พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การใช้ชื่อสินค้าที่คล้ายคลึงกัน และการลวงขายสินค้าทำให้เกิดการละเมิด
กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องนำผู้แปลมาสืบเมื่อจำเลยเห็นว่าคำแปลตรงไหนไม่ถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนอย่างไรจำเลยก็โต้แย้งหรือเสนอคำแปลที่ถูกต้องได้ แต่จำเลยก็ไม่ได้กระทำการดังกล่าว จึงถือได้ว่าคำแปลเอกสารภาษาต่างประเทศของโจทก์ถูกต้องแล้ว
สินค้าของโจทก์จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาราว 15 ปีแล้ว แต่โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย ชื่อสินค้าโจทก์ที่เรียกว่า "CALUMET" นั้นไม่มีคำแปล การที่จำเลยเรียกชื่อสินค้าของจำเลยว่า "CALUMAK" ซึ่งแตกต่างกับชื่อสินค้าของโจทก์เพียงอักษรท้ายสองตัว เมื่อออกสำเนียงชื่อก็คล้ายคลึงกันสีพื้นของเครื่องหมายการค้าเป็นสีแดงและมีรูปคนประกอบเหมือนกัน ทั้งสินค้าของโจทก์จำเลยก็เป็นสินค้าจำพวก 42 เช่นเดียวกัน ส่อให้เห็นเจตนาของจำเลยที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว แต่เมื่อจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า มาตรา 29 วรรคสอง
สินค้าของโจทก์จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาราว 15 ปีแล้ว แต่โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย ชื่อสินค้าโจทก์ที่เรียกว่า "CALUMET" นั้นไม่มีคำแปล การที่จำเลยเรียกชื่อสินค้าของจำเลยว่า "CALUMAK" ซึ่งแตกต่างกับชื่อสินค้าของโจทก์เพียงอักษรท้ายสองตัว เมื่อออกสำเนียงชื่อก็คล้ายคลึงกันสีพื้นของเครื่องหมายการค้าเป็นสีแดงและมีรูปคนประกอบเหมือนกัน ทั้งสินค้าของโจทก์จำเลยก็เป็นสินค้าจำพวก 42 เช่นเดียวกัน ส่อให้เห็นเจตนาของจำเลยที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว แต่เมื่อจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า มาตรา 29 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ส่วนได้เสียในการขอเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: พิจารณาความคล้ายคลึงของสินค้าและโอกาสสับสน
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แสดงให้เห็นว่า บุคคลที่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะขอให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการได้มี 4 จำพวก คือ 1) นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2) เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการนั้น 3) ผู้มีส่วนได้เสีย และ 4) บุคคลใด โดยกฎหมายกำหนดตัวบุคคลที่จะมีสิทธิขอเพิกถอนการจดทะเบียนไว้แตกต่างกันไปตามสาเหตุต่างกัน คดีนี้มีปัญหาเรื่องการเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 61 หมายความว่า ผู้นั้นต้องมีจุดเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกับเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่มาร้องขอให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเพิกถอนการจดทะเบียน
เครื่องหมายบริการตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.7 ของจำเลยร่วมใช้กับบริการในจำพวก 35 ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีและจะใช้ หรือใช้ และขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการที่คล้ายกับของจำเลยร่วม ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสีย
เครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.2 ถึง จ.6 จ.8 และ จ.9 ของจำเลยร่วม ปรากฏว่าโจทก์มีและจะใช้ หรือใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วม ทั้งใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันด้วย ถือว่าโจทก์มีส่วนได้เสีย
เครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.6 และ จ.9 ของจำเลยร่วมซึ่งใช้กับสินค้าในจำพวก 16 และ 9 ปรากฏว่าโจทก์มิได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจำพวกดังกล่าว ทั้งสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนไว้แล้วก็มิได้มีลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของจำเลยร่วม และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีและจะใช้ หรือใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าในจำพวกดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสีย
เครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.2 ของจำเลยร่วมที่ใช้กับสินค้าในจำพวก 23 แม้โจทก์ไม่ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจำพวกดังกล่าวไว้ แต่รายการที่โจทก์ขอจดทะเบียนไว้กับสินค้าในจำพวก 24 เป็นสินค้า ผ้าคลุมเตียง ผ้านวม ผ้าปูที่นอน ผ้ารองผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปาก ผ้าแขวนผนัง กระเป๋าผ้า และปลอกหมอน เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าในจำพวก 23 ของจำเลยร่วมเป็นสินค้า ด้ายดิบและเส้นด้ายใช้ทำสิ่งทอแล้ว รายการดังกล่าว แม้จะต่างจำพวกกันแต่ก็มีลักษณะอย่างเดียวกันอันอาจนำไปสู่การทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ ถือว่าโจทก์มีส่วนได้เสีย
เครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.4 ของจำเลยร่วมที่ใช้กับสินค้าในจำพวก 8 แม้โจทก์ไม่ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจำพวกดังกล่าวไว้ แต่รายการที่โจทก์ขอจดทะเบียนไว้กับสินค้าในจำพวก 21 เป็นรายการสินค้า แก้วน้ำ ช้อน ส้อม มีด ชุดเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร (ยกเว้นมีด ส้อม และช้อน) ที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า และหม้ออาหารที่เป็นชุด เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าในจำพวก 8 ของจำเลยร่วมเป็นสินค้า ส้อมที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า ช้อนที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า มีดที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า อาวุธประจำกาย มีดโกนแล้ว รายการดังกล่าว แม้จะต่างจำพวกกันแต่ก็มีลักษณะอย่างเดียวกันอันอาจนำไปสู่การทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ ถือว่าโจทก์มีส่วนได้เสีย
เครื่องหมายบริการตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.7 ของจำเลยร่วมใช้กับบริการในจำพวก 35 ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีและจะใช้ หรือใช้ และขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการที่คล้ายกับของจำเลยร่วม ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสีย
เครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.2 ถึง จ.6 จ.8 และ จ.9 ของจำเลยร่วม ปรากฏว่าโจทก์มีและจะใช้ หรือใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วม ทั้งใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันด้วย ถือว่าโจทก์มีส่วนได้เสีย
เครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.6 และ จ.9 ของจำเลยร่วมซึ่งใช้กับสินค้าในจำพวก 16 และ 9 ปรากฏว่าโจทก์มิได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจำพวกดังกล่าว ทั้งสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนไว้แล้วก็มิได้มีลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของจำเลยร่วม และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีและจะใช้ หรือใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าในจำพวกดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสีย
เครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.2 ของจำเลยร่วมที่ใช้กับสินค้าในจำพวก 23 แม้โจทก์ไม่ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจำพวกดังกล่าวไว้ แต่รายการที่โจทก์ขอจดทะเบียนไว้กับสินค้าในจำพวก 24 เป็นสินค้า ผ้าคลุมเตียง ผ้านวม ผ้าปูที่นอน ผ้ารองผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปาก ผ้าแขวนผนัง กระเป๋าผ้า และปลอกหมอน เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าในจำพวก 23 ของจำเลยร่วมเป็นสินค้า ด้ายดิบและเส้นด้ายใช้ทำสิ่งทอแล้ว รายการดังกล่าว แม้จะต่างจำพวกกันแต่ก็มีลักษณะอย่างเดียวกันอันอาจนำไปสู่การทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ ถือว่าโจทก์มีส่วนได้เสีย
เครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.4 ของจำเลยร่วมที่ใช้กับสินค้าในจำพวก 8 แม้โจทก์ไม่ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจำพวกดังกล่าวไว้ แต่รายการที่โจทก์ขอจดทะเบียนไว้กับสินค้าในจำพวก 21 เป็นรายการสินค้า แก้วน้ำ ช้อน ส้อม มีด ชุดเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร (ยกเว้นมีด ส้อม และช้อน) ที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า และหม้ออาหารที่เป็นชุด เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าในจำพวก 8 ของจำเลยร่วมเป็นสินค้า ส้อมที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า ช้อนที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า มีดที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า อาวุธประจำกาย มีดโกนแล้ว รายการดังกล่าว แม้จะต่างจำพวกกันแต่ก็มีลักษณะอย่างเดียวกันอันอาจนำไปสู่การทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ ถือว่าโจทก์มีส่วนได้เสีย