พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: เหตุสุดวิสัย-การไต่สวน-สิทธิในการให้การ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้อ้างถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุและความจำเป็นที่มิได้ยื่นคำให้การและมาศาลในวันนัดพิจารณาว่า เนื่องจากไม่ทราบว่าถูกฟ้องและไม่ทราบวันนัดเนื่องจากจำเลยไปรักษาพยาบาลมารดาอยู่ต่างจังหวัด ในระหว่างวันที่ถูกฟ้องถึงวันที่ศาลชี้ขาดตัดสินคดีและมีการส่งคำบังคับ เพิ่งมาทราบเรื่องที่ถูกฟ้องและบังคับคดีหลังจากจำเลยออกโรงพยาบาลและกลับมาพักฟื้นอยู่ที่บ้าน ดังนี้ ถ้าข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างแล้วจำเลยก็ย่อมไม่สามารถมาแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 ได้กรณีเช่นนี้ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208มาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีโดย อนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลแรงงานกลางต้องไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยและมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5724/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด - การพิจารณาเจตนาการขาดนัดและผลกระทบต่อสิทธิในการให้การ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 บัญญัติให้สิทธิจำเลยที่ขาดนัดพิจารณาสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ได้ หากการขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยไม่จงใจ และศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และแม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจก็ตาม ในการไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ศาลจึงต้องวินิจฉัยด้วยว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่ เพื่อสิทธิตามกฎหมายของจำเลย
การที่จำเลยไปศาลแต่ไม่ยอมเข้าไปในห้องพิจารณาเองโดยไม่มีใครห้าม ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
การที่จำเลยไปศาลแต่ไม่ยอมเข้าไปในห้องพิจารณาเองโดยไม่มีใครห้าม ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่