คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิ้นผลบังคับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8397/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นผลบังคับของกรมธรรม์ประกันภัยต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง การเปลี่ยนมือผู้เช่าซื้อไม่ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์
กรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่า กรมธรรม์นี้จะสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้ผู้อื่นนั้น ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในวัตถุที่เอาประกันภัยโดยแท้จริง การที่จำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท จ.แล้วโอนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าซื้อแทนโดยมิได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวนั้น เป็นแต่เพียงจำเลยที่ 2เข้าสวมสิทธิแทนจำเลยที่ 3 เท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์พิพาทจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวต่อโจทก์ด้วย แม้โจทก์ไม่ได้ซ่อมแซมรถยนต์ของโจทก์โดยขายไปในสภาพที่ถูกชนก็ตาม จำเลยที่ 4ก็ต้องชดใช้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8397/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นผลบังคับของกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อมีการโอนสิทธิเช่าซื้อ ไม่ใช่โอนกรรมสิทธิ์ ผู้รับประกันภัยยังคงต้องรับผิด
กรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่า กรมธรรม์นี้จะสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้ผู้อื่นนั้น ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในวัตถุที่เอาประกันภัยโดยแท้จริงการที่จำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 เช่าซื้อรถยนต์ จากบริษัท จ. แล้วโอนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าซื้อแทนโดยมิได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ คันดังกล่าวนั้น เป็นแต่เพียงจำเลยที่ 2 เข้าสวมสิทธิ แทนจำเลยที่ 3 เท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 4 ในฐานะ ผู้รับประกันภัยรถยนต์พิพาทจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ดังกล่าวต่อโจทก์ด้วย แม้โจทก์ไม่ได้ซ่อมแซมรถยนต์ ของโจทก์โดยขายไปในสภาพที่ถูกชนก็ตาม จำเลยที่ 4 ก็ต้องชดใช้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งรายได้เลี้ยงดูบุตรสิ้นผลบังคับแล้ว ไม่ใช่เหตุให้ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอ้างสัญญาเดิมได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นภรรยาของจำเลย ต่อมาได้ตกลงแยกกันอยู่ โดยจำเลยตกลงทำสัญญาแบ่งรายได้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองที่จำเลยมอบภาระให้โจทก์ ในอัตราเศษหนึ่งส่วนสามของรายได้ประจำเดือนที่จำเลยได้รับจนกว่าบุตรทั้งสองคนจะบรรลุนิติภาวะ หรือจนกว่าโจทก์จะยอมหย่าขาดจากจำเลย เมื่อบุตรทั้งสองบรรลุนิติภาวะแล้วจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โดยถือเอาจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามข้อกำหนดในท้ายสัญญาท้ายฟ้องตลอดมาต่อมาจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์เพียงเดือนละ1,200 บาทเท่านั้น ซึ่งจำเลยมีหน้าที่แบ่งรายได้ให้โจทก์หนึ่งในสามส่วนเป็นเงิน 1,860 บาท ไม่ครบตามข้อตกลง ขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โดยแบ่งเงินรายได้ประจำเดือนให้โจทก์หนึ่งในสามส่วนเป็นเงิน 1,860บาททุกเดือน ดังนี้ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์ถือเอาอัตราและจำนวนเงินที่จำเลยเคยจ่ายให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอ้างข้อตกลงตามสัญญาแบ่งเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นหลักในการคำนวณจำนวนเงินที่จำเลยเคยจ่ายให้โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่โจทก์นำสัญญาแบ่งรายได้เลี้ยงดูบุตรที่สิ้นผลบังคับแล้ว (เพราะบุตรบรรลุนิติภาวะ) มาฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดไม่
กรณีภรรยาฟ้องให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ครบตามจำนวนที่เคยจ่ายให้ภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1594 ที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ไร้ทรัพย์สินและมิสามารถหาเลี้ยงตนเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายเลิกใช้มีผลย้อนหลัง: พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามอำนาจกฎหมายที่ถูกยกเลิก ย่อมสิ้นผลบังคับใช้ แม้การกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนยกเลิก
เมื่อมีกฎหมายยกเลิกพระราชบัญญัติมอบอำนาจให้ออกพระราชกฤษฎีกาแล้ว พระราชกฤษฎีกานั้นก็ย่อมสิ้นผลบังคับไปด้วย ในกรณีเช่นนี้ จำเลขถูกฟ้องหาว่าได้กระทำความผิด พ.ร.ก.ย่อมได้รับประโยชน์จากกฎหมายยกเลิกนั้นโดยศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยมาบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุมัติทุเลาภาษีอากรหลังมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ใหม่ คำสั่งเดิมสิ้นผลบังคับ ไม่ต้องพิจารณาความชอบด้วยกฎหมาย
ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า"การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ถ้าไม่เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 เว้นแต่กรณีที่ผู้อุทธรณ์ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้ ก็ให้มีหน้าที่ชำระภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือได้รับทราบคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี" และคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรของโจทก์เป็นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรไว้ระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร พ.ศ.2546 ข้อ 14 (1) ซึ่งโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวพร้อมกับคำอุทธรณ์การประเมินเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 แม้ต่อมาวันที่ 12 มกราคม 2555 จำเลยมีคำสั่งไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรซึ่งโจทก์ยื่นอุทธรณ์และจำเลยมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่อนุมัติให้ทุเลาและยกอุทธรณ์โจทก์ก็ตาม แต่ปรากฏว่าต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ได้อุทธรณ์การประเมินฉบับลงวันที่ 24 มิถุนายน 2554 ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานชอบแล้วแต่ให้ลดเบี้ยปรับลงกึ่งหนึ่ง โดยวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ดังนั้น คำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินภาษีย่อมสิ้นผลบังคับแล้ว ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์อีกต่อไป จึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าการขอทุเลาการเสียภาษีอากรของโจทก์ในระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่