คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สืบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7422/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาที่ไม่ตรงกับความผิดที่สืบสวน และการลงโทษโดยไม่ใช้ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การสอบสวนเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ซึ่งการแจ้งข้อหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ก็เป็นขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวนเพื่อต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนจะถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดเท่านั้น แม้เดิมจะแจ้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนไปแล้วปรากฏว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานอื่นก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 มีโคคาอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 69 วรรคสาม จำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี จึงไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำให้การรับสารภาพตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และเมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยสมัครใจ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้อง แม้โคคาอีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจะมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงจำนวนถึงข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ได้ความ หาได้ลงโทษจำเลยที่ 1 โดยฟังข้อสันนิษฐานของกฎหมายมาปรับใช้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุม-สืบสวนข้ามเขต: ความผิดต่อเนื่องและความผิดซึ่งหน้า
แม้จ่าสิบตำรวจ ส.เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (16) จ่าสิบตำรวจ ส.มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้ และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้น เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส.ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78, 81 และ 92
จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2 ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส.เป็นความผิดซึ่งหน้า เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส.จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1 ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส.เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส.ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 81 (1), 92 (2)
การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนและสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามป.วิ.อ.มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสาม (ก) พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ: วงเงินตกลง, การสืบสวนข้อเท็จจริง, การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย, การตีความสัญญา
จำเลยตกลงจ้างโจทก์ในการสืบสวนหาข้อเท็จจริงจากภรรยาจำเลยในประเทศไทยว่า จำเลยจะถูกฟ้องข้อหาให้สินบนเจ้าพนักงานหรือไม่ และขอคำแนะนำทางด้านกฎหมาย ถ้าจำเป็นก็ให้ตั้งทนายความสู้คดี โดยกำหนดจำนวนเงิน 20,000 บาท เป็นค่าจ้างเหมาในกิจการดังกล่าว การที่โจทก์สืบสวนข้อเท็จจริงให้คำปรึกษาและแนะนำแก่จำเลย เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าคู่กรณีต่างตกลงคิดค่าจ้างกันเป็นรายชั่วโมงหรือโจทก์แจ้งจำเลยขอคิดค่าจ้างนอกเหนือจากเงินจำนวน 20,000 บาทเป็นพิเศษ ต้องถือว่าจำเลยตกลงจ้างโจทก์กระทำการในวงเงิน 20,000 บาท โจทก์ไม่อาจเรียกร้องเอาเงินค่าใช้จ่ายอย่างอื่นนอกวงเงินที่จำเลยกำหนด แม้เพื่อใช้จ่ายในกิจการดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ตำรวจในการสืบสวนคดีอาญา: การกระทำที่ไม่เข้าข่ายละเว้นหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย การที่จำเลยทราบจากผู้เสียหายว่ามีคนร้ายลักทรัพย์ผู้เสียหาย แล้วจำเลยพูดว่า เรื่องนี้พอสืบได้แต่ต้องไถ่ทรัพย์คืนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายลักทรัพย์หรือรับของโจรรายนี้และยังไม่รู้ว่าทรัพย์ที่ถูกลักรายนี้ถูกเก็บรักษาไว้ ณ ที่ใด ทั้งยังไม่ได้มีการแจ้งความออกหมายจับคนร้าย จำเลยจึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะจับกุมผู้ใดมาดำเนินคดีหรือนำทรัพย์ที่ถูกลักไปมาคืนผู้เสียหายหรือส่งมอบพนักงานสอบสวน ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 157.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ตำรวจ: การสืบสวนคดีอาญาและการจับกุมผู้ต้องสงสัย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย การที่จำเลยทราบจากผู้เสียหายว่ามีคนร้ายลักทรัพย์ผู้เสียหายแล้วจำเลยพูดว่าเรื่องนี้พอสืบได้แต่ต้องไถ่ทรัพย์คืนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายลักทรัพย์หรือรับของโจรรายนี้ และยังไม่รู้ว่าทรัพย์ที่ถูกลักรายนี้ถูกเก็บรักษาไว้ ณ ที่ใด ทั้งยังไม่ได้มีการแจ้งความออกหมายจับคนร้าย จำเลยจึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะจับกุมผู้ใดมาดำเนินคดีหรือนำทรัพย์ที่ถูกลักไปมาคืนผู้เสียหายหรือส่งมอบพนักงานสอบสวน ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสืบสวนตามหน้าที่ ไม่ถือเป็นความผิดหมิ่นประมาท หากกล่าวตามข่าวลือโดยไม่มีเจตนาให้เชื่อ
การที่จำเลยให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับบัญชาของจำเลยแต่งตั้งขึ้นเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีที่มีผู้กล่าวหา ส. ว่าประพฤติและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยกล่าวว่า จำเลยได้ยิน ข่าวเล่าลือว่า ส. กับโจทก์เดิน ด้วยกันนอกโรงเรียนและมีความสัมพันธ์ถึงขั้นได้เสียกับโจทก์นั้น เป็นการกล่าวในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปให้ถ้อยคำเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอันเป็นส่วนรวม และเป็นการกล่าวไปตามข่าวลือ ไม่ยืนยันว่าเป็นความจริง และไม่ตั้งใจให้ผู้ฟังเชื่อ ว่าโจทก์มีพฤติกรรมตามข่าวลือนั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการเกิดไม่ใช่การยอมรับความเป็นบุตร เจ้าหน้าที่รับแจ้งไม่มีหน้าที่สืบสวน
การที่ ล. ไปแจ้งการเกิดของโจทก์ตามสูติบัตรว่าโจทก์เป็นบุตร ล. กับ ส. นั้นจะสันนิษฐานว่าโจทก์เป็นบุตรล.บิดากับส. มารดายังไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งการเกิดมีหน้าที่แต่เพียงรับแจ้งเท่านั้นไม่มีหน้าที่สืบสวนความจริงก่อนรับแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินรางวัลเจ้าพนักงาน: ต้องทำการทั้งสืบสวนและจับกุม หรือแจ้งเบาะแสจนจับกุมได้
ระเบียบการจ่ายเงินรางวัลฝิ่น พ.ศ. 2490 ข้อ 4 ที่ว่า "เงินรางวัลเจ้าพนักงาน คือ เงินจ่ายให้แก่เจ้าพนักงานผู้ที่ได้ทำการสืบสวนจับกุมจนเป็นผลสำเร็จด้วยตนเอง ฯลฯ" นั้น หมายถึงการจ่ายให้เจ้าพนักงานผู้ที่ได้ทำการทั้งสืบสวนและจับกุม ฉะนั้น เจ้าพนักงานซึ่งทำการจับกุมแต่อย่างเดียวมิได้ร่วมสืบสวนด้วย จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล
การไม่จ่ายเงินรางวัลหรือจ่ายน้อยกว่าระเบียบข้อ 19 นั้น จะต้องมีเหตุผล และต้องเป็นเหตุผลที่ชอบที่ควร ตามนัยแห่งฎีกาที่ 1153/2508.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินรางวัลเจ้าพนักงานจากการจับฝิ่น ต้องทำการสืบสวนและจับกุมเอง หรือนำความมาแจ้งจนจับกุมได้
ระเบียบการจ่ายเงินรางวัลฝิ่น พ.ศ.2490 ข้อ 4 ที่ว่า'เงินรางวัลเจ้าพนักงานคือ เงินจ่ายให้แก่เจ้าพนักงานผู้ที่ได้ทำการสืบสวนจับกุมจนเป็นผลสำเร็จด้วยตนเองฯลฯ' นั้น หมายถึงการจ่ายให้เจ้าพนักงานผู้ที่ได้ทำการทั้งสืบสวนและจับกุม ฉะนั้นเจ้าพนักงานซึ่งทำการจับกุมแต่อย่างเดียวมิได้ร่วมสืบสวนด้วยจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล
การไม่จ่ายเงินรางวัลหรือจ่ายน้อยกว่าระเบียบข้อ 19นั้น จะต้องมีเหตุผลและต้องเป็นเหตุผลที่ชอบที่ควรตามนับแห่งฎีกาที่ 1153/2508

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานโดยไม่มีอำนาจกระทำการสืบสวน ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 145
การกระทำที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 145 ต้องได้ความว่า นอกจากได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานแล้ว ต้องกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้นด้วย
จำเลยมิได้เป็นตำรวจสันติบาล ได้แสดงตัวเป็นตำรวจสันติบาล ได้ถามถึงเรื่องคนร้าย แล้วจดชื่อลงในสมุดพก โดยจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะทำการสืบสวนหาตัวคนร้ายอย่างจริงจัง ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 145
of 3