คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สืบแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7846/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดและสืบต่อสัญญาเช่าที่ดินเกษตรกรรม ผลกระทบจากการยับยั้งการบอกเลิกสัญญา และสิทธิของผู้เช่าสืบแทน
เมื่อการเช่านาพิพาทของ ข. ซึ่งเดิมอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านาฯ และต่อมาอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ฉบับใหม่ ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาการเช่านาในวันที่ 6 มกราคม 2541 ครั้นเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้บอกเลิกการเช่านาและ คชก. ตำบล ประจำแขวงบางชัน มีมติยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาพิพาทไว้จำนวน 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 ปี จึงมีผลให้ ข. ผู้เช่านามีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไปอีกเป็นเวลา 2 ปี จนถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 หลังจากนั้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาของ ข. ผู้เช่านา ย่อมสิ้นสุดลงไปในตัว ผู้เช่านาไม่มีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไป และเมื่อ ข. ผู้เช่านาถึงแก่ความตายในวันที่ 10 ธันวาคม 2541 โดยมีจำเลยเป็นผู้เช่านาสืบแทน ข. ต่อไป โดยในการเช่าสืบแทนผู้เช่าสืบแทนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าที่มีต่อผู้ให้เช่าตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ บัญญัติไว้ จำเลยจึงมีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไปจนถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 หลังจากนั้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงไปในตัว และจำเลยไม่มีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไปเช่นเดียวกัน โดยโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ต้องมีหนังสือแจ้งบอกเลิกการเช่านาแก่จำเลย พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ คชก. ประจำแขวงบางชันทราบตามเงื่อนไขและวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ อีก เมื่อการเช่านาพิพาทสิ้นสุดลงในวันที่ 6 มกราคม 2543 แล้ว จำเลยยังไม่ยอมออกจากที่นาพิพาท โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่นาพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องมรดกสืบแทนและการร้องสอดคดีแบ่งมรดกของผู้มีสิทธิรับมรดก
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและ ครอบครองทรัพย์มรดกแบ่งทรัพย์ในกองมรดกให้ และคดีอยู่ในระหว่าง การพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องผู้มีสิทธิรับมรดกที่มีอยู่ ในกองมรดกก็ มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้ได้ ผู้ร้อง ย่อมมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(1) และ ป.พ.พ. มาตรา 1749 ศาลชั้นต้น จะยก คำร้องสอดอ้างว่าทำให้คดีล่าช้าไม่สะดวกแก่การพิจารณา พิพากษาหาได้ไม่ แม้ว่าผู้ร้องจะชำระค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจที่จะสั่งให้ชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในระยะเวลาหรือเงื่อนไข ที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงจะมีอำนาจสั่งไม่รับคำร้องสอดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทโดยการสืบแทนและการร้องสอดคดีแบ่งมรดก
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและครอบครองทรัพย์มรดกแบ่งทรัพย์ในกองมรดกให้ และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องผู้มีสิทธิรับมรดกที่มีอยู่ในกองมรดกก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้ได้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 ศาลชั้นต้นจะยกคำร้องสอดอ้างว่าทำให้คดีล่าช้าไม่สะดวกแก่การพิจารณาพิพากษาหาได้ไม่ แม้ว่าผู้ร้องจะชำระค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจที่จะสั่งให้ชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนด ศาลชั้นต้นจึงจะมีอำนาจสั่งไม่รับคำร้องสอดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961-3962/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดกนับจากวันตายเจ้ามรดก และสิทธิทายาทสืบแทน
อายุความฟ้องร้องคดีมรดก ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่เจ้ามรดกตาย
มารดาของจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์และเจ้ามรดก เมื่อมารดาจำเลยสละมรดก จำเลยซึ่งเป็นบุตรจึงมีสิทธิ สืบมรดกได้ตามมาตรา 1615 และมีฐานะเป็นทายาทของเจ้ามรดก ในลำดับเดียวกับโจทก์ มีสิทธิยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามมาตรา 1755

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำพยานบุคคลสืบแทนสัญญาประนีประนอมที่เสียหายจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า เงินค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้เป็น 2 ฉบับต่างยึดถือไว้ฝ่ายละ 1 ฉบับ แต่ฉบับที่จำเลยเก็บรักษาถูกไฟไหม้เสียหายโดยเหตุสุดวิสัยไม่อาจนำมาอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาจำเลยจึงนำพยานบุคคลมาสืบแทนได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นหุ้นส่วนสืบแทนและการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกิจการ
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นตกลงยินยอมให้จำเลยบุตรของหุ้นส่วนที่ตายนั้นเข้าเป็นหุ้นส่วนแทน ต่อมาหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งตาย ไม่มีใครเข้าเป็นหุ้นส่วนแทน คงดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนต่อมาระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น จนมีเหตุที่จำเลยถือตนเป็นเจ้าของโรงสีของห้างหุ้นส่วนเสียคนเดียว ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นย่อมฟ้องจำเลยขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้
เมื่อจำเลยเข้าเป็นตัวหุ้นส่วนสืบแทนบิดาแล้ว แม้บิดาจำเลยจะตายมาเกิน 1 ปี ก่อนที่จะมีการฟ้องร้องเลิกห้างหุ้นส่วนและขอแบ่งทรัพย์สิน จำเลยก็ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งเป็นเรื่องเจ้ามรดกเป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นหุ้นส่วนแทนและการฟ้องเลิกห้างหุ้นส่วน: จำเลยไม่อาจอ้างอายุความเมื่อเข้าเป็นหุ้นส่วนสืบแทน
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย.ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นตกลงยินยอมให้จำเลยบุตรของหุ้นส่วนที่ตายนั้นเข้าเป็นหุ้นส่วนแทน. ต่อมาหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งตาย ไม่มีใครเข้าเป็นหุ้นส่วนแทน. คงดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนต่อมาระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น. จนมีเหตุที่จำเลยถือตนเป็นเจ้าของโรงสีของห้างหุ้นส่วนเสียคนเดียว. ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นย่อมฟ้องจำเลยขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้.
เมื่อจำเลยเข้าเป็นตัวหุ้นส่วนสืบแทนบิดาแล้ว. แม้บิดาจำเลยจะตายมาเกิน 1 ปี ก่อนที่จะมีการฟ้องร้องเลิกห้างหุ้นส่วนและขอแบ่งทรัพย์สิน. จำเลยก็ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754. ซึ่งเป็นเรื่องเจ้ามรดกเป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำพยานบุคคลสืบแทนเอกสารหาย: เหตุสูญหาย/ทำลายต้องชัดเจน
การที่จะนำพยานบุคคลมาสืบแทนต้นฉบับเอกสารที่ว่าหายนั้นจะต้องให้ได้ความว่าเอกสารนั้นหายไปอย่างไร และเก็บไว้ที่ไหน เพราะศาลจะรับฟังคำพยานเช่นนี้ก็ต่อเมื่อเอกสารหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยเท่านั้น