พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยพฤติการณ์นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อ แม้ไม่มีการบอกกล่าวเลิกจ้างเป็นหนังสือ
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งกรรมการรองผู้อำนวยการ วันที่ 21 กันยายน 2545 จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่า ทัศนคติในการทำงานไม่ตรงกันไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ให้โจทก์ลาออกจะให้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน และให้เวลาโจทก์ปรึกษาครอบครัว 3 วัน ในวันดังกล่าวจำเลยขอรถประจำตำแหน่งที่โจทก์ใช้อยู่คืนและในช่วง 3 วันดังกล่าวโจทก์ไม่ต้องมาทำงาน หลังจากครบกำหนด 3 วันแล้วโจทก์ไม่ได้เข้าไปทำงานให้จำเลยอีก จำเลยจึงคัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 การกระทำของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะไม่ยอมให้โจทก์ทำงานให้จำเลยอีก มิได้ให้โอกาสโจทก์ดังที่กล่าวข้างต้น พฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2545
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9586/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรายวันบอกเลิกจ้างก่อนกำหนดจ่ายค่าจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหากไม่มีสิทธิรับค่าจ้างในช่วงนั้น
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า "การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้และให้ถือว่าการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามวรรคนี้ เป็นการจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 582 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" หมายความว่า เมื่อนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีในวันบอกเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายจนถึงวันที่เลิกสัญญาจ้างโดยให้ถือว่าค่าจ้างที่จ่ายนี้เป็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
นายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างรายวันซึ่งกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2542 เป็นการบอกเลิกจ้างก่อนวันที่ 15 เมษายน 2542 อันเป็นกำหนดจ่ายค่าจ้าง และจะมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 30 เมษายน 2542 อันเป็นกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่ในช่วงวันที่ 8 เมษายน 2542 ถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2542 เป็นช่วงปิดเทอม ลูกจ้างรายวันไม่ต้องมาทำงานและไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างเนื่องจากลูกจ้างรายวันจะได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงาน เมื่อนายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างรายวันในช่วงดังกล่าว นายจ้างจึงไม่ต้องจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง
นายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างรายวันซึ่งกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2542 เป็นการบอกเลิกจ้างก่อนวันที่ 15 เมษายน 2542 อันเป็นกำหนดจ่ายค่าจ้าง และจะมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 30 เมษายน 2542 อันเป็นกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่ในช่วงวันที่ 8 เมษายน 2542 ถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2542 เป็นช่วงปิดเทอม ลูกจ้างรายวันไม่ต้องมาทำงานและไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างเนื่องจากลูกจ้างรายวันจะได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงาน เมื่อนายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างรายวันในช่วงดังกล่าว นายจ้างจึงไม่ต้องจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า: การแยกแยะประเภทเงินและกำหนดระยะเวลาผิดนัดชำระ
แม้การจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงิน ชดเชยเพื่อช่วยเหลือเมื่อออกจากงานของจำเลยมีหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายแตกต่างไปจากการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เช่นระยะเวลาการทำงาน เป็นต้น เงินชดเชยตามระเบียบของจำเลยดังกล่าวเป็นเงิน ประเภทอื่น มิใช่ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ก็ตาม แต่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานมิได้ ห้ามนายจ้างที่จะออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายเงิน ช่วยเหลือกับค่าชดเชยรวมกันไปจำเลยย่อมมีสิทธิออกระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือเมื่อออกจากงานได้ เมื่อปรากฏว่าระเบียบดังกล่าวกำหนดว่า พนักงานอาวุโสจะได้รับเงินชดเชย จำนวนหนึ่ง โดยคำนวณตามสูตรที่จะกล่าวต่อไป แต่ทั้งนี้ให้หักจำนวนเงินค่าชดเชยใด ๆ ที่จำเลยได้จ่ายตามกฎหมายแรงงานออก เห็นได้ว่า เงินซึ่งลูกจ้างได้รับตามระเบียบดังกล่าวมีค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานรวมอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยจ่ายเงินเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 18 เดือน ให้โจทก์ ทั้งจำเลยได้ระบุด้วยว่าเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 6 เดือน กรณี ถือได้ว่าจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์แล้ว สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายที่บอกเลิกสัญญาจ้างจ่ายแก่อีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าต้องรับผิด สินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่เงินค่าชดเชย ตามกฎหมายแรงงานการที่จำเลยกำหนดไว้ในระเบียบ ว่าด้วยการจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือเมื่อออกจากงาน แม้จำเลยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าเป็นค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้านั้นจากจำเลยเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่หนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม ปรากฏว่า โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2541 แต่จำเลยไม่ชำระกรณีถือได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2541เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า: การจ่ายค่าจ้างตามข้อตกลง 8 วันต่อ 15 วัน ไม่ถือเป็นการจ่ายครบถ้วน
โจทก์จำเลยตกลงกันว่าในช่วงระยะเวลา 15 วัน โจทก์ทำงานให้จำเลย 8 วัน หยุด 7 วัน จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ 8 วันเท่ากับวันทำงานจริง โดยจ่ายให้ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน ต่อมาวันที่ 20 กันยายน 2528 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ให้ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายไปจนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือในวันที่ 5 ตุลาคม 2528 แต่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจำเลยจ่ายค่าจ้างโดยแท้จริงให้โจทก์เท่าที่ทำงานเพียง 8 วัน มิได้จ่ายให้คราวละ 15 วัน การที่จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์คนละ 8 วันเมื่อเลิกจ้างจึงเป็นการจ่ายสินจ้างในช่วงเวลาคราวถัดไปหนึ่งช่วงตามที่ตกลงกันแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีก 7 วันจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3004/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยอื่นใดจากการรับเงินค่าชดเชยและโบนัส: ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการสละสิทธิสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
แบบฟอร์มของเอกสารซึ่งลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและโบนัสมีรายการเกี่ยวกับเงินประเภทต่างๆ ที่ลูกจ้างได้รับ 10ข้อ ข้อ 1 ถึงข้อ 7 ระบุประเภทของเงินต่างๆ ข้อ8 ถึงข้อ 10 ว่างเว้นไว้ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินประเภทใด แสดงว่านอกจากเงิน 7 ประเภทแล้วยังมีเงินประเภทอื่นที่ลูกจ้างอาจจะได้รับตามสิทธิและตามกฎหมายซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในแบบฟอร์มนั้น เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ชัดว่า ลูกจ้างไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเงินอื่นใดจากนายจ้างทั้งสิ้นนอกจากค่าชดเชยและเงินโบนัสที่ได้รับไปแล้ว ย่อมหมายถึงว่าลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิกจ้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12685/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้มีการเลิกจ้างโดยไม่เป็นหนังสือ
คดีนี้โจทก์นายจ้างฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยพนักงานตรวจแรงงาน ที่สั่งให้โจทก์จ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ จ. ลูกจ้างโดยศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เลิกจ้าง จ. มีผลสมบูรณ์แล้วตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 ดังนั้น สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับ จ. จึงสิ้นสุดลงและมีผลตามกฎหมายนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเพิกถอนการเลิกจ้างนั้นได้อีก แม้ว่าในภายหลังโจทก์จะพบเรื่องที่อ้างว่า จ. กระทำผิดระเบียบวินัยร้ายแรงกรณีละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงาน ติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร การทะเลาะวิวาท และการรับสินบน โจทก์จะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกครั้งหาได้ไม่ เพราะความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างระหว่างโจทก์กับ จ. ได้สิ้นสุดลงไปแล้ว
แม้ จ. ยื่นคำร้องต่อจำเลยเรียกร้องเฉพาะค่าชดเชย และให้การว่าไม่ติดใจเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีกก็ตาม แต่สิทธิที่จะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าของลูกจ้างเป็นสิทธิที่มีกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง กรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการสละสิทธิ และสิทธิที่จะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหาได้ระงับสิ้นไปไม่ เพราะมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งคู่สัญญาตกลงระงับข้อพิพาทให้แก่กันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เมื่อสิทธิดังกล่าวคงมีอยู่ตามกฎหมาย ลูกจ้างจะใช้สิทธิเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติจำกัดสิทธิดังกล่าวของลูกจ้างในการยื่นคำร้องเพื่อให้ดำเนินการได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อจำเลยสอบสวนตามคำร้องของลูกจ้างแล้วปรากฏว่า ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งเป็นเงินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายตามกฎหมาย การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง จึงเป็นคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคสาม คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ จ. ยื่นคำร้องต่อจำเลยเรียกร้องเฉพาะค่าชดเชย และให้การว่าไม่ติดใจเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีกก็ตาม แต่สิทธิที่จะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าของลูกจ้างเป็นสิทธิที่มีกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง กรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการสละสิทธิ และสิทธิที่จะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหาได้ระงับสิ้นไปไม่ เพราะมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งคู่สัญญาตกลงระงับข้อพิพาทให้แก่กันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เมื่อสิทธิดังกล่าวคงมีอยู่ตามกฎหมาย ลูกจ้างจะใช้สิทธิเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติจำกัดสิทธิดังกล่าวของลูกจ้างในการยื่นคำร้องเพื่อให้ดำเนินการได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อจำเลยสอบสวนตามคำร้องของลูกจ้างแล้วปรากฏว่า ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งเป็นเงินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายตามกฎหมาย การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง จึงเป็นคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคสาม คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเพื่อฟ้องคดีแรงงาน: เงื่อนไขและผลของการไม่ปฏิบัติตาม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานสามารถนำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ เงินดังกล่าวเป็นเงินที่นายจ้างต้องวางต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงมิใช่ค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 27 ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ที่ 193/2548 อันเป็นคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 แล้วเป็นฝ่ายนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โจทก์จักต้องนำเงินที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งของจำเลยมาวางศาลจึงจะฟ้องคดีได้ เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลภายในสิบห้าวันโจทก์ไม่ปฏิบัติตามแล้วอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันแล้วศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์ไม่วางเงินภายในกำหนดจึงไม่รับฟ้องของโจทก์แล้วให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ให้โจทก์วางเงินต่อศาลและเมื่อโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลจึงสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์จึงชอบแล้ว
เมื่อโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลแรงงานกลางภายในกำหนดศาลแรงงานกลางจึงไม่รับฟ้องของโจทก์ เช่นนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีได้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
เมื่อโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลแรงงานกลางภายในกำหนดศาลแรงงานกลางจึงไม่รับฟ้องของโจทก์ เช่นนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีได้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31