พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5233/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่ ศาลฎีกาวินิจฉัยการรับสุราจากคู่ค้าเข้าข่ายทุจริตได้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และไม่ได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์ที่ได้สุรา4 ขวด มาจากคู่ค้าของจำเลย เพราะโจทก์เรียกรับเอาเองในขณะที่โจทก์มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของจำเลย อันเป็นตำแหน่งที่อาจเอื้อประโยชน์หรือให้คุณให้โทษต่อคู่ค้า คู่ค้าจึงอาจเกรงใจ จำยอมหรือยอมให้โดยไม่ได้สมัครใจอย่างแท้จริง จึงเป็นความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ตามมาตรา 119 (1) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2443/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าไปในบ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควรและความจำเป็นในการออกจากบ้านเมื่อถูกขอ
จำเลยต้องการไปปรับความเข้าใจกับผู้เสียหาย และทวงอาวุธปืนที่บิดาผู้เสียหายแย่งไปคืน ส่วนการที่จำเลยแสดงกริยาอาการไม่สุภาพกระโดดข้ามรั้วบ้านไม่พ้น จนทำให้รั้วบ้านไม้ไผ่หักไป 2 ลำ และเตะประตูบ้าน และยังไม่ยอมกลับออกจากบ้านของผู้เสียหายทันทีหลังจากที่ภริยาผู้เสียหายขอให้จำเลยกลับออกจากบ้านไป เป็นเพราะจำเลยยังมีอาการเมาสุราอยู่ และไม่พอใจที่ผู้เสียหายไม่ยอมออกมาพบ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ยอมออกจากบ้านเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออกตามป.อ.มาตรา 364
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษซ้ำซ้อนในความผิดฐานทำและมีสุรา ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดทำสุราโดยมิได้รับอนุญาต และมาตรา 32บัญญัติเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 5 สุราตามบทมาตราทั้งสองดังกล่าวหมายความถึงทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ เมื่อจำเลยกระทำความผิดในคราวเดียวกันโดยการทำสุรากลั่นและสุราแช่จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกันกรรมหนึ่ง และการมีสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในครอบครองก็เป็นความผิดกรรมเดียวกันอีกกรรมหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยทุกกระทงความผิดตามฟ้องไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: การรับซื้อสุราที่ได้จากการลักทรัพย์จากญาติ โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยผิด
เด็กหญิง อ. มีนิสัยชอบลักขโมยซึ่งจำเลยก็ทราบดี บ้านผู้เสียหายก็อยู่ใกล้บ้านจำเลย เด็กหญิง อ. ไปมาหาสู่บ้านจำเลยบ่อย ๆ จำเลยจึงน่าจะทราบความเป็นไปในบ้านผู้เสียหายจากเด็กหญิง อ. เมื่อเด็กหญิง อ. ลักสุราต่างประเทศจากบ้านผู้เสียหายได้ก็น่าจะนำไปขายให้คนบ้านใกล้เรือนเคียงซึ่งล้วนแต่เป็นญาติกัน จำเลยควรจะทราบดีว่าสุราต่างประเทศไม่ใช่ของเด็กหญิง อ. แน่นอน การที่เด็กหญิง อ. เบิกความว่าได้ลักสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปขายแก่จำเลย 5 ขวด แม้จะเป็นการซัดทอด แต่ก็มีพยานอื่นและเหตุผลประกอบจึงรับฟังได้ เชื่อได้ว่าจำเลยได้รับซื้อสุราต่างประเทศที่เด็กหญิง อ. ลักมาจากบ้านผู้เสียหายโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าที่เด็กหญิง อ. เบิกความว่าได้ลักสุราต่างประเทศของผู้เสียหายมาขายแก่จำเลยตามที่จำเลยบอก จำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับเด็กหญิง อ. ต้องถือว่าจำเลยรับสุราต่างประเทศจากเด็กหญิง อ. เป็นผลสืบเนื่องมาจากการลักทรัพย์ที่จำเลยเป็นผู้ใช้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้ความว่า คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบรับฟังลงโทษในความผิดตามที่โจทก์ฟ้องได้แล้ว ศาลก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานอื่นซึ่งโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษอีกหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยได้ร่วมกระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้หรือเป็นตัวการร่วมกันลักทรัพย์กับเด็กหญิง อ. หรือไม่
จำเลยเป็นหญิงแม่บ้าน ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จำเลยรับซื้อสุราต่างประเทศเพื่อต้องการจะมีไว้บริโภคในราคาถูกเท่านั้น อีกทั้งเป็นการกระทำผิดในระหว่างวงศ์ญาติ ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่สู้ร้ายแรงนัก จึงสมควรรอการลงโทษให้จำเลย
จำเลยเป็นหญิงแม่บ้าน ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จำเลยรับซื้อสุราต่างประเทศเพื่อต้องการจะมีไว้บริโภคในราคาถูกเท่านั้น อีกทั้งเป็นการกระทำผิดในระหว่างวงศ์ญาติ ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่สู้ร้ายแรงนัก จึงสมควรรอการลงโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4738/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เข้าข่ายการริบสุราตามกฎหมาย
การที่จำเลยได้จำหน่ายขายสุราของกลางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493มาตรา 17 นั้น มาตรา 45 ไม่ได้บัญญัติให้ริบสุราในกรณีเช่นนี้ไว้ ศาลไม่ริบสุราของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วม ความผิดอาญา การกระทำโดยพลการจากฤทธิ์สุรา พยานหลักฐานไม่เพียงพอ
ขณะเกิดเหตุ ท. และจำเลยกับพวกดื่มสุรากันมาจนมึนเมามิได้ร่วมสมคบกันมาก่อนที่จะทำร้ายผู้เสียหาย และการที่ ท. กับพวกรุมชกต่อยและ ท. ใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายนี้ได้ทำขึ้นทันทีทันใดหลังจากที่ผู้เสียหายบอก ท.ว่าผู้เสียหายเรียนอยู่ที่ว.ค.ส่วนการที่จำเลยจับแขนของนางสาว อ.ไว้ก็เพราะกลัวว่านางสาวอ.จะไปช่วยผู้เสียหาย อีกทั้งจำเลยก็มิได้จับแขนนางสาว อ. ไว้แน่นแต่กลับปล่อยให้นางสาว อ. สะบัดหลุดส่อลักษณะเป็นการให้โอกาสนางสาว อ. สะบัดหลุดเพื่อวิ่งหนีไป เพราะอาจได้รับอันตรายจากเหตุที่เกิดขึ้น เช่นนี้พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับ ท. และพวก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6055/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสุราโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เข้าข่ายต้องริบตามกฎหมาย
สุราของกลางที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขายสุราได้ซื้อไว้จากผู้ที่ไม่มีสิทธิขายโดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการฝ่าฝืนพ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 40 ทวิ นั้น ตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493มาตรา 45 มิได้บัญญัติให้ริบสุราของกลาง ทั้งสุราของกลางดังกล่าวก็มิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดอันจะเป็นเหตุให้ศาลพิพากษาให้ริบเสียได้ตาม ป.อ. มาตรา 32,33.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำสุราฯ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้กระทำผิดต่อเนื่อง
ความผิดฐานทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดฐานมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายและความผิดฐานขายหรือนำออกแสดงเพื่อขายซึ่งสุราดังกล่าว ทั้งสี่ฐานนี้แม้จะเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน แต่ก็เห็นได้ว่าความผิดในแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดที่แตกต่างกัน และสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แสดงว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำผิดในแต่ละกรณีเป็นตอน ๆ ไป แม้จำเลยจะกระทำความผิดทั้งสี่ฐานในคราวเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีสุรา: การแยกกระทงความผิดฐานทำและมีสุรา
จำเลยทำสุราแช่และทำสุรากลั่น กับการที่จำเลยมีสุราแช่และมีสุรากลั่นไว้ในครอบครอง ได้กระทำขึ้นคนละวันและมีไว้ในครอบครองคนละวัน การกระทำประกอบด้วยเจตนาต่างกัน ของกลางก็เป็นคนละส่วนกัน ความผิดสามารถแยกออกเป็นต่างกรรมกันได้ จึงเรียงกระทงลงโทษได้ ข้อห้ามตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสุราฯ กำหนดไว้ 2 กรณีคือ ห้ามมิให้ผู้ใดทำสุรา กรณีหนึ่ง และห้ามมิให้ผู้ใดมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครอง อีกกรณีหนึ่ง ไม่ว่าฝ่าฝืนกรณีใดจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 30 ดังนั้น ถ้าฝ่าฝืนข้อห้ามทั้ง 2 กรณีเป็นการต่างกรรมกัน จึงต้องเรียงกระทงลงโทษทุกกรรมตามประมวลกฎหมาย มาตรา 91.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำสุราและมีสุราไว้ในครอบครองถือเป็นกรรมเดียวกัน แม้ฟ้องแยกข้อหา
การทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต และการมีไว้ในครอบครองซึ่งรู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น พระราชบัญญัติสุราฯ บัญญัติความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรากันจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน การทำสุราแช่และการทำสุรากลั่นถือว่ามีเจตนาและวัตถุประสงค์อันเดียวกันส่วนการมีสุราแช่หรือสุรากลั่นก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและวัตถุประสงค์อันเดียวกัน เช่นกัน แม้โจทก์บรรยายฟ้องแยกออกเป็น 4 ข้อ ก็ไม่ทำให้เป็นการกระทำแยกกันได้จำเลยคงมีความผิดเพียงสองกรรมเท่านั้น