โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล โจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 การที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งที่ดินมรดกของผู้ตาย จำเลยทั้งสองก็ไม่อาจกระทำการขัดขวางสิทธิหน้าที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกในอันที่จะเรียก น.ส.3 สำหรับที่ดินมรดกของผู้ตาย เพื่อจัดการมรดกหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตามอำนาจกฎหมายได้ ทั้งกรณีไม่อยู่ในอายุความมรดกจำเลยทั้งสองจึงไม่มีอำนาจยึดเอกสาร น.ส.3 สำหรับที่ดินมรดกไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินจากการสมรสและมรดก: การแบ่งกรรมสิทธิ์ในสินสมรสและผลกระทบต่อการรับมรดก
คดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ว่า จำเลยเป็นบุตรคนเดียวของ ห.มีสิทธิรับมรดกคือทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว ประเด็นจึงมีว่า จำเลยเป็นบุตรของ ห.แต่เพียงคนเดียวและมีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่ ห. และมารดาโจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นสินสมรสประเด็นจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อน จึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ห.และมารดาโจทก์ เมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรม ทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งของมารดาโจทก์ย่อมตกเป็นมรดกแก่โจทก์และ ห.คนละส่วน ต่อมา ห.ได้ยกทรัพย์มรดกส่วนที่ตกได้แก่ ห.ให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงถือว่าจำเลยรับตามข้อกล่าวอ้าง โจทก์จึงมีสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ห.และมารดาโจทก์ เมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรม ทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งของมารดาโจทก์ย่อมตกเป็นมรดกแก่โจทก์และ ห.คนละส่วน ต่อมา ห.ได้ยกทรัพย์มรดกส่วนที่ตกได้แก่ ห.ให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงถือว่าจำเลยรับตามข้อกล่าวอ้าง โจทก์จึงมีสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและสิทธิในทรัพย์มรดก: การแบ่งทรัพย์สินระหว่างบุตรและผู้รับยกมรดก
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่าจำเลยเป็นบุตรคนเดียวของห.มีสิทธิรับมรดกคือทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียวประเด็นจึงมีว่าจำเลยเป็นบุตรของห.แต่เพียงคนเดียวและมีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่ห.และมารดาโจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นสินสมรสประเด็นจึงมีว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อนจึงเป็นคนละประเด็นกันไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างห. และมารดาโจทก์เมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรมทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งของมารดาโจทก์ย่อมตกเป็นมรดกแก่โจทก์และห. คนละส่วนต่อมาห. ได้ยกทรัพย์มรดกส่วนที่ตกได้แก่ห. ให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธจึงถือว่าจำเลยรับตามข้อกล่าวอ้างโจทก์จึงมีสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6459/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต และผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 19629,19630,19631 แขวงลาดยาว(บางซื่อฝั่งเหนือ) เขตบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานครพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยประมูลซื้อจากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วจำเลยทั้งสองและบริวารอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่ยอมออก โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างและใช้ค่าเสียหาย ดังนี้โจทก์บรรยายฟ้องแจ้งชัดถึงการได้มาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ความเสียหายที่ไม่อาจหาประโยชน์เดือนละ 30,000 บาท และได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองออกจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างแล้วเป็นฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง คำว่า โดยสุจริตในมาตรา 1330 หมายความว่าผู้ซื้อไม่รู้ว่ามิใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ในการวินิจฉัยว่าผู้ซื้อสุจริตหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งก่อนและในขณะซื้อประกอบกันว่าผู้ซื้อรู้หรือไม่ว่าทรัพย์ที่ตนซื้อจากการขายทอดตลาด มิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ไปประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเบิกความรับว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ก่อนโจทก์ซื้อที่พิพาท และก่อนไปประมูลซื้อที่ดินได้ไปตรวจดูที่ดินซึ่งรวมทั้งที่พิพาทก่อน พบว่าที่ดินบางแปลงเป็นที่ว่างเปล่าบางแปลงมีสิ่งปลูกสร้างแต่สิ่งปลูกสร้างไม่มีผู้อยู่อาศัย มีสภาพเป็นบ้านร้าง หลังจากโจทก์ซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลงจากการขายทอดตลาดแล้วจึงได้มีคนเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านพิพาท ในขณะที่โจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโจทก์ได้ตรวจสอบทราบแล้วว่า ที่ดินและบ้านพิพาทมีจำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยอยู่ บ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านพิพาทปิดอยู่ที่หน้าประตูบ้านอย่างชัดแจ้ง โจทก์ย่อมทราบว่าที่ดินและบ้านพิพาทมิใช่เป็นของลูกหนี้ในคดีที่มีการขายทอดตลาดกัน โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้ซื้อโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330โจทก์จะเอาที่และบ้านพิพาทโดยอาศัยกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองให้ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท ที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่พิพาททั้ง 3 แปลง ด้วยนั้นเมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นพิพาทสำหรับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้คงมีเพียงว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่เท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด คดีนี้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทรวม 3 ประการ คือโจทก์ซื้อที่พิพาทโฉนดเลขที่ 1962919630 และ 19631 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใด โดยมิได้กำหนดประเด็นในเรื่องการครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแต่อย่างใดจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้