คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิในเครื่องหมายการค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7508/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนเมื่อสินค้ามีลักษณะเดียวกันและอาจทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการอ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67ในการวินิจฉัยปัญหาที่ว่า โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามมาตรา 67 ได้เพียงใดหรือไม่ ย่อมจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยหรือไม่ ซึ่งนอกจากจะต้องพิจารณาถึงความเหมือนหรือคล้ายของเครื่องหมายการค้าและสิทธิของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาก่อนที่จำเลยขอจดทะเบียนแล้ว ยังต้องพิจารณาด้วยว่าสินค้าของโจทก์กับสินค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้เป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ซึ่งหากใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันแล้วจะทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในแหล่งกำเนิดหรือความเป็นเจ้าของสินค้าหรือไม่ด้วย
สินค้าเยลลี่ดูดและดับกลิ่นของโจทก์ กับสินค้าวัสดุใช้ปรับอากาศให้สดชื่นของจำเลยที่ขอจดทะเบียนไว้เป็นสินค้าอยู่ในจำพวกที่ 5 ด้วยกัน แม้อาจจะใช้สารหรือวัสดุที่ทำให้เกิดผลในการปรับกลิ่นในอากาศต่างชนิดกัน แต่ลักษณะหรือวัตถุประสงค์ในการใช้สินค้าดังกล่าวก็เพื่อกลบหรือขจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์เหมือนกันจึงถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน หรือเป็นชนิดเดียวกัน เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า คำว่า LILY กับสินค้าของโจทก์มาก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า LILY กับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ อันอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้เช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า LILY ดีกว่าจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อที่คล้ายคลึงกันในสินค้าต่างประเภท และขอบเขตการคุ้มครองเครื่องหมายที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
อักษรโรมันคำว่า "WELLCOME" เป็นคำที่ไม่มีคำแปลหรือมีความหมายว่าอย่างไร และโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคำว่า "WELLCOME"เป็นนามสกุลของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์ในอดีตและบริษัทโจทก์ตั้งขึ้นเมื่อปี 2423นอกจากโจทก์จะใช้คำว่า "WELLCOME" เป็นเครื่องหมายการค้าแล้ว โจทก์ยังใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์ด้วย โจทก์เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยใช้เครื่องหมายคำว่า "WELLCOME" มาตั้งแต่ก่อนปี 2444 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME" ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2450 และที่ประเทศไทยเมื่อปี 2490 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่าWELLCOME ไปจำหน่ายในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ในขณะที่จำเลยอ้างว่า ว.ผู้ก่อตั้งห้างเวลล์คัม ซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นผู้คิดชื่อ WELLCOME โดยครั้งแรกตั้งชื่อคำว่า "WELCOME" แต่เจ้าหน้าที่ไม่รับจดทะเบียนเพราะเป็นคำสามัญทั่วไป แปลว่า ต้อนรับ จึงต้องเพิ่มอักษร L เข้าไปอีก 1 ตัว แต่จำเลยเพิ่งเริ่มดำเนินกิจการ WELLCOME SUPERMARKET เมื่อปี 2488 อันเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" หลายสิบปีด้วยแล้ว ย่อมไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่า ว.จะได้คิดค้นคำดังกล่าวขึ้นมาเองและเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยบังเอิญเช่นนั้น แต่น่าเชื่อว่าเป็นการนำเอาคำว่า "WELLCOME"มาจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แล้วนำคำว่า SUPERMARKET มาประกอบเพื่อให้มีลักษณะแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้ว่าจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยมีคำว่า "SUPERMARKET" ประกอบกับคำว่า"WELLCOME" และจำเลยขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 50 ได้แก่ สินค้าเบ็ดเตล็ด อันเป็นสินค้าต่างจำพวกและไม่มีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องหรือสัมพันธ์กันกับสินค้าจำพวกที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 48 ซึ่งเป็นสินค้ายารักษาโรคมนุษย์ เคมีภัณฑ์และเครื่องสำอางของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "WELLCOME"ก็ตาม แต่ก็ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าโจทก์ได้โฆษณาสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" หลายชนิดและแจกสินค้าตัวอย่าง เช่นกระเป๋า ถุงพลาสติก สุมดบันทึก และกระเป๋าสตางค์อันเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดในจำพวกที่ 50 ตามวิสัญญีสารและแผ่นปลิวโฆษณาอันถือได้ว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกที่ 50 แล้ว การใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" SUPERMARKET" ของจำเลยกับสินค้าจำพวกที่ 50จึงอาจทำให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนเมื่อเห็นแต่คำว่า"WELLCOME" ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME SUPERMARKET" ของจำเลยมีลักษณะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" ของโจทก์ เมื่อคำว่า "WELLCOME"เป็นนามสกุลของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์ โจทก์เป็นเจ้าของและได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยหลายสิบปี โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายคำว่า "WELLCOME" และคำว่า "WELLCOME SUPERMARKET"ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 206656 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 50 ของจำเลยดีกว่าจำเลย และเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ตามมาตรา 41(1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาห้ามจำเลยใช้หรือยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือเข้าเกี่ยวข้องใด ๆกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" สำหรับสินค้าทุกจำพวก รวมทั้งเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้นั้นชอบแล้ว เพราะโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 50จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าจำพวกดังกล่าวได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ทั้งนี้ตามนัยมาตรา 27 และ 29 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นและการใช้สิทธิก่อน
จำเลยใช้คำว่า byblos และ Bblos เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยวิธีเลียนแบบมาจากเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์แล้วนำไปยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน เมื่อโจทก์ใช้ชื่อของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แม้โจทก์ยังไม่ได้ส่งสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาจำหน่ายในประเทศไทยหรือมีตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทยก็ตาม และเมื่อโจทก์ได้มายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในสินค้าจำพวกที่ 38 สำหรับสินค้าเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องแต่งกาย แต่ถูกนายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนโดยอ้างว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมาย-การค้าที่จำเลยนำมายื่นขอจดทะเบียนไว้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลเพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยได้ ตามมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน และการพิสูจน์การลวงขายเพื่อเรียกค่าเสียหาย
จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีข้อใดไว้แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดข้อนั้นเป็นประเด็นข้อพิพาทก็หาก่อให้เกิดมีประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาไม่ต้องถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าAdmiralและรูปประดิษฐ์สำหรับสินค้าจำพวกที่38โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกดังกล่าวโจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่าจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่โจทก์หาได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าไม่โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา29วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้ทั้งไม่อาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา29วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า มาตรา 41
ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ (1) ว่า โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้หรือไม่ และในข้อ (4) ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรไทยคำว่า "เบต้าเดอร์มครีม"และอักษรโรมันคำว่า BETADERMCREAM หรือไม่ เมื่อพิจารณาประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวประกอบกับคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วย่อมแปลได้ว่าโจทก์มุ่งประสงค์จะอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย อันเป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41 มิใช่มาตรา 29 ศาลจึงวินิจฉัยได้ว่า โจทก์หรือจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้า, ความเหมือน/คล้ายคลึง, อายุความ, และการใช้ก่อน
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "Hans Grohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "Han Groh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าเดิมย่อมเหนือกว่าการจดทะเบียนภายหลัง แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน และได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "HansGrohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "HanGroh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า แม้จำเลยจดทะเบียนก่อน และเครื่องหมายคล้ายกันจนสับสน
โจทก์เป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้าขึ้นใช้กับสินค้าของตน ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศไว้หลายประเทศ ทั้งได้โฆษณาและขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนจำเลยประมาณ 20 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างความสุจริตและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยก่อนโจทก์เพื่อแสดงว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41(1)
เครื่องหมายการค้า DYNAMO กับ DYNAMIC นั้น เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันสำเนียงสองคำหน้าเหมือนกันและตัวอักษรโรมัน 5 ตัวหน้าเหมือนกัน อักษรตัวสุดท้ายก็คล้ายคลึงกัน ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเกือบเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอันอาจทำให้สาธารณะชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้. โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยมิให้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DYNAMIC ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนย่อมมีสิทธิมากกว่า แม้ไม่ได้จดทะเบียน แต่ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้
โจทก์ผลิตเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้เครื่องหมายการค้าว่า "VETO"(วีโต้)ส่งออกจำหน่ายทั่วโลก และส่งมาจำหน่ายในประเทศไทยอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ.2502 เมื่อ พ.ศ.2507 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "VETO"สำหรับจำพวกสินค้า 50 ทั้งจำพวกกองทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้แล้ว แต่เมื่อ 2-3 ปี มานี้ จำเลยเคยสั่งซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าวีโต้ของโจทก์ไปจำหน่าย หาได้เคยผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เครื่องหมายวีโต้ขึ้นจำหน่ายไม่ ที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้นั้นก็เพื่อจะใช้กับสินค้าเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเลยจะผลิตขึ้นในโอกาสต่อไป โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "VETO" ดีกว่าจำเลย จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายการค้าคำว่า"VETO" ซึ่งจำเลยจดทะเบียนไว้แล้วและห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามาตรา 41(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 355/2504) แต่โจทก์มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ล่วงละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5452/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายหลัง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "JEPO" ซึ่งเคยส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศไทยอันเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลย ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 และการที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเป็นการใช้สิทธิตามปกติ มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อนึ่ง บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยไปดำเนินการเพิกถอนคำขอจดทะเบียนหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใด ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาบังคับให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JEPO" ตามคำขอเลขที่ 575049 ทะเบียนเลขที่ ค 267771 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
of 2