พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ทรัพย์ขายฝากต้องแสดงเจตนาและนำเงินสินไถ่พร้อมค่าฤชาธรรมเนียมไปชำระ ณ วันไถ่
การใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากนั้นโจทก์ทั้งสองผู้ขายฝากจะต้องแสดงเจตนาเพื่อขอไถ่ต่อจำเลยผู้รับซื้อฝากและจะต้องนำสินไถ่ตามราคาที่ขายฝากพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมการไถ่ไปพร้อมในวันไถ่การขายฝากด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา499และมาตรา500เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ไถ่มีหน้าที่จะต้องชำระตอบแทนให้แก่จำเลยฉะนั้นแม้โจทก์ทั้งสองจะยืนยันว่าโจทก์ทั้งสองมีเงินพร้อมที่จะไถ่การขายฝากที่ดินจากจำเลยก็ตามแต่ไม่ปรากฎว่าโจทก์ทั้งสองได้แสดงเงินสินไถ่ให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินดูและให้บันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าโจทก์ทั้งสองมีเงินเพียงพอที่จะไถ่การขายฝากแต่กลับได้ความจากว.พยานจำเลยซึ่งเป็นสมุห์บัญชีธนาคารว่าได้รับการติดต่อจากจำเลยให้มารับเงินจากการไถ่การขายฝากที่ดินแต่โจทก์ทั้งสองบอกให้รอนายทุนนำเงินมาไถ่ซึ่งในวันนั้นไม่มีผู้ใดมาไถ่ที่ดินพิพาทแสดงว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีเงินสินไถ่จำนวนเพียงพอที่จะไถ่การขายฝากจากจำเลยได้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิไถ่โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าที่ดินขายฝากเป็นสิทธิแยกต่างหากจากสินไถ่ โจทก์มีสิทธิพิสูจน์ข้อตกลงได้โดยไม่ต้องห้ามตามมาตรา 94
ข้อตกลงของคู่สัญญาขายฝากเกี่ยวกับค่าเช่าทรัพย์สินที่ขายฝากถ้ามิได้จดแจ้งลงไว้ในสัญญาขายฝากเป็นอย่างอื่น คู่สัญญาย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงในเรื่องนี้ได้ เพราะค่าเช่าซึ่งเป็นดอกผลของทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นเงินต่างก้อนกับสินไถ่ซึ่งเป็นราคาไถ่ถอนที่ดินขายฝาก การนำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเช่าระหว่างกำหนดเวลาขายฝาก จึงไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาขายฝากอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากและเช่าไม่เป็นโมฆะ แม้กำหนดสินไถ่ต่างราคาขายฝาก หรือทำสัญญาเช่าหลังครบกำหนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 499 แสดงว่า แม้คู่สัญญาขายฝากกันเป็นเงินเท่าใดก็ตาม ก็ยอมให้คู่สัญญากำหนดเงินสินไถ่แตกต่างจากเงินราคาขายฝากได้และไม่จำกัดจำนวน และเมื่อคู่สัญญาไม่ได้กำหนดสินไถ่ไว้ ก็ให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝากฉะนั้น เมื่อคู่สัญญาระบุจำนวนเงินราคาขายฝากไว้โดยไม่ระบุสินไถ่อีก ผู้ขายฝากก็ไถ่ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้นั้น ซึ่งแม้ผิดกับราคาขายฝาก ก็มีผลเช่นเดียวกับระบุสินไถ่ไว้ สัญญาขายฝากไม่เป็นโมฆะ การกำหนดสินไถ่ไม่ใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ ไม่ขัดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 ไม่ผิดพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 อัตราค่าเช่านั้นกฎหมายมิได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากและเช่าทรัพย์: การกำหนดสินไถ่และอัตราค่าเช่าเป็นไปตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 499 แสดงว่า แม้คู่สัญญาขายฝากกันเป็นเงินเท่าใดก็ตาม ก็ยอมให้คู่สัญญากำหนดเงินสินไถ่แตกต่างจากเงินราคาขายฝากได้และไม่จำกัดจำนวน และเมื่อคู่สัญญาไม่ได้กำหนดสินไถ่ไว้ ก็ให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝากฉะนั้น เมื่อคู่สัญญาระบุจำนวนเงินราคาขายฝากไว้โดยไม่ระบุสินไถ่อีกผู้ขายฝากก็ไถ่ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้นั้นซึ่งแม้ผิดกับราคาขายฝาก ก็มีผลเช่นเดียวกับระบุสินไถ่ไว้สัญญาขายฝากไม่เป็นโมฆะการกำหนดสินไถ่ไม่ใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ ไม่ขัดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 ไม่ผิดพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 อัตราค่าเช่านั้นกฎหมายมิได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598-601/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจับคนเพื่อสินไถ่สำเร็จเมื่อหน่วงเหนี่ยวกักขัง แม้ยังไม่ได้รับเงินสินไถ่ก็ได้
ความผิดฐานจับคนเพื่อสินไถ่ ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา270 แก้ไขเมื่อ พ.ศ.2477 ย่อมสำเร็จบริบูรณ์ตั้งแต่ขณะที่จำเลยจับกุมพาบุคคลไปโดยใช้กำลังขู่เข็ญให้ไปด้วยความกลัว แม้ยังมิได้รับเงินค่าไถ่เลยก็ตาม
คำวิเคราะห์ศัพท์ว่าสินไถ่ในกฎหมายลักษณะอาญานั้น เป็นคำหมายแสดงลักษณะของคำว่าสินไถ่มิใช่องค์บัญญัติแห่งความผิด
สินไถ่หรือสินจ้างไม่จำเป็นว่าต้องให้ตอบแทนทันทีในขณะที่ปล่อยคนที่ถูกจับเสมอจะให้ก่อนปล่อยหรือภายหลังการปล่อยก็ได้ ความหมายอันสำคัญเพียงว่าเป็นสินจ้างหรือสินไถ่ เพื่อแลกเปลี่ยนกับคนที่ถูกจับกลับคืนมาเท่านั้น
คำวิเคราะห์ศัพท์ว่าสินไถ่ในกฎหมายลักษณะอาญานั้น เป็นคำหมายแสดงลักษณะของคำว่าสินไถ่มิใช่องค์บัญญัติแห่งความผิด
สินไถ่หรือสินจ้างไม่จำเป็นว่าต้องให้ตอบแทนทันทีในขณะที่ปล่อยคนที่ถูกจับเสมอจะให้ก่อนปล่อยหรือภายหลังการปล่อยก็ได้ ความหมายอันสำคัญเพียงว่าเป็นสินจ้างหรือสินไถ่ เพื่อแลกเปลี่ยนกับคนที่ถูกจับกลับคืนมาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476-477/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมคบกันแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานหลอกลวงเรียกสินไถ่ ความผิดตาม ม.304 และบทอื่น
จำเลยสมคบกันแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานจับหญิงไปขังไว้แล้วให้พรรคพวกไปหลอกลวงผู้ปกครองหญิงให้ ๆ เงินแก่ตนโดยอ้างว่าจะเอาไปให้ตำรวจเพื่อให้ปล่อยตัวหญิงนั้น ต้องมีผิดตาม ม.304 ด้วยบุคคลธรรมดาที่สมคบกันเจ้าพนักงานไปกระทำผิดต้องตาม ม.136 ไม่มีผิดตามมาตรานี้
พฤตติการณ์ที่เป็นผิดตาม ม.136
โจทก์ฟ้องบรรยายความแต่เพียงว่ามีผู้พาหญิงไปหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ที่บ้านจำเลยลอย ๆ ดังนี้ ไม่นับว่าเป็นฟ้องอันถูกต้องตาม ม.158(5) โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักพาหญิงไปเรียกค่าไถ่ขอให้ลงโทษตาม ม.136-270 และ 303 แต่ศาลเห็นว่าจำเลยมีผิดตาม ม.304 ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้
พฤตติการณ์ที่เป็นผิดตาม ม.136
โจทก์ฟ้องบรรยายความแต่เพียงว่ามีผู้พาหญิงไปหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ที่บ้านจำเลยลอย ๆ ดังนี้ ไม่นับว่าเป็นฟ้องอันถูกต้องตาม ม.158(5) โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักพาหญิงไปเรียกค่าไถ่ขอให้ลงโทษตาม ม.136-270 และ 303 แต่ศาลเห็นว่าจำเลยมีผิดตาม ม.304 ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังคำพิพากษาไถ่ถอน: ต้องชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์ก่อน จึงจะได้กรรมสิทธิ์
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 ผู้ไถ่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากก็ต่อเมื่อได้ชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่แล้ว ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทโดยปลอดจำนองและรับสินไถ่ตามคำขอบังคับของผู้ร้อง แต่เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้ชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ กรรมสิทธิ์จึงยังไม่ตกเป็นของผู้ร้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ดินพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท