พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7776/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตเบิกจ่ายเงินค่าจ้างโดยมิชอบ สร้างความเสียหายแก่สุขาภิบาล
จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งปลัดสุขาภิบาล ค. ได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากสุขาภิบาล ค. ให้เป็นผู้ตรวจงานจ้างในการจ้างเหมาขุดลอกและล้างทางระบายน้ำในเขตสุขาภิบาล ค. และจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าพนักงานได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากสุขาภิบาล ค. ให้จำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการตรวจการจ้าง จำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 เป็นกรรมการตรวจการจ้างในการจ้างก่อสร้างถนนลาดยางแอสฟัลต์ในเขตสุขาภิบาล ค. แม้สัญญาจ้างขุดลอกและล้างทางระบายน้ำได้ระบุชื่อ ส.เป็นผู้รับจ้าง แต่ ส.ไม่เคยเกี่ยวข้องหรือมีส่วนรู้เห็นในการรับจ้างขุดลอกและล้างทางระบายน้ำของสุขาภิบาล ค. อีกทั้งลายมือชื่อในช่องผู้รับจ้างตามสัญญาข้อตกลงจ้างลายมือชื่อในช่องผู้รับเงินตามใบเสร็จรับเงินและลายมือชื่อในช่องผู้รับเงินตามฎีกาเบิกเงินมิใช่ลายมือชื่อของ ส. หากแต่จำเลยที่ 1 เข้าไปจัดการให้ตั้งแต่ขอตั้งฎีกาเบิกเงินและรับเงินเอาไปเองโดยไม่ปรากฏมีตัว ส.เข้าไปแสดงตนเพื่อขอเบิกเงินตามที่ได้รับจ้างขุดลอกและล้างทางระบายน้ำแต่อย่างใด เมื่อ ส.มิใช่เป็นผู้รับจ้างทำงานรายนี้ การที่จำเลยที่ 1 ได้เข้าดำเนินการขุดลอกและล้างทางระบายน้ำโดยใช้คนงานของสุขาภิบาล ค.ทำงานให้ จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นปลัดสุขาภิบาล ค.ถือว่าเป็นผู้มีหน้าที่จัดการและดูแลกิจการของสุขาภิบาล ค. เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการดังกล่าวโดยจ่ายค่าจ้างคนงานเพียง 1,750 บาท แต่เบิกเงินค่าจ้างตามสัญญาไป 2,900 บาทเป็นเหตุให้สุขาภิบาล ค.ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 152, 157 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 152 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด(ทวีชัย เจริญบัณฑิต - ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา - พิชัย เตโชพิทยากูล)ศาลจังหวัดปัตตานี นายไกรรัตน์ วีรพัฒนาสุวรรณศาลอุทธรณ์ นายประจวบ พัชนีรัตนกรณ์
นายชีพ จุลมนต์ - ตรวจ
นายบุญส่ง โพธิ์พุทธชัย - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเจตนากร ปุญญะปัญญา - นิติกร/ย่อ
สุมาลี พิมพ์
นายชีพ จุลมนต์ - ตรวจ
นายบุญส่ง โพธิ์พุทธชัย - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเจตนากร ปุญญะปัญญา - นิติกร/ย่อ
สุมาลี พิมพ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บทกำหนดโทษโดยอนุโลมจากกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในคดีเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์โดยไม่มีสิทธิมิได้บัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตราหนึ่งมาตราใดและตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา7แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495และให้ใช้ความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา7ว่าการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน(4)ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมนั่นก็คือให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมซึ่งต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3มีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา7(4)ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นมิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมดดังนั้นจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ.2482มาตรา72ซึ่งอยู่ในหมวด9อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษโดยเฉพาะมาใช้บังคับโดยอนุโลมหาได้ไม่ฉะนั้นเมื่อจำเลยไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ในวันเกิดเหตุโดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งถือว่าการกระทำของจำเลยในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้โจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยไม่ได้ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทบัญญัติกฎหมายเลือกตั้งสุขาภิบาล การนำบทบัญญัติกฎหมายอื่นมาใช้โดยอนุโลมต้องตีความอย่างเคร่งครัด
พระราชบัญญัติ สุขาภิบาลพ.ศ.2495ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ โดยไม่มีสิทธิมิได้บัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตราหนึ่งมาตราใดและตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา7แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495และให้ใช้ความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา7ว่า"การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน(4)ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม"เมื่อพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3บัญญัติวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามความใน(4)แห่งมาตรา7ของพระราชบัญญัติดังกล่าวคือให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นทั้งนี้เพราะตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลไว้มิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมดดังนั้นจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ.2482มาตรา72ซึ่งอยู่ในหมวด9อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษโดยเฉพาะมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วยหาได้ไม่ดังนั้นเมื่อจำเลยไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ในวันเกิดเหตุโดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งถือว่าการกระทำของจำเลยในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของกรรมการสุขาภิบาลต่อความเสียหายจากการทุจริตและการละเลยหน้าที่
ข้ออ้างว่าฟ้องเคลือบคลุมตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นคนละเหตุกับที่อ้างต่อสู้มาในคำให้การ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
ตามระเบียบระบุให้ปลัดสุขาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับกรรมการอื่นในการเก็บและรักษาเงิน หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินโดยการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจากการปฏิบัติหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้คืนจำเลยที่ 3 เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์ แต่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ ในทางปฏิบัติของโจทก์เอง จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่เข้าไปควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยตรง ดังนั้นการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ กรณีไม่ต้องตามระเบียบที่จะให้จำเลยที่ 3 ชดใช้เงินแก่โจทก์
ในการถอนเงินฝากมีระเบียบให้เป็นหน้าที่ของประธานสุขาภิบาล ปลัดสุขาภิบาล และหัวหน้าหน่วยการคลังลงชื่อถอนร่วมกันการไปรับหรือส่งเงินที่ธนาคารหรือที่แห่งใด ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่สุขาภิบาลไปรับหรือส่งเงินลำพังผู้เดียว ต้องมีกรรมการไปรับหรือส่งเงินร่วมกันรับผิดชอบเป็นคณะกรณีจำนวนเงินเกิน 30,000 บาท จะต้องมีกรรมการควบคุมร่วมกันอย่างน้อย3 คน ระเบียบดังกล่าวมีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันการผิดพลาดเกี่ยวกับตัวเงินที่อาจขาดจำนวนหรือสูญหาย และเพื่อไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องทุจริต การที่จำเลยที่ 1เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโจทก์ปล่อยให้ ร.สมุห์บัญชีของโจทก์ถอนเงินตามลำพังและเบียดบังเอาเงินไป จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1ต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยเฉพาะจำเลยที่ 4 ยังเป็นหัวหน้าหน่วยการคลังของโจทก์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย มีเงินผลประโยชน์ของโจทก์ประเภทต่าง ๆ ไม่นำส่งเป็นรายได้ของโจทก์ เงินของโจทก์ที่เบิกมาใช้จ่ายในรายการต่าง ๆ ไม่มีหลักฐานการรับจ่าย และเงินที่ขาดหายไปเพราะลงบัญชีผิดพลาดจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยหน้าที่นอกจากเป็นกรรมการเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยแล้ว ยังต้องร่วมกันตรวจสอบตัวเงินและหลักฐานแทนตัวเงินและรายงานคงเหลือประจำวันตามระเบียบ แต่ไม่ปรากฎว่าในช่วงเวลาที่มีการทุจริตเบียดบังเงินของโจทก์ไปได้มีการตรวจสอบรายงานคงเหลือประจำวันรวมทั้งบัญชีต่าง ๆ จึงเป็นช่องทางให้ ร.ทำการทุจริตขึ้นได้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ ร.และมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบเงินของโจทก์เป็นรายวันจะอ้างว่า ร.ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 4 ปล่อยปละละเลยและประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายต้องรับผิด
คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งรายงานผลการสอบสวนว่ามีบุคคลใดบ้างที่ต้องรับผิดทางแพ่งซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ด้วย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบและผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้เรียกร้องแก่ผู้ต้องรับผิดทางแพ่งใช้เงินแก่โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์โดยผู้ว่าราชการจังหวัดผู้มีอำนาจสั่งการรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานผลการสอบสวน ไม่ใช่นับแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดรู้ว่า ร.เป็นผู้ทำละเมิดเพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้ต้องร่วมรับผิดทางแพ่งที่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ต่างรายไปจาก ร.โจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
ตามระเบียบระบุให้ปลัดสุขาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับกรรมการอื่นในการเก็บและรักษาเงิน หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินโดยการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจากการปฏิบัติหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้คืนจำเลยที่ 3 เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์ แต่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ ในทางปฏิบัติของโจทก์เอง จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่เข้าไปควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยตรง ดังนั้นการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ กรณีไม่ต้องตามระเบียบที่จะให้จำเลยที่ 3 ชดใช้เงินแก่โจทก์
ในการถอนเงินฝากมีระเบียบให้เป็นหน้าที่ของประธานสุขาภิบาล ปลัดสุขาภิบาล และหัวหน้าหน่วยการคลังลงชื่อถอนร่วมกันการไปรับหรือส่งเงินที่ธนาคารหรือที่แห่งใด ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่สุขาภิบาลไปรับหรือส่งเงินลำพังผู้เดียว ต้องมีกรรมการไปรับหรือส่งเงินร่วมกันรับผิดชอบเป็นคณะกรณีจำนวนเงินเกิน 30,000 บาท จะต้องมีกรรมการควบคุมร่วมกันอย่างน้อย3 คน ระเบียบดังกล่าวมีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันการผิดพลาดเกี่ยวกับตัวเงินที่อาจขาดจำนวนหรือสูญหาย และเพื่อไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องทุจริต การที่จำเลยที่ 1เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโจทก์ปล่อยให้ ร.สมุห์บัญชีของโจทก์ถอนเงินตามลำพังและเบียดบังเอาเงินไป จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1ต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยเฉพาะจำเลยที่ 4 ยังเป็นหัวหน้าหน่วยการคลังของโจทก์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย มีเงินผลประโยชน์ของโจทก์ประเภทต่าง ๆ ไม่นำส่งเป็นรายได้ของโจทก์ เงินของโจทก์ที่เบิกมาใช้จ่ายในรายการต่าง ๆ ไม่มีหลักฐานการรับจ่าย และเงินที่ขาดหายไปเพราะลงบัญชีผิดพลาดจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยหน้าที่นอกจากเป็นกรรมการเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยแล้ว ยังต้องร่วมกันตรวจสอบตัวเงินและหลักฐานแทนตัวเงินและรายงานคงเหลือประจำวันตามระเบียบ แต่ไม่ปรากฎว่าในช่วงเวลาที่มีการทุจริตเบียดบังเงินของโจทก์ไปได้มีการตรวจสอบรายงานคงเหลือประจำวันรวมทั้งบัญชีต่าง ๆ จึงเป็นช่องทางให้ ร.ทำการทุจริตขึ้นได้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ ร.และมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบเงินของโจทก์เป็นรายวันจะอ้างว่า ร.ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 4 ปล่อยปละละเลยและประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายต้องรับผิด
คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งรายงานผลการสอบสวนว่ามีบุคคลใดบ้างที่ต้องรับผิดทางแพ่งซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ด้วย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบและผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้เรียกร้องแก่ผู้ต้องรับผิดทางแพ่งใช้เงินแก่โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์โดยผู้ว่าราชการจังหวัดผู้มีอำนาจสั่งการรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานผลการสอบสวน ไม่ใช่นับแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดรู้ว่า ร.เป็นผู้ทำละเมิดเพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้ต้องร่วมรับผิดทางแพ่งที่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ต่างรายไปจาก ร.โจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแต่งตั้งสมุห์บัญชีสุขาภิบาล และความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การแต่งตั้งเสมียนตราอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่มีสุขาภิบาลให้เป็นสมุห์บัญชีสุขาภิบาลนั้น จะต้องเป็นเรื่องเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งนายอำเภอแม้จะเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่ด้วย ก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งเสมียนตราอำเภอให้เป็นสมุห์บัญชีสุขาภิบาลได้ด้วยตนเอง ดังนั้นการที่ ป.นายอำเภอพรหมพิรามสั่งให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาลจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ จำเลยไม่มีฐานะเป็นพนักงานของสุขาภิบาลและไม่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 157 ไม่ได้ แต่อาศัยอำนาจตามความใน ป.วิ.อ.มาตรา 192 ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของสุขาภิบาลตาม ป.อ. มาตรา 352 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากสะพานชำรุด: ประมาททั้งสุขาภิบาลและผู้ขับรถบรรทุก, สัญญาประนีประนอมไม่สมบูรณ์
จำเลยซึ่งเป็นสุขาภิบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาสะพานให้มีความมั่นคงแข็งแรงและเรียบร้อย เพื่อให้บริการสาธารณูปโภคแก่ประชาชนและผู้ขับรถยนต์ที่สัญจรไปมา การที่จำเลยปล่อยปละละเลยไม่แสดงป้ายห้ามรถยนต์บรรทุกหนักผ่านข้ามสะพาน จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงการที่ ส. ลูกจ้างโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อมีน้ำหนัก 9 ตัน และบรรทุกรำหนัก 7,230 กิโลกรัมผ่านสะพานไม้ดังกล่าวซึ่งบุคคลทั่วไปเห็นสภาพแล้วย่อมจะไม่แน่ใจว่าจะรับน้ำหนักรถและสิ่งของที่บรรทุกรวมกันประมาณ 16 ตัน ได้ เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างมากของ ส. อยู่ด้วยและตามพฤติการณ์ ส. มีส่วนประมาทมากกว่า
สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความเพียงว่า ส.ลูกจ้างโจทก์ตกลงกับกรรมการของจำเลยว่า ส. จะทำสะพานใหม่ได้ ไม่มีข้อความที่แสดงว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่เป็นสัญญาข้อตกลงระงับหนี้ละเมิดแต่อย่างใด โจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างยังคงต้องรับผิดในมูลละเมิดต่อกันอยู่.
สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความเพียงว่า ส.ลูกจ้างโจทก์ตกลงกับกรรมการของจำเลยว่า ส. จะทำสะพานใหม่ได้ ไม่มีข้อความที่แสดงว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่เป็นสัญญาข้อตกลงระงับหนี้ละเมิดแต่อย่างใด โจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างยังคงต้องรับผิดในมูลละเมิดต่อกันอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างของวันเกิดเหตุในฟ้อง ไม่ถึงขั้นต้องยกฟ้อง และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงานสุขาภิบาล
แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจะได้ความว่าเหตุตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2525 และวันที่ 11 มีนาคม 2525 แต่โจทก์ดังกล่าวในฟ้องว่าเกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2526 และวันที่ 11 มีนาคม 2526 เป็นข้อแตกต่างเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิดซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดถือไม่ได้ว่าต่างกันในสาระสำคัญและเมื่อจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ จึงไม่ใช่เหตุที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์
จำเลยรับราชการในตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีของสุขาภิบาลอีกตำแหน่งหนึ่ง จำเลยจึงเป็นพนักงานสุขาภิบาลอีกในฐานะหนึ่ง ดังนั้ ในการปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาล จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 22 เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวแม้สุขาภิบาลผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคแรก และโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้
จำเลยรับราชการในตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีของสุขาภิบาลอีกตำแหน่งหนึ่ง จำเลยจึงเป็นพนักงานสุขาภิบาลอีกในฐานะหนึ่ง ดังนั้ ในการปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาล จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 22 เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวแม้สุขาภิบาลผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคแรก และโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบียดบังเงินของสุขาภิบาล: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายเฉพาะเจาะจงในแต่ละกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเบียดบังเงินของสุขาภิบาลรวม 9 ครั้ง รวมเป็นเงิน 90,000 บาทเศษ ทางพิจารณากลับปรากฏว่า นอกจากเงินของสุขาภิบาลจะขาดบัญชีไป 9 รายการตามฟ้องโจทก์แล้วยังมีเงินเกินบัญชีอีก 24 รายการ เป็นจำนวนเงิน 70,000 บาทเศษ คงเหลือเงินที่ขาดบัญชีไปเพียง 24,843.97 บาทเท่านั้น โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำนวนเงินที่ขาดบัญชีนี้จำเลยได้เบียดบังไปจากสุขาภิบาลตามฟ้องโจทก์ข้อใด เป็นจำนวนเท่าใดจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดทุกกรรมตามฟ้องโจทก์ คงลงโทษจำเลยได้เพียงกระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบียดบังเงินของสุขาภิบาล: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายให้ชัดเจน ศาลลงโทษเฉพาะส่วนที่พิสูจน์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเบียดบังเงินของสุขาภิบาลรวม 9 ครั้งรวมเป็นเงิน 90,000 บาทเศษ ทางพิจารณากลับปรากฏว่า นอกจากเงินของสุขาภิบาลจะขาดบัญชีไป 9 รายการตามฟ้องโจทก์แล้ว ยังมีเงินเกินบัญชีอีก 24 รายการเป็นจำนวนเงิน 70,000 บาทเศษ คงเหลือเงินที่ขาดบัญชีไปเพียง 24,843.97 บาท เท่านั้น โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำนวนเงินที่ขาดบัญชีนี้จำเลยได้เบียดบังไปจากสุขาภิบาลตามฟ้องโจทก์ข้อใด เป็นจำนวนเท่าใด จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดทุกกรรมตามฟ้องโจทก์ คงลงโทษจำเลยได้เพียงกระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้กระทำผิดเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล ต้องมีกฎหมายกำหนดโทษโดยชัดเจน
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษผู้กระทำผิดไว้ พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 7 วรรคสุดท้ายมีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา7(4) นั้น ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น มิได้ให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมด จึงจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 72 ซึ่งอยู่ในหมวด 9 อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วยหาได้ไม่ เมื่อมีผู้กระทำผิดการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล จึงขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดนั้นไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2.