คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้าประเภทเดียวกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องเป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยเทียบเคียงกับสินค้าประเภทเดียวกัน
คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่47/2531เป็นระเบียบภายในของจำเลยเท่านั้นจะนำมาเป็นหลักเกณฑ์ว่าราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้มีหรือประเมินราคาไปนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยไม่คำนึ่งถึงบทกฎหมายไม่ได้เพราะ"ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด"มีบทวิเคราะห์ศัพท์ในพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2วรรคสิบสองเมื่อสินค้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเทียบเคียงราคากับสินค้าพิพาทไม่ได้เป็นเหล็กประเภทและชนิดเดียวกันขนาดหน้าตัดและความยาวของเหล็กก็ต่างกันมาไม่อาจนำมาเทียบเคียงกันได้ย่อมไม่อาจหักล้างว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันและมีเจตนาไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีสาระสำคัญของลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่ตัวอักษรโรมันคำว่า BROTHER และ brother แม้จำเลยจะจดทะเบียนและยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าbrother โดยมีคำว่า tri อยู่ด้านหน้า กับคำว่า TRADE MARK อยู่ด้านล่างและมีรูปห่วงวงกลม 3 ห่วง วางเรียงกันอยู่เหนือคำว่า brother คำว่า triและ TRADE MARE เป็นเพียงส่วนประกอบบอกจำนวนว่าเป็น tri brother หรือสามพี่น้อง ส่วนคำว่า TRADE MARK แปลว่า เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด สำหรับรูปห่วงวงกลม 3 ห่วง ที่วางเรียงกันก็ไม่มีลักษณะพิเศษไม่ถึงกับเป็นลักษณะบ่งเฉพาะอันอาจแสดงให้เห็นว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ และจำเลยได้ใช้หรือจะใช้เครื่อง-หมายการค้าดังกล่าวของจำเลยกับสินค้าจำพวก 6 และชนิดสินค้าจักรเย็บผ้าเช่นเดียวกันกับของโจทก์ และจำเลยเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจักรเย็บผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า BROTHER ของโจทก์มาก่อน ทั้งจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brother ใช้กับสินค้าจำพวก 13 ชนิดสินค้า ขาจักรเย็บผ้า จนนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ยกคำขอของจำเลยมาแล้ว แสดงให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนมาโดยตลอดโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงสาธารณชนจากเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบรวมและความคล้ายคลึงจนทำให้สับสน
เครื่องหมายการค้ารายหนึ่งจะเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าอีกรายหนึ่งจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่ ต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์ คือสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าสีทาบ้าน สีพ่น สีพ่นรถ ภาชนะใส่สีเป็นกระป๋องลักษณะเหมือนกัน สีของกระป๋องก็เป็นสีเดียวกัน ลักษณะการใช้เครื่องหมายการค้าประทับ เป็นตัวอักษรโรมันอยู่บนพื้นสีดำรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และอยู่ทางส่วนบนของกระป๋องเหมือนกัน เครื่องหมายการค้าที่เป็นตราพวงมาลัยรถยนต์ของจำเลยก็อยู่ที่เดียวกับตราใบพัดลงของโจทก์และอยู่บนพื้นสีขาว รูปสี่เหลี่ยมคางหมูใต้ตัวอักษรโรมันในลักษณะเดียวกัน ด้านตรงกันข้ามเครื่องหมายดังกล่าว จะมีพื้นสีขาวรูปคางหมูรีเหมือนกัน มีคำอธิบายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเหมือนกัน ขนาดตัวอักษรเท่ากัน ฝากระป๋องก็มีลักษณะและสีพื้นสีเดียวกันมีรูปเครื่องหมายการค้าขนาดเท่ากันอยู่ตรงกึ่งกลาง มีอักษรภาษาไทยด้านล่างเหมือนกันว่า "คุณภาพเชื่อถือได้ จะต่างกันเฉพาะข้อความภาษาไทยว่า "สีเท็มโก้" กับ "สีเซฟโก้" และอักษรโรมัน "TEMCO" กับ "SEFCO" เท่านั้น ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงสาธารณชนจากเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบรวมและความสุจริตของผู้ขอ
เครื่องหมายการค้ารายหนึ่งจะเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าอีกรายหนึ่งจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่ต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์ คือสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าสีทาบ้าน สีพ่นสีพ่นรถ ภาชนะที่ใส่สีเป็นกระป๋องลักษณะเหมือนกัน สีของกระป๋องก็เป็นสีเดียวกัน ลักษณะการใช้เครื่องหมายการค้าประทับ เป็นตัวอักษรโรมัน อยู่บนพื้นสีดำรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และอยู่ทางส่วนบนของกระป๋องเหมือนกัน เครื่องหมายการค้าที่เป็นตราพวงมาลัยรถยนต์ของจำเลยก็อยู่ที่เดียวกับตราใบพัดลมของโจทก์และอยู่บนพื้นสีขาวรูปสี่เหลี่ยมคางหมูใต้ตัวอักษรโรมันในลักษณะเดียวกันด้านตรงกันข้ามเครื่องหมายดังกล่าว จะมีพื้นสีขาวรูปคางหมูรีเหมือนกัน มีคำอธิบายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเหมือนกันขนาดตัวอักษรเท่ากัน ฝา กระป๋อง ก็มีลักษณะและสีพื้นสีเดียวกันมีรูปเครื่องหมายการค้าขนาดเท่ากันอยู่ตรงกึ่งกลาง มีอักษรภาษาไทยด้านล่างเหมือนกันว่า "คุณภาพเชื่อถือได้" จะต่างกันเฉพาะข้อความภาษาไทยว่า "สีเท็มโก้"กับ"สีเซฟโก้" และอักษรโรมัน"TEMCO" กับ "SEFCO" เท่านั้น ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิมากกว่า แม้ผู้ขอจดทะเบียนรายหลังจะยื่นคำขอจดทะเบียนก่อน
จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนในการโฆษณาสินค้าซึ่งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายรวมทั้งสินค้าสีมาก่อนโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในการขอจดทะเบียนดีกว่าโจทก์แม้เครื่องหมายการค้านั้นเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และโจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนก่อนก็ตาม
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทำให้จำเลยเสียหายเพราะทำให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าสีของจำเลย จึงเป็นการทำละเมิดต่อจำเลยและต้องชดใช้ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าเดิมและการพิจารณาเจตนาของผู้ขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้คำว่า 'RICOPY' ส่วนของจำเลยใช้คำว่า 'RECOPY' มีลักษณะสำคัญบ่งเฉพาะเป็นอักษรโรมัน เมื่อออกสำเนียงชื่อก็คล้ายคลึงกัน คือ โจทก์ออกสำเนียงว่า 'ริโคปีย์' ส่วนจำเลยออกสำเนียงว่า'รีโคปีย์' แตกต่างกันเฉพาะตัวI และตัว E เท่านั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายคลึงกับของโจทก์ และสินค้าของโจทก์จำเลยที่ขอจดทะเบียนเป็นสินค้าอย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศญี่ปุ่น และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวแพร่หลายโดยทั่วไปมาก่อน จำเลยเพิ่งคิดจะใช้คำว่า 'RECOPY' เป็นเครื่องหมายการค้าหลังจากทราบถึงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์แล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อนก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าและให้จำเลยไปเพิกถอนคำขอจดทะเบียนการค้าของจำเลยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าประเภทเดียวกัน แม้จำเลยไม่มีสินค้าชนิดเดียวกับโจทก์ ก็อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้
เมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลย ใช้สำหรับสินค้าจำพวก 3 เหมือนกันแล้ว โจทก์จะโต้เถียงว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยใช้สำหรับสินค้าคนละชนิด ของโจทก์ใช้สำหรับยาหม่อง ของจำเลยไม่ได้ใช้กับยาหม่อง ไม่มีทางทำให้ประชาชนหรือสาธารณชนหลงผิดในเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือนและความแตกต่างโดยคำนึงถึงสำเนียงการออกเสียงและการใช้สินค้าประเภทเดียวกัน
จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษร WINNER ประกอบกับภาพคนยืนยกมือ ภาพคนขี่ม้ากระโดดข้ามรั้วและอักษรว่าด้วยคุณภาพสินค้า ตามเอกสารหมาย จ.2 ต่อมาโจทก์ขอจดทะเบียนการค้าอักษรWINNERR ไม่มีภาพประกอบตามเอกสารหมายจ.1 ดังนี้เห็นได้ว่าความสำคัญเด่นชัดอยู่ที่คำว่า'WINNERR' กับ 'WINNER' ภาพและอักษรอื่นเป็นแต่ส่วนประกอบ และการที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนกันหรือไม่จะเพียงแต่เอามาเทียบกันแล้วชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันเพราะมีความแตกต่างกันบางประการเท่านั้น หาได้ไม่ยังจะต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่างๆประกอบด้วยว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงเข้าใจผิดได้หรือไม่เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวในลักษณะสำคัญได้ใช้ภาษาต่างประเทศมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกันและใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันผู้ซื้อย่อมติดใจยึดถือคำเรียกขานและหลงผิดได้ง่ายว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นอย่างเดียวกันเครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 จึงมีลักษณะเหมือนกัน
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2767/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและการสับสนของผู้บริโภคในสินค้าประเภทเดียวกัน
เครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBID - COMBID" ของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่จำนวน 6 ตัว อ่านออกเสียงว่า คอมบิด ในขณะที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBIF Combif" ประกอบด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ 1 ตัว และตัวพิมพ์เล็กอีกจำนวน 5 ตัว อ่านออกเสียงว่า คอมบิฟ แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสอง จะมีเสียงเรียกขานคล้ายกัน ประกอบด้วยตัวอักษรโรมันจำนวน 6 ตัว เช่นเดียวกัน และเป็นอักษรโรมันที่เหมือนกันเกือบทั้งหมดโดยมีความแตกต่างกันที่ตัวอักษรตัวสุดท้ายของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง โดยเครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBID" ของโจทก์เป็นตัวอักษร "D" แต่เครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBIF" เป็นตัวอักษร "F" ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาจากรูปลักษณ์ของเครื่องหมายการค้าทั้งสองแล้ว พบว่ามีความแตกต่างที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน เนื่องจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ในขณะที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBIF Combif" คำที่ 2 มีเพียงตัวอักษรตัวแรก คืออักษร "C" เท่านั้นที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ส่วนตัวอักษรที่เหลือทั้งหมดเป็นตัวพิมพ์เล็ก นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าทั้งสองแม้จดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน คือ จำพวกที่ 5 แต่รายการสินค้าที่จดทะเบียนนั้นแตกต่างกัน โดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนใช้กับรายการสินค้ายาที่เตรียมขึ้นเพื่อใช้ต่อต้านหรือทำลายเชื้อไวรัส ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBIF Combif" ขอจดทะเบียนใช้กับรายการสินค้าอาหารเสริมใช้ในทางการแพทย์ช่วยย่อยอาหารและป้องกันท้องผูก ซึ่งเป็นสินค้าคนละประเภทกัน โอกาสที่ผู้บริโภคจะสับสนหลงหรือผิดจึงเป็นไปได้น้อย แม้จะเป็นสินค้าจำพวกยาเหมือนกัน แต่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน อีกทั้งกลุ่มผู้ใช้สินค้าของยาทั้งสองก็แตกต่างกัน สินค้ายาตามเครื่องหมายการค้า "COMBID" ของโจทก์ ผู้ใช้คือผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งไม่สามารถซื้อใช้เองได้โดยตรง แต่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์เท่านั้น ในขณะที่ผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "COMBIF" เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่กว้างกว่า ไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่วยโรคเอดส์ ดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองจะมีเสียงเรียกขานใกล้เคียงกันก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBIF" ที่ขอจดทะเบียนจึงเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 (3) และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณารูปแบบโดยรวม สำเนียงเรียกขาน และสินค้าประเภทเดียวกัน เพื่อป้องกันความสับสน
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดในขณะที่จดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาภาพรวมของเครื่องหมายการค้านั้นเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วว่ามีความเหมือนหรือคล้ายกันในสาระสำคัญหรือในลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้านั้นหรือไม่ หากเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีภาคส่วนถ้อยคำประกอบรูป นอกจากจะพิจารณาลักษณะเด่น หรือสาระสำคัญ ของเครื่องหมายการค้าแล้วยังต้องพิจารณาถึงสำเนียงเรียกขานเครื่องหมายการค้านั้น และต้องพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้านั้นใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน
แม้สาระสำคัญหรือลักษณะเด่นในเครื่องหมายการค้าจะเป็นภาพปลาโลมาซึ่งเป็นสัตว์ตามธรรมชาติเช่นเดียวกัน แต่เมื่อภาพประดิษฐ์ปลาโลมาในเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวมีความแตกต่างกันในภาพรวม เช่น จำนวนของปลาโลมา หรือการจัดองค์ประกอบของภาพที่แสดงให้เห็นว่าปลาโลมาได้หันไปคนละทิศทางกันและมีคลื่นทะเลประกอบอยู่ด้วย เครื่องหมายการค้าของโจทก์และบริษัท ช. จึงต่างก็มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองตามมาตรา 7 (6) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ทั้งภาพปลาโลมาก็มิใช่สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าข้าวที่โจทก์จะต้องแสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2537 มาตรา 17 แต่อย่างใด
เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีภาคส่วนถ้อยคำเป็นอักษรจีนและภาคส่วนของอักษรโรมัน คำว่า "TWIN DOLPHINS" ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ช. มีภาคส่วนถ้อยคำเป็นอักษรโรมันคำว่า "BLUE DOLPHIN" จึงมีเพียงอักษรโรมันคำว่า "DOLPHIN" ที่เหมือนกันเท่านั้น ทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนของอักษรจีนอ่านออกเสียงได้ว่า "ซวงห่ายถุน" และอักษรโรมันคำว่า "TWIN DOLPHINS" มีความหมายว่า ปลาโลมาคู่ จึงอาจออกเสียงเรียกขานได้ว่า ซวงห่ายถุน หรือ ทวินดอลฟิน หรือปลาโลมาคู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ช. มีอักษรโรมันคำว่า "BLUE DOLPHIN" มีความหมายว่า ปลาโลมาสีน้ำเงิน จึงอาจออกเสียงเรียกขานได้ว่า บลูดอลฟิน หรือปลาโลมาสีน้ำเงิน สำเนียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับบริษัท ช. จึงแตกต่างกัน แม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันเป็นรายการสินค้าข้าว ก็ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้