คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้าสำเร็จรูป

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากวัตถุดิบขาดหาย: พิจารณาเป็นยอดขายสินค้าสำเร็จรูปได้
ในการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น แม้ ป.รัษฎากรฯ ลักษณะ 2 หมวด 3 ส่วน 3 จะมิได้มีบทบัญญัติว่ากรณีที่วัตถุดิบขาดหายจากบัญชีให้ถือว่าเป็นการขาย แต่ถ้ามีการนำวัตถุดิบที่ขาดหายนั้นไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายก็ถือเป็นการขายสินค้าสำเร็จรูปตามความเป็นจริง และแม้ ป.รัษฎากรฯ มาตรา 77/1 (8) (จ) จะบัญญัติให้ถือว่าการที่วัตถุดิบขาดหายจากบัญชีให้ถือเป็นการขายวัตถุดิบนั้น แต่ถ้ามีการนำวัตถุดิบที่ขาดหายนั้นไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายก็ถือว่าเป็นการขายสินค้าสำเร็จรูปตามความเป็นจริงเช่นเดียวกัน การผลิตและขายทั้งสองกรณีนี้ย่อมจะต้องเสียภาษีจากราคาสำเร็จรูปของสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ขาดหายนั้น โจทก์มี ส. ผู้ตรวจสอบบัญชีเบิกความอ้างเหตุวัตถุดิบขาดหายว่าเกิดจากการสูญเสียในระหว่างการผลิตหรือเกิดจากการลงรายการในบัญชีคุมสินค้าและวัตถุดิบผิดพลาด ไม่ได้ยืนยันว่าเหตุขาดหายนั้นเกิดจากกรณีใดในสองกรณีนั้น แม้โจทก์จะมี ก. ผู้จัดการโรงงาน และ ธ. ผู้ช่วยผู้จัดการโรงงานของโจทก์เบิกความถึงขั้นตอนในการผลิตตู้ลำโพงเพื่อแสดงให้เห็นว่าผ้าเน็ท (SPEAKER CLOTH) อาจเกิดการสูญเสียได้ในขณะนำไปประกอบเพื่อผลิตตู้ลำโพงแต่พยานโจทก์ทั้งสองก็ไม่สามารถหาหลักเกณฑ์แน่นอนได้ว่ามีการสูญเสียวัตถุดิบในการผลิตมากน้อยเพียงใด พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาจึงรับฟังไม่ได้ว่าเหตุที่วัตถุดิบขาดหายจากบัญชีมิได้เกิดจากการนำไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การที่วัตถุดิบขาดหายจากบัญชีเกิดจากการที่โจทก์นำไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่าย การที่เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มโดยถือราคาสินค้าสำเร็จรูปเป็นฐานจึงถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าสำเร็จรูปจากผ้าใช้กับเครื่องจักร ไม่เข้าพิกัดผ้าโดยตรง
เครื่องล้างหัวเทปวีดีโอเป็นสินค้าสำเร็จรูปอย่างหนึ่งประกอบด้วยตัวกล่องที่ทำด้วยพลาสติก คงมีเฉพาะส่วนที่สำหรับขัดถูหัวเทปที่มีลักษณะเป็นผ้าและเครื่องดังกล่าวใช้สำหรับเครื่องวีดีโอเท่านั้น จึงมิใช่สินค้าตามพิกัดประเภทที่ 59.17 เพราะมิใช่เป็นผ้าหรือของที่ทำด้วยวัตถุทอและมิใช่ชนิดที่ตามธรรมดาใช้กับเครื่องกลจักรหรือใช้ในโรงงาน อีกทั้งมิใช่สินค้าตามพิกัดประเภทที่ 62.05 ซึ่งได้แก่วัตถุทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรข้อที่ 5ถือได้ว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ใกล้เคียงกับประเภทพิกัดที่ 62.13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตภาษีการค้า: วัตถุดิบอุตสาหกรรม vs. สินค้าสำเร็จรูปที่เข้าลักษณะกาว การคืนเงินภาษี
โจทก์ผลิตสินค้าโพลีไวนิล อาซิเตด ลาเท็กซ์ ที่ใช้ในการอุตสาหกรรมรวมทั้งผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายอีกด้วย เมื่อโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงว่าสินค้าที่โจทก์ผลิตขายแม้จะไม่ใช่กาวแต่มีลักษณะทำนองเดียวกับกาว สินค้าโพลีไวนิล อาซิเตด ลาเท็กซ์ ของโจทก์ที่ทำเป็นสินค้าสำเร็จรูป จึงต้องเสียภาษีการค้าตามกฎหมาย เพราะไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามบัญชี 1 หมวด 5 (26) แห่งบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ส่วนสินค้าโพลิไวนิล อาซิเตด ลาเท็กซ์ ที่โจทก์ผลิตเพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอุตสาหกรรมเป็นสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) ของบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ย่อมได้รับการยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าของโจทก์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 (8) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า P.V.A. Latex: การจำแนกสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบเพื่อการยกเว้นภาษี
โจทก์ผลิตสินค้าโพลีไวนิลอาซิเตดลาเท็กซ์ ที่ใช้ในการอุตสาหกรรมรวมทั้งผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายอีกด้วยเมื่อโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงว่าสินค้าที่โจทก์ผลิตขายแม้จะไม่ใช่กาวแต่มีลักษณะทำนองเดียวกับกาว สินค้าโพลีไวนิลอาซิเตดลาเท็กซ์ของโจทก์ที่ทำเป็นสินค้าสำเร็จรูป จึงต้องเสียภาษีการค้าตามกฎหมายเพราะไม่ได้รับยกเว้นตามบัญชี 1 หมวด 5(26) แห่งบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ส่วนสินค้าโพลีไวนิลอาซิเตดลาเท็กซ์ ที่โจทก์ผลิตเพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอุตสาหกรรมเป็นสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก)ของบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์ย่อมได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร กรณีซิลิโคนใช้ได้ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป ต้องจัดเข้าประเภทอัตราอากรสูงที่สุด
ซิลิโคนบริสุทธิ์ที่โจทก์นำเข้ามาใช้ประโยชน์ทั้งสองทางพร้อมกันคือใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและวัตถุสำเร็จรูป
การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู 'ชนิด' ของซิลิโคน หาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริง ๆ ไม่ เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ก. และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่น ๆ ตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ข. จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภทหรือมากกว่านั้น ต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ตามภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 บังคับ กรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้ชัดแจ้ง และอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ข) จึงต้องเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุด คือประเภทที่ 39.01ข. ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากรกรณีซิลิโคนใช้ได้ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป ต้องใช้หลักเกณฑ์อัตราอากรสูงที่สุด
ซิลิโคนบริสุทธิ์ที่โจทก์นำเข้ามาใช้ประโยชน์ทั้งสองทางพร้อมกันคือใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและวัตถุสำเร็จรูป การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู'ชนิด'ของซิลิโคนหาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริงๆไม่เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่39.01ก.และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่นๆตามพิกัดประเภทที่39.01ข.จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้2ประเภทหรือมากกว่านั้นต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามภาค1ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503บังคับกรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้ชัดแจ้งและอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้างๆตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ก)ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ข)จึงต้องเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุดคือประเภทที่39.01ข.ตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ค).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบนำเข้า การพิจารณาตามสภาพการใช้งานและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ที่โจทก์นำหัวน้ำเชื้อสะระแหน่ หัวน้ำเชื้อมะนาว หัวน้ำเชื้อส้ม และขี่ผึ้งที่ได้จากพืชเข้ามาในราชอาณาจักร ได้บัญญัติ จำกัดความคำว่า "สินค้าสำเร็จรูป" ไว้ในมาตรา 77 และในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 9 ก็ได้บัญญัติถึงสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูป อันเป็นการแสดงว่าเจตนารมณ์ของประมวลรัษฎากรในขณะนั้นต้องการเก็บภาษีการค้าสำหรับสินค้าสำเร็จรูป และสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปแตกต่างกัน กล่าวคือถ้าสินค้าที่นำเข้ามาเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปและกรณีต้องด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 9 ก็ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้านั้น แต่ถ้านำสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อขายแล้ว ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้า ส่วนสินค้าสำเร็จรูปนั้นถ้ามีการนำเข้ามาก็จะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในทุกกรณีไม่ว่าจะนำเข้ามาเพื่อการใด (อ้างฎีกาที่ 1176/2521)
มาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ให้คำจำกัดความคำว่า "สินค้าสำเร็จรูป" ไว้ว่า หมายความว่าสินค้าซึ่งตามสภาพการอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น ฉะนั้น ในการพิจารณาว่าสินค้าใดเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือไม่ จึงจำต้องพิเคราะห์ถึงสภาพแห่งการใช้ของสินค้านั้น ๆ เป็นแต่ละชนิดไปว่าสามารถนำไปอุปโภคหรือบริโภคได้ทันทีหรือไม่ เมื่อได้ความว่าหัวน้ำเชื้อสระแหน่หัวน้ำเชื้อมะนาว หัวน้ำเชื้อส้ม จะนำไปอุปโภคหรือบริโภคโดยไม่ผสมกับสิ่งอื่นไม่ได้ เพราะแรงไป หากนำไปบริโภคโดยไม่เจือปนจะกัดลิ้น ฉุนและจาม เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ดังนี้ ต้องถือว่าหัวน้ำเชื้อทั้งสามชนิดไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป ส่วนขี้ผึ้งที่ได้จากพืชนั้นทำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ได้งเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือผสมกับสิ่งใดอีก จึงถือได้ว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป
โจทก์สั่งขี้ผึ้งที่ได้จากพืชซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตสินค้าของโจทก์เองแม้จะมิได้สั่งเข้ามาเพื่อขายหรือยังมิได้ขาย โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 1 การขายของชนิด 1 ก. (อ้างฎีกาที่ 1176/2521) ส่วนหัวน้ำเชื้อทั้ง 3 ชนิดซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น เมื่อโจทก์สั่งเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อขายโจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบ: การตีความตามประมวลรัษฎากรและการวินิจฉัยสินค้าประเภทต่างๆ
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่18) พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะที่โจทก์นำหัวน้ำเชื้อสะระแหน่ หัวน้ำเชื้อมะนาว หัวน้ำเชื้อส้ม และขี้ผึ้งที่ได้จากพืชเข้ามาในราชอาณาจักร ได้บัญญัติจำกัดความคำว่า "สินค้าสำเร็จรูป" ไว้ในมาตรา 77 และในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 9 ก็ได้บัญญัติถึงสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูป อันเป็นการแสดงว่าเจตนารมณ์ของประมวลรัษฎากรในขณะนั้นต้องการเก็บภาษีการค้าสำหรับสินค้าสำเร็จรูป และสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปแตกต่างกัน กล่าวคือถ้าสินค้าที่นำเข้ามาเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปและกรณีต้องด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 9 ก็ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้านั้น แต่ถ้านำสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อขายแล้ว ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้าส่วนสินค้าสำเร็จรูปนั้นถ้ามีการนำเข้ามาก็จะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในทุกกรณีไม่ว่าจะนำเข้ามาเพื่อการใด (อ้างฎีกาที่ 1176/2521)
มาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้คำจำกัดความคำว่า "สินค้าสำเร็จรูป" ไว้ว่าหมายความว่าสินค้าซึ่งตามสภาพการอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น ฉะนั้น ในการพิจารณาว่าสินค้าใดเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือไม่ จึงจำต้องพิเคราะห์ถึงสภาพแห่งการใช้ของสินค้านั้น ๆ เป็นแต่ละชนิด ๆ ไปว่าสามารถนำไปอุปโภคหรือบริโภคได้ทันทีหรือไม่ เมื่อได้ความว่าหัวน้ำเชื้อสะระแหน่ หัวน้ำเชื้อมะนาว หัวน้ำเชื้อส้ม จะนำไปอุปโภคหรือบริโภคโดยไม่ผสมกับสิ่งอื่นไม่ได้ เพราะแรงไป หากนำไปบริโภคโดยไม่เจือปนจะกัดลิ้น ฉุนและจาม เป็นอันตรายแก่ร่างกายดังนี้ ต้องถือว่าหัวน้ำเชื้อทั้งสามชนิดไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป ส่วนขี้ผึ้งที่ได้จากพืชนั้นนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือผสมกับสิ่งใดอีก จึงถือได้ว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป
โจทก์สั่งขี้ผึ้งที่ได้จากพืชซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตสินค้าของโจทก์เองแม้จะมิได้สั่งเข้ามาเพื่อขายหรือยังมิได้ขาย โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 1 การขายของชนิด 1 ก.(อ้างฎีกาที่ 1176/2521) ส่วนหัวน้ำเชื้อทั้ง 3 ชนิดซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น เมื่อโจทก์สั่งเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อขายโจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าสินค้าสำเร็จรูปและการยกเว้นภาษีส่วนประกอบเครื่องจักรชำรุด
ตาม ประมวลรัษฎากรฉบับที่ 18 พ.ศ.2504 ในขณะนั้นสินค้าสำเร็จรูปไม่ว่าจะนำเข้ามาผลิตสินค้าอื่นหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นผู้ขาย และเสียภาษีการค้าในวันนำเข้า
ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่นำเข้ามาเพื่อใช้ทดแทนของเก่าที่ชำรุด ไม่ใช่สินค้าที่ยกเว้นภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 14 พ.ศ.2508มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซิเมนต์ผงขายให้บริษัทในเครือเพื่อผลิตต่อ ไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป เสียภาษีตามอัตราวัตถุดิบ
ซิเมนต์ผงที่โจทก์ขายให้แก่บริษัทในเครือของตนเพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่นขาย มิได้นำไปจำหน่ายโดยตรง ไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูปตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 จึงต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 การขายของชนิด 9 (ก) อัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 85/2512)
of 4