คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินเชื่อส่วนบุคคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินเชื่อส่วนบุคคลเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด: โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
ข้อกำหนดซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 8 แห่ง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาต ตาม ข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ไว้ในข้อ 4.4 (1) ให้ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ทั้งนี้ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต้องไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ดังกล่าว รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ โดยอัตรารวมสูงสุดไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี แต่ข้อเท็จจริงตามหนังสือแจ้งผลการพิจารณาสินเชื่อบุคคลปรากฏว่า ในการที่โจทก์อนุมัติเงินกู้ให้แก่จำเลยจำนวน 18,900 บาท นั้น โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อปี หรือร้อยละ 15 ต่อปี และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ กับค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการจำนวน 1,000 บาท ซึ่งสามารถคำนวณเป็นร้อยละได้อัตราร้อยละ 5.29 ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ เมื่อรวมอัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและค่าดำเนินการ การอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นอัตราร้อยละ 30.29 เกินกว่าอัตราร้อยละ 28 ต่อปี ที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยค่าบริการและค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้เป็นบุคคลธรรมดา ก็มีความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) ข้อ 3 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับว่า ผู้ประกอบธุรกิจต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี และข้อ 4 ระบุว่า ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่ต่ำกว่าห้าสิบล้านบาท จากข้อกำหนดดังกล่าวแสดงว่า ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับเป็นทางการค้าปกติจะต้องมีคุณสมบัติเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่ต่ำกว่าห้าสิบล้านบาทและต้องดำเนินการขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ของประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว ดังนั้น บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวย่อมไม่มีสิทธิยื่นขอประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับเป็นทางการค้าปกติได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนประกอบธุรกิจดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมมีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อ 5 (7) และข้อ 16 ซึ่งหาใช่เป็นความผิดเฉพาะนิติบุคคลที่ฝ่าฝืนไม่ ดังนี้ เมื่อจำเลยประกอบกิจการในการจัดหามาซึ่งเงินทุนแล้วให้ผู้มีชื่อหลายรายกู้ยืมเงิน อันเป็นการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับโดยไม่ได้เป็นนิติบุคคล และไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อ 5 (7) และข้อ 16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) ข้อ 3 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับว่า ผู้ประกอบธุรกิจต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี และข้อ 4 ระบุว่า ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่ต่ำกว่าห้าสิบล้านบาท จากข้อกำหนดดังกล่าวแสดงว่า ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับเป็นทางการค้าปกติจะต้องมีคุณสมบัติเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่ต่ำกว่าห้าสิบล้านบาทและต้องดำเนินการขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ของประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว ดังนั้นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวย่อมไม่มีสิทธิยื่นขอประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับเป็นทางการค้าปกติได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนประกอบธุรกิจดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมมีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อ 5 (7) และข้อ 16 ซึ่งหาใช่เป็นความผิดเฉพาะนิติบุคคลที่ฝ่าฝืนตามที่จำเลยฎีกาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยประกอบกิจการในการจัดหามาซึ่งเงินทุนแล้วให้ผู้มีชื่อหลายรายกู้ยืมเงิน อันเป็นการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับโดยไม่ได้เป็นนิติบุคคล และไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อ 5 (7) และข้อ 16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ข้อ 5 บัญญัติว่า เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดดังระบุไว้ต่อไปนี้ หรือกิจการอันมีสภาพคล้ายคลึงกัน ให้เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี (7) การจัดหามาซึ่งเงินทุนแล้วให้ผู้อื่นกู้เงินนั้น หรือเอาเงินนั้นซื้อหรือซื้อลดซึ่งตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่น หรือตราสารการเครดิต ข้อ 16 บัญญัติว่า ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ 4 หรือข้อ 5 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 มีใจความว่า "...รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงออกประกาศกำหนดให้การให้สินเชื่อส่วนบุคคลอันเป็นกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการธนาคาร ซึ่งมีลักษณะตามที่ระบุไว้ในประกาศนี้ เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ "สินเชื่อส่วนบุคคล" หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลด ตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด แก่บุคคลธรรมดาโดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการและไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจของตนเอง... ข้อ 2 ให้การประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต... ข้อ 3 ผู้ประกอบธุรกิจต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี..." นั้น เป็นเรื่องที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดังกล่าว ซึ่งจะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเท่านั้น หาใช่มีความหมายว่า กฎหมายมีวัตถุประสงค์จะทำการควบคุมเฉพาะนิติบุคคลที่จะประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับเท่านั้น แต่บุคคลธรรมดาอาจกระทำการดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีและไม่เป็นความผิดต่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ตามที่จำเลยฎีกาไม่ ดังนั้น หากผู้ใดไม่ว่าเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจหรือกิจการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีย่อมมีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาบัตรเครดิต/สินเชื่อส่วนบุคคล กรณีไม่ใช่การเรียกเก็บเงินทดรองจ่าย แต่เป็นการกู้ยืม
จำเลยให้การว่า จำเลยใช้บริการสินเชื่อประเภทบัตรกดเงินสดจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างจากจำเลย รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปเป็นกรณีที่จำเลยให้การว่าหนี้ตามสัญญาสินเชื่อบุคคลกรุงศรี สไมล์ แคช ไลน์ ขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า หนี้ตามสัญญาสินเชื่อบุคคลกรุงศรี สไมล์ แคช ไลน์ ขาดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (7) หรือไม่ เท่านั้น แม้จำเลยจะอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความในทำนองว่า หนี้ส่วนนี้ขาดอายุความ 5 ปี ก็ไม่ทำให้เกิดประเด็นขึ้นเพราะเป็นเรื่องนอกคำให้การ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า หนี้ตามสัญญาสินเชื่อบุคคลกรุงศรี สไมล์ แคช ไลน์ ขาดอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (2) จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ไม่ฎีกาในเรื่องนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
ส่วนที่จำเลยให้การในตอนท้ายต่อมาว่า นับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2561 โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องแต่ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระเงินภายในกำหนดดังกล่าว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความนั้น คำให้การในส่วนนี้ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ชัดแจ้งว่าขาดอายุความเรื่องใด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ 5 ปี ได้ความว่า สินเชื่อบุคคลกรุงศรี สไมล์ แคช ไลน์ เป็นกรณีที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) อนุมัติสินเชื่อเป็นวงเงินกู้ประเภทหมุนเวียนแบบมีกำหนดการชำระคืนขั้นต่ำและหรือแบบมีการกำหนดชำระคืนแน่นอน ซึ่งการเบิกรับเงินกู้สามารถเบิกถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติโดยใช้บัตรกดเงินสดที่ธนาคารออกให้หรือให้ธนาคารนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากหรือวิธีการอื่น ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากเงินกู้นับแต่วันที่ขอเบิกถอนเงินแต่ละครั้ง รูปคดีจึงเป็นสัญญาบริการสินเชื่อหาใช่เป็นเรื่องผู้ประกอบธุรกิจรับทำงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างรวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อนแล้วมาเรียกเก็บจากจำเลยภายหลัง สิทธิเรียกร้องเช่นนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มิใช่ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (7) ฟ้องโจทก์สำหรับหนี้สินเชื่อบุคคลกรุงศรี สไมล์ แคช ไลน์ จึงไม่ขาดอายุความ