คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้าถูกกัก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าถูกกักและทำลาย
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางทะเล ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามประการแรกมีว่า ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้เรียงกันไปทุกข้อหรือไม่
++ เห็นว่า การวินิจฉัยชี้ขาดคดีนั้นศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยตามที่เห็นว่าสมควรตามความจำเป็นแห่งคดี
++ เมื่อปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้และศาลได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ ฉะนั้นถ้าหากได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้เป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลยแล้วจะไม่ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญแห่งคดีในข้ออื่นเพราะแม้จะพิจารณาไปก็ไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้ ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยเช่นนั้นได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่กำหนดไว้ให้หมดทุกข้อ
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามประการต่อไปมีว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
++ เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติการรับขนทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการเสียหายแห่งของที่รับขนในกรณีที่ไม่มีการส่งมอบของเลยให้นับอายุความ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดส่งมอบของนั้นหรือล่วงเลยกำหนดเวลาอันสมควรส่งมอบ
++ ข้อเท็จจริงได้ความจากพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยสอดคล้องกันว่า มีการส่งสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งที่ท่าเรือซานโฮเซเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2538 ปรากฏตามเอกสารหมาย จ.18 การขนส่งจากท่าเรือซานโฮเซไปยังท่าเรือลอสแองเจลิสใช้เวลาประมาณ 4 วัน และจากท่าเรือลอสแองเจลิสใช้เวลาเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานครประมาณ 1 เดือน และได้ความจากนางพรรณี ตั้งเรือนวงศ์ กรรมการผู้จัดการของโจทก์ที่ 1 ว่าได้ตรวจสอบเอกสารทราบว่าเรือจะเดินทางมาถึงประเทศไทยประมาณต้นเดือนตุลาคม 2538 จึงไปติดต่อขอรับสินค้าพิพาทจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ปรากฏว่าเรือมาเทียบท่าแล้ว แต่ไม่มีตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าพิพาทมาด้วย ซึ่งตรงกับข้อเท็จจริงที่ได้ความจากโจทก์ที่ 2ว่าได้รับแจ้งจากตัวแทนจำเลยในประเทศไทยว่าสินค้าจะมาถึงท่าเรือกรุงเทพประมาณกลางเดือนตุลาคม 2538 แสดงว่าในการขนส่งสินค้าพิพาท สินค้าพิพาทควรจะต้องมาถึงประเทศไทยและส่งมอบประมาณเดือนตุลาคม 2538 ฉะนั้น อายุความจะต้องเริ่มนับแต่ช่วงเวลานั้นเมื่อนับแต่ช่วงเวลาดังกล่าวถึงวันฟ้องคือวันที่ 12 พฤษภาคม 2540เป็นเวลาเกิน 1 ปี แล้ว คดีของโจทก์ทั้งสามจึงขาดอายุความฟ้องร้องในกรณีที่ขอให้รับผิดเมื่อไม่มีการส่งมอบสินค้าตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46
++ ส่วนที่โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์ว่า กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขนโดยสิ้นเชิงจึงต้องนำอายุความทั่วไปคือ 10 ปี มาบังคับนั้น
++ ได้ความว่า จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ขนส่งสินค้าพิพาทมาช่วงหนึ่งแล้ว ก่อนที่สินค้าจะถูกกัก เพราะมีปัญหาเรื่องน้ำหนัก ข้อเท็จจริงจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญารับขนโดยสิ้นเชิง
++ เมื่อได้วินิจฉัยในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลยแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นอีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง ++