พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ส่งสินค้าอันตรายและการประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งในการขนส่งทางทะเล
จำเลยผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายแสดงว่าเป็นสินค้าอันตรายที่ข้างกล่องกระดาษ ทั้งมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าได้ทราบถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 อย่างไรก็ตาม มาตรา 34 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ส่งของไว้โดยเฉพาะในกรณีละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ไว้ว่า ถ้าผู้ส่งของไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 และผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นมีดังต่อไปนี้ (1)?(2) ผู้ส่งของยังคงต้องรับผิดในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายทั้งปวงอันเกิดขึ้นหรือเป็นผลเนื่องจากการขนส่งของนั้น ซึ่งหมายความว่า ผู้ส่งของจะต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 34(2) ประกอบกับมาตรา 33 ดังกล่าว เมื่อผู้ขนส่งไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งของนั้น หากโจทก์ในฐานะผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายของสินค้าของจำเลยผู้ส่งของอยู่แล้ว โจทก์ก็สามารถใช้ความระมัดระวังในการขนส่งสินค้าดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพอันตรายของสินค้านั้นได้ กรณีนี้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยบรรจุสินค้าถ่านไม้ลงในถุงพลาสติกแล้วรัดด้วยหนังยางไม่ได้ปิดผนึกจนอากาศเข้าไม่ได้และไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของไอเอ็มดีจี โค้ด และประกาศกรมเจ้าท่า เรื่อง การกำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ แม้ความเสียหายจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ในการจัดระวางบรรทุกสินค้าด้วย แต่ก็ถือว่าต่างก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นจึงเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง
โจทก์ไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือให้จำเลยทราบถึงความเสียหายภายใน 90 วัน เป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
จำเลยบรรจุสินค้าถ่านไม้ลงในถุงพลาสติกแล้วรัดด้วยหนังยางไม่ได้ปิดผนึกจนอากาศเข้าไม่ได้และไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของไอเอ็มดีจี โค้ด และประกาศกรมเจ้าท่า เรื่อง การกำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ แม้ความเสียหายจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ในการจัดระวางบรรทุกสินค้าด้วย แต่ก็ถือว่าต่างก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นจึงเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง
โจทก์ไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือให้จำเลยทราบถึงความเสียหายภายใน 90 วัน เป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าอันตราย: ประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งและผู้รับขนส่ง
ขณะจำเลยนำสินค้าถ่านไม้ซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษขนาดใหญ่มาส่งมอบให้แก่ตัวแทนของโจทก์ที่ท่าเรือกรุงเทพ จำเลยผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายอันแสดงว่าเป็นสินค้าอันตรายที่ข้างกล่องกระดาษดังกล่าว ทั้งมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าได้ทราบถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้นั้น อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 33 ที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ส่งสินค้าอันตรายจะต้องปฏิบัติ และมาตรา 34 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ส่งของไว้โดยเฉพาะในกรณีละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ดังนั้นผู้ส่งของจะต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 34(2) ประกอบด้วยมาตรา 33
แม้จำเลยไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย แต่เมื่อโจทก์ผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าแล้ว ความเสียหายจึงมิได้เกิดจากการที่โจทก์ไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าอันเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายตามสมควรหรือไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความเสียหายตามมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ ได้
การที่ผู้ขนส่งไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งแก่จำเลยหรือตัวแทนว่าได้เกิดความเสียหายพร้อมแจ้งถึงสภาพโดยทั่วไปของความเสียหายดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่เกิดความเสียหายแก่ผู้ส่งของเป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งไม่ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 37ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
สาเหตุที่ทำให้ถ่านไม้เกิดลุกไหม้จนเกิดความเสียหายขึ้นนั้น นอกจากจะเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยในการบรรจุสินค้าดังกล่าวแล้วยังมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการจัดวางตู้สินค้าที่บรรจุถ่านไม้ที่ไม่เหมาะสม โดยวางปะปนกับตู้สินค้าอื่นและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้ถ่านไม้เกิดความร้อนสะสมขึ้นอย่างช้า ๆ และลุกไหม้ขึ้น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและด้วยความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ขนส่งด้วย ดังนั้น ในการที่จะให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยคำนึงถึงข้อสำคัญว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
แม้จำเลยไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย แต่เมื่อโจทก์ผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าแล้ว ความเสียหายจึงมิได้เกิดจากการที่โจทก์ไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าอันเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายตามสมควรหรือไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความเสียหายตามมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ ได้
การที่ผู้ขนส่งไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งแก่จำเลยหรือตัวแทนว่าได้เกิดความเสียหายพร้อมแจ้งถึงสภาพโดยทั่วไปของความเสียหายดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่เกิดความเสียหายแก่ผู้ส่งของเป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งไม่ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 37ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
สาเหตุที่ทำให้ถ่านไม้เกิดลุกไหม้จนเกิดความเสียหายขึ้นนั้น นอกจากจะเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยในการบรรจุสินค้าดังกล่าวแล้วยังมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการจัดวางตู้สินค้าที่บรรจุถ่านไม้ที่ไม่เหมาะสม โดยวางปะปนกับตู้สินค้าอื่นและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้ถ่านไม้เกิดความร้อนสะสมขึ้นอย่างช้า ๆ และลุกไหม้ขึ้น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและด้วยความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ขนส่งด้วย ดังนั้น ในการที่จะให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยคำนึงถึงข้อสำคัญว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ส่งของสินค้าอันตรายต่อความเสียหายจากการขนส่งทางทะเล กรณีไม่แจ้งลักษณะสินค้า
ประกาศกรมเจ้าท่ากำหนดว่า "สารหรือสิ่งของใดจัดอยู่ในชั้นและประเภทใดให้เป็นไปตาม INTERNATIONAL MARITIME DANGEROUS GOODS CODE (IMDG CODE) ขององค์การทางการค้าระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL MARITIME ORGANIZATION หรือ IMO)" ดังนั้น สิ่งของใดจะเป็นสิ่งของอันตรายบ้างนั้น ก็ต้องเป็นไปตามที่ IMDG CODE กำหนดไว้ที่ประเทศไทยต้องยอมรับในฐานะที่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วย ความปลอดภัยแก่ชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (THE INTERNATIONAL CONVENTION FOR THE SAFETY OF LIFE AT SEA 1974) เมื่อ IMDG CODE ระบุว่า ถ่านที่มาจากพืชเป็นของที่ลุกไหม้ได้โดยธรรมชาติ เพราะสามารถร้อนตัวขึ้นช้า ๆ และติดไฟได้เองในอากาศ ดังนั้น ถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งของที่อาจเกิด อันตรายได้
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของ นั้นด้วย ก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้อง อันจะเป็น การปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกาง ตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกาง เช่น เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่น ๆ ที่โจทก์รับขน ไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของ นั้นด้วย ก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้อง อันจะเป็น การปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกาง ตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกาง เช่น เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่น ๆ ที่โจทก์รับขน ไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ส่งของต้องแจ้งลักษณะอันตรายของสินค้าเพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง หากไม่แจ้งต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น
ประกาศกรมเจ้าท่ากำหนดว่า "สารหรือสิ่งของใดจัดอยู่ในชั้นและประเภทใดให้เป็นไปตาม INTERNATIONALMARITMEDANGEROUSGOODS CODE(IMDGCODE) ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (INTERNATIONALMARITIMEORGANIZATION หรือ IMO)" ดังนั้น สิ่งของใดจะเป็นสิ่งของอันตรายบ้างนั้นก็ต้องเป็นไปตามที่ IMDGCODE กำหนดไว้ที่ประเทศไทยต้องยอมรับในฐานะที่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (THEINTERNATIONALCONVENTIONFORTHESAFETYOFLIFEATSEA1974) เมื่อ IMDGCODE ระบุว่า ถ่านที่มาจากพืชเป็นของที่ลุกไหม้ได้โดยธรรมชาติ เพราะสามารถร้อนตัวขึ้นช้า ๆ และติดไฟได้เองในอากาศ ดังนั้นถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายได้
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของนั้นด้วยก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้องอันจะเป็นการปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 มิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกางตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกางเช่นนี้ เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่นที่โจทก์รับขนไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของนั้นด้วยก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้องอันจะเป็นการปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 มิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกางตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกางเช่นนี้ เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่นที่โจทก์รับขนไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากสินค้าอันตรายต่อความเสียหายจากเพลิงไหม้ และข้อจำกัดความรับผิดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยรับฝากสินค้าที่พิพาทโดยมีบำเหน็จ แม้จำเลยได้ดำเนินการจัดเก็บสินค้าเต็มความสามารถโดยจัดเก็บสินค้าอันตรายตามระบบซึ่งสำนักที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนดใช้ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกทั่วโลก นอกจากนี้จำเลยยังได้วางข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัย กวดขันการสูบบุหรี่ จัดให้มียามรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง จัดให้มีเครื่องดับเพลิงอัตโนมัติประจำทุกอาคารซึ่งเป็นไปตามหลักสากลก็ตาม แต่จำเลยมิได้นำสืบว่าในการจัดเก็บสินค้ารายพิพาทนี้ได้จัดเก็บตามระบบอย่างไร ได้แยกสินค้าให้ถูกต้องตรงตามระบบการจัดเก็บหรือไม่ และได้ตรวจสอบสิ่งที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของสารเคมีโดยปลอดภัยแล้วหรือไม่ กลับปรากฏว่าในวันเกิดเหตุได้มีการเปิดคลังสินค้าอันตรายเพื่อทำงาน แม้ขณะเกิดเพลิงไหม้จะมีแต่เฉพาะพนักงานของจำเลยอยู่ปฏิบัติหน้าที่ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบเลยว่า จำเลยได้ป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่สินค้าอันตรายด้วยการควบคุมดูแลคลังสินค้าอันตรายในขณะที่มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นดีแล้วหรือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานนั้นไม่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ไม่ว่าในกรณีใดกรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เหตุเพลิงไหม้นั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย มิใช่ความประมาทของจำเลย เมื่อจำเลยรับฝากสินค้าอันตรายไว้ในทางธุรกิจของจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในทางธุรกิจของตนที่จะป้องกันมิให้เกิดอันตรายหรือเพลิงไหม้ขึ้นได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 29 (1) และมาตรา 9 (4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นจำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 29 (1) และมาตรา 9 (4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นจำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์จากความเสียหายของสินค้าอันตรายเนื่องจากความประมาทเลินเล่อ
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเคมีภัณฑ์ของแข็งไวไฟประเภทถ่านผงสีดำ ซึ่งผู้เอาประกันสั่งซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา สินค้าดังกล่าวขนส่งมาถึงประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝากได้รับฝากสินค้าดังกล่าวไว้โดยนำไปเก็บรักษาไว้ในคลังสินค้าอันตรายของจำเลยที่ 3 บริเวณท่าเรือกรุงเทพต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้คลังสินค้าอันตรายของจำเลยที่ 3 ทำให้สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องคดีนี้ได้
สถานที่ที่จำเลยที่ 3 นำสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทของแข็งไวไฟไปเก็บรักษาไว้ได้แก่คลังสินค้าอันตรายนั้นมีการจัดเก็บสารเคมีอื่นที่อาจทำปฏิกริยากับสินค้าดังกล่าวรวมอยู่ด้วย และสถานที่ที่จัดเก็บมีระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพดีเพียงพอ ดังนั้นเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระทำปฏิกริยาทางเคมีของสารเคมีที่เก็บไว้รวมกัน แล้วลุกลามไหม้สินค้าพิพาทเสียหายจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ดังนั้นตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสอง บัญญัติไว้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิด
สถานที่ที่จำเลยที่ 3 นำสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทของแข็งไวไฟไปเก็บรักษาไว้ได้แก่คลังสินค้าอันตรายนั้นมีการจัดเก็บสารเคมีอื่นที่อาจทำปฏิกริยากับสินค้าดังกล่าวรวมอยู่ด้วย และสถานที่ที่จัดเก็บมีระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพดีเพียงพอ ดังนั้นเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระทำปฏิกริยาทางเคมีของสารเคมีที่เก็บไว้รวมกัน แล้วลุกลามไหม้สินค้าพิพาทเสียหายจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ดังนั้นตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสอง บัญญัติไว้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิด