พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1581/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสร้างหลุมฝังศพใกล้บ้านผู้อื่น: ละเมิด, สุสาน, ดุลพินิจเจ้าพนักงาน
ตามสภาพของหลุมฝังศพย่อมก่อให้เกิดความหวาดกลัวในเรื่องภูติผีวิญญาน และเป็นที่รังเกียจแก่ผู้ที่มิใช่ญาติผู้ตายซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ใกล้หลุมฝังศพการที่จำเลยที่ 1 สร้างหลุมฝังศพหรือฮวงซุ้ยเพื่อเก็บศพของ ส.สามีจำเลยที่ 1ในที่ดินของตนเองห่างจากบ้านของโจทก์ทั้งสองประมาณ 10 เมตร โดยที่ดินของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 เป็นที่อยู่อาศัย ไม่เคยมีหลุมฝังศพมาก่อนและไม่ปรากฎว่าบริเวณใกล้เคียงมีหลุมฝังศพแต่อย่างใด ทั้งตามประเพณีแห่งท้องถิ่นก็ไม่นิยมให้มีการฝังศพในเขตหมู่บ้าน ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337
พ.ร.บ. สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528 มาตรา 10 เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดฝังศพไว้ในสถานที่อื่นนอกจากสุสานสาธารณะหรือสุสานเอกชนเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากฝ่าฝืนจะต้องมีความผิด การที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ฝังศพตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงมีผลเพียงว่าจำเลยที่ 1 มิได้ตกเป็นผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถานฯเท่านั้น หามีผลทำให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจกระทำการใด ๆ ให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายไม่
มาตรา 10 และ 25 แห่ง พ.ร.บ.สุสานและฌาปนสถานดังกล่าวมิได้กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกคำสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 10รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือเคลื่อนย้ายศพที่ฝังไว้ออกไป คงให้อำนาจแก่เจ้าพนักงาน-ท้องถิ่นที่จะใช้ดุลพินิจสั่งให้ดำเนินการดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ แม้ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ถูกลงโทษฐานกระทำความผิดตามมาตรา 10 แล้ว และได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ฝังศพไว้ที่เดิมต่อไปก็ตาม แต่ปรากฎว่านายอำเภอจำเลยที่ 2 และผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตโดยได้ดำเนินการตามขั้นตอนและอาศัยข้อมูลความเห็นที่สอดคล้องต้องกันของผู้ที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว ดังนี้การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง
พ.ร.บ. สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528 มาตรา 10 เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดฝังศพไว้ในสถานที่อื่นนอกจากสุสานสาธารณะหรือสุสานเอกชนเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากฝ่าฝืนจะต้องมีความผิด การที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ฝังศพตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงมีผลเพียงว่าจำเลยที่ 1 มิได้ตกเป็นผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถานฯเท่านั้น หามีผลทำให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจกระทำการใด ๆ ให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายไม่
มาตรา 10 และ 25 แห่ง พ.ร.บ.สุสานและฌาปนสถานดังกล่าวมิได้กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกคำสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 10รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือเคลื่อนย้ายศพที่ฝังไว้ออกไป คงให้อำนาจแก่เจ้าพนักงาน-ท้องถิ่นที่จะใช้ดุลพินิจสั่งให้ดำเนินการดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ แม้ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ถูกลงโทษฐานกระทำความผิดตามมาตรา 10 แล้ว และได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ฝังศพไว้ที่เดิมต่อไปก็ตาม แต่ปรากฎว่านายอำเภอจำเลยที่ 2 และผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตโดยได้ดำเนินการตามขั้นตอนและอาศัยข้อมูลความเห็นที่สอดคล้องต้องกันของผู้ที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว ดังนี้การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1581/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการสร้างฮวงซุ้ยใกล้เคียงที่ดิน และความรับผิดของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.สุสาน
ตามสภาพของหลุมฝังศพที่มีศพฝังอยู่ย่อมก่อให้เกิดความหวาดกลัวในเรื่องภูตผีวิญญาณและเป็นที่รังเกียจแก่ผู้ที่มิใช่ญาติผู้ตายซึ่งอยู่บ้านใกล้หลุมฝังศพฉะนั้นการที่จำเลยที่1ก่อสร้างหลุมฝังศพในที่ดินของตนเองและนำศพฝังไว้ห่างบ้านโจทก์ทั้งสองประมาณ10เมตรย่อมจะมากพอที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองจำต้องรับรู้ว่าตนอยู่ใกล้หลุมฝังศพและต้องได้รับความกดดันทางจิตใจจากการมีพิธีการเกี่ยวกับศพการที่จำเลยที่1ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายหลังจากฝังศพแล้วมีผลเพียงว่าจำเลยที่1มิได้ตกเป็นผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถานพ.ศ.2528อีกต่อไปเท่านั้นหาได้มีผลทำให้จำเลยที่1มีอำนาจกระทำการใดๆให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่การกระทำของจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งอยู่ติดกันได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1337จึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถานพ.ศ.2528มาตรา10เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะใช้ดุลพินิจอนุญาตให้มีการฝังศพตามที่มีผู้ขอมาหรือไม่ก็ได้ดังนั้นการที่จำเลยที่2และที่3ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้มีการฝังศพไว้ที่เดิมโดยไม่ต้องรื้อถอนหลุมฝังศพจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1581/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากฮวงซุ้ยรุกล้ำ + เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยที่1ได้ฝังศพส. สามีจำเลยที่1ไว้ก่อนแล้วจึงได้ขออนุญาตฝังศพต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในภายหลังแม้จำเลยที่1จะได้รับอนุญาตก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่1ไม่เป็นผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถานพ.ศ.2528อีกต่อไปไม่ได้มีผลทำให้จำเลยมีอำนาจกระทำการใดๆให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่1ได้สร้างหลุมฝังศพหรือฮวงซุ้ยลงในที่ดินของจำเลยที่1เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งอยู่ติดกันได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งที่ดินมาคำนึงประกอบต้องด้วยมาตรา1337แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถานพ.ศ.2528มาตรา10และมาตรา25ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะใช้ดุลพินิจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนมาตรา10รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือเคลื่อนย้ายศพที่ฝังไว้ออกไปหรือไม่ก็ได้เมื่อจำเลยที่2และที่3ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฝังศพส. สามีจำเลยที่1ไว้ที่ที่ดินเดิมซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์โดยไม่ใช้อำนาจสั่งให้จำเลยที่1รื้อถอนหลุมฝังศพหรือฮวงซุ้ยออกไปได้อาศัยข้อมูลและความเห็นที่สอดคล้องต้องกันของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ตามสมควรแล้วการกระทำของจำเลยที่2และที่3จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา10หรือมาตรา25ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7780/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีสัญญาซื้อขายแต่ไม่ดำเนินการแบ่งแยกโฉนด และที่ดินใช้เป็นสุสาน
แม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตอนท้ายระบุว่า ผู้จะขายจะไปยื่นคำขอแบ่งขายให้แก่ผู้จะซื้อที่สำนักงานที่ดินภายในกำหนดสองปีนับแต่วันทำหนังสือก็ตาม แต่โจทก์ที่ 2 และ บ. กับจำเลยทั้งห้าปล่อยเวลาล่วงเลยไปนานโดยมิได้ดำเนินการเพื่อแบ่งแยกโฉนด แสดงว่าคู่กรณีไม่ได้คำนึงถึงการที่จะทำการแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป ก่อนทำหนังสือสัญญาดังกล่าวจำเลยทั้งห้านำศพมารดาและบิดาไปฝังไว้ในบริเวณที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์ที่ 2 และ บ. นำศพญาติของโจทก์ทั้งสองจำนวน 15 ศพ ไปฝังไว้เป็นแนวเดียวกัน ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทข้อ 1 ระบุไว้ชัดว่าจำเลยทั้งห้าแบ่งขายที่ดินทางด้านทิศใต้ตามที่ทำฮวงซุ้ยไว้แล้วอยู่ตรงกลางใกล้กับทางด้านทิศตะวันตก (ไม่สุดแนวเขต) จำนวน 2 ไร่ถ้วน แสดงว่าก่อนหน้านี้จำเลยทั้งห้าใช้บริเวณที่ดินพิพาทเป็นสุสานฝังศพบิดามารดาจำเลยทั้งห้าอยู่แล้ว ทั้งตามลักษณะบริเวณที่ดินพิพาทซึ่งทำฮวงซุ้ยไว้แล้วนั้นเป็นที่ฝังศพเฉพาะคนตระกูลของโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งห้า โดยฝังศพไว้ในลักษณะถาวร บนหลุมฝังศพมีการก่อปูนซีเมนต์ไว้อย่างมั่นคงแข็งแรง เมื่อถึงวันเช็งเม้งอันเป็นวันเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ญาติผู้ตายคือฝ่ายโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งห้าต่างไปเคารพศพทุกปี อันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ชาวจีนทั่วไปต้องปฏิบัติตลอดไป โดยสภาพย่อมไม่มีการขุดศพออกจากที่ดินพิพาทแต่อย่างใด จึงไม่อาจให้ความยินยอมหรืออนุญาตกันได้ เพราะหากเจ้าของที่ดินไม่ยินยอมหรือไม่อนุญาตเมื่อใดก็จะต้องขุดศพออกจากที่ดินเมื่อนั้น ซึ่งจำเลยทั้งห้ารู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวอยู่แล้ว การที่จำเลยทั้งห้ารับเงินค่าซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 2 และ บ. ครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญา และยินยอมให้โจทก์ที่ 2 และ บ. นำศพญาติของโจทก์ที่ 2 และ บ. ฝังไว้ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2506 ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าสละการครอบครองที่ดินพิพาทแก่โจทก์ที่ 2 และ บ. โดยเด็ดขาด โจทก์ที่ 2 และ บ. ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อ บ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 ร่วมกับโจทก์ที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทโดยใช้เป็นสุสานฝังศพหรือฮวงซุ้ยติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อที่ฝังศพในสุสานเป็นของผู้ครอบครองสิทธิในที่ดิน และการบอกเลิกตัวแทน
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2481 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการทำบันทึกข้อตกลงเมื่อปี 2495 ตาม พ.ร.บ.สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528 มาตรา 4 ซึ่งใช้บังคับตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้ให้ความหมายของคำว่า สุสาน ตรงกัน คือ สุสาน มี 2 ประเภท ได้แก่ สุสานและฌาปนสถานสาธารณะ หมายความว่า ที่ซึ่งจัดขึ้นสำหรับเผา ฝัง หรือเก็บศพสำหรับประชาชนทั่วไป กับ สุสานและฌาปนสถานเอกชน หมายความว่า ที่ซึ่งจัดขึ้นสำหรับเผา ฝัง หรือเก็บศพของตระกูลหรือครอบครัวหรือมิตรของตระกูลหรือครอบครัว เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่รับฟังได้เป็นยุติดังกล่าวแล้วว่า ที่ดินบริเวณที่เป็นสุสานดังกล่าว เป็นที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และตามบันทึกที่พระโบราณคณิสสร เจ้าอาวาสของโจทก์ ทำเมื่อปี 2495 ร่วมกันกับกรรมการวัดทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายจีน ก็มีข้อความว่า โจทก์ โดยพระโบราณคณิสสร เจ้าอาวาส พร้อมด้วยคณะกรรมการวัดทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายจีน ได้ประชุมหารือกันว่า สุสานของโจทก์อันเป็นที่บำเพ็ญการกุศลตามประเพณี โกดังเก็บศพตลอดจน ฌาปนสถานอันเป็นที่เผาศพยังไม่มิดชิดและมั่นคงถาวร และขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่สวยงามสมควรจัดการก่อสร้างเสียใหม่ให้ถาวรและเรียบร้อยเพื่อจะได้เป็นการสะดวกแก่การบำเพ็ญกุศลของประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งนับว่าเป็นการบำเพ็ญกุศลสาธารณประโยชน์ประการหนึ่ง หลังจากนั้นต่อเนื่องมาจนถึงจำเลยที่ 1 จัดตั้งขึ้นเป็นมูลนิธิ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2501 เพื่อบริหารดูแลสุสาน ในตราสารก็ระบุว่า จำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการดูแลสุสานสาธารณะ และที่ประตูทางเข้าสุสานมีป้ายบอกชัดเจนว่าเป็นสุสานสาธารณะ ข้อเท็จจริงดังกล่าวรับฟังได้ชัดเจนว่าสุสานตามฟ้อง เป็นสุสานประเภทสุสานสาธารณะตามความหมายของ พ.ร.บ.ควบคุมสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2481 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการทำบันทึกข้อตกลงเมื่อปี 2495 และตาม พ.ร.บ.สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528 มาตรา 4 ซึ่งใช้บังคับตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์จะได้ดำเนินการขออนุญาตจัดตั้งสุสานให้มีใบอนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง หาใช่จะทำให้สุสานที่โดยสภาพและเจตนารมณ์เป็นสุสานสาธารณะกลายเป็นไม่ใช่สุสานสาธารณะหรือสุสานเอกชน หรือไม่ใช่สุสานไปเลย แต่อย่างใดไม่ แต่การเป็นสุสานสาธารณะ ซึ่งมีความหมายชัดเจนแล้วตามกฎหมายดังกล่าว คือเป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่ฝัง เผา หรือเก็บศพสำหรับประชาชนทั่วไป ไม่ได้หมายความไปถึงว่าที่ดินที่เป็นที่ตั้งของสุสานนั้นจะตกเป็นที่ดินสาธารณะไปด้วย ที่ดินใดจะเป็นที่ดินสาธารณะหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับเหตุตามกฎหมายแห่งการตกเป็นที่สาธารณะของที่ดินแปลงนั้นๆ เป็นกรณีๆ ไป สำหรับที่ดินแปลงที่เป็นที่ตั้งสุสานสาธารณะในคดีนี้นั้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่บ่งชี้ว่าโจทก์ได้เคยแสดงเจตนายกที่ดินดังกล่าวให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า หลังจากทำบันทึกในปี 2495 ซึ่งระบุว่าโจทก์อนุญาตให้ใช้ที่ดินโจทก์ทำสุสานสาธารณะแล้ว ต่อมาปี 2501 โจทก์ขอรังวัดออกโฉนดที่ดินในฐานะผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินในส่วนที่มีสุสานดังกล่าวรวมอยู่ด้วย และทำให้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินแปลงนั้น ต่อมาโจทก์ดำเนินการให้มีการจัดตั้งจำเลยที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือมาบริหารจัดการดูแลสุสานในนามโจทก์ และจำเลยที่ 1 เก็บเงินจากผู้ที่ประสงค์จะนำศพมาฝังในสุสานเป็นค่าบำรุงและระบุไว้ในตราสารการจดทะเบียนจัดตั้งจำเลยที่ 1 ว่า หากยกเลิกจำเลยที่ 1 ไป ให้ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว โดยให้ใช้เป็นสุสานสาธารณะยังคงหวงสิทธิในที่ดินดังกล่าวอยู่ และไม่ได้แสดงเจตนายกที่ดินที่เป็นที่ตั้งสุสานดังกล่าวให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์แต่อย่างใด โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวอยู่ต่อไป ส่วนโจทก์จะถูกรอนสิทธิหรือถูกจำกัดสิทธิในการใช้ที่ดินดังกล่าวในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อย่างไรหรือไม่ ก็จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ หรือเป็นกรณีไป เมื่อฟังข้อเท็จจริงว่าสุสานดังกล่าวเป็นสุสานของโจทก์ และเป็นสุสานประเภทสุสานสาธารณะ กรณีของที่ฝังศพ (ฮ้วงซุ้ย) แต่ละราย ที่ทายาทหรือบุคคลใดที่นำศพมาฝังไว้ในสุสานดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ จึงเป็นสัญญาหรือนิติสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสุสาน ไม่ว่าจะมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจัดการให้หรือไม่ก็ตาม กับทายาทหรือบุคคลที่มาติดต่อเพื่อขอนำศพมาฝังไว้ในสุสาน ว่ามีอยู่ต่อกันอย่างไร ตามหลักแห่งสัญญาตามกฎหมายทั่วไป หากโจทก์ประสงค์จะให้มีการรื้อที่ฝังศพรายใดรายหนึ่งหรือหลายรายหรือทั้งหมดออกไปหรือแม้แต่ยกเลิกการจัดตั้งสุสาน โจทก์ก็จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามสัญญาตามนิติสัมพันธ์ที่มีอยู่ต่อกัน และถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยสุสานหรือ พ.ร.บ.สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528 ด้วย เช่น ต้องแจ้งบอกกล่าวไปถึงทายาทหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้นำศพมาฝังไว้ในสุสานดังกล่าวว่ามีข้อโต้แย้งคัดค้านอย่างไรหรือไม่ และต้องแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่มีอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้พิจารณามีคำสั่งเสียก่อน เป็นต้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินตามสัญญาและตามกฎหมายว่าด้วยสุสานดังกล่าว และโจทก์ไม่ได้ฟ้องทายาทหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้นำศพมาฝังไว้ในสุสานซึ่งถือได้ว่าเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับโจทก์ให้รื้อย้ายที่ฝังศพออกไป แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งโจทก์ยืนยันว่าเป็นเพียงตัวแทนของโจทก์และมีคำขอ ให้จำเลยทั้งสองรื้อย้ายที่ฝังศพทั้งหมดในสุสานดังกล่าวออกไปเป็นคดีนี้ จึงเป็นคำฟ้องและคำขอที่ไม่อาจบังคับจำเลยทั้งสองให้กระทำการเช่นนั้นได้ คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอให้รื้อย้ายที่ฝังศพทั้งหมดในสุสานดังกล่าวออกไป จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบ ถึงแม้ต่อมา ผู้ร้องสอดในคดีนี้ จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความด้วยก็ตาม ก็ไม่อาจจะทำให้คำฟ้องส่วนที่ไม่ชอบของโจทก์ดังกล่าวกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบขึ้นมาได้
ทั้ง ชื่อ วัตถุประสงค์ และสถานที่ตั้งทำการ ที่ปรากฏในตราสารการขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 และการดำเนินการของจำเลยที่ 1 ที่ดำเนินการดูแลสุสานของโจทก์ตลอดมา เป็นที่ชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการดูแลสุสานในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ ข้อเท็จจริงนี้ จำเลยทั้งสองก็ให้การเป็นไปในทำนองรับ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของโจทก์ในการดูแลสุสานของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำการไปในทางที่ขัดต่อความประสงค์ของโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ เช่น การที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงตราสารของมูลนิธิเป็นว่า ให้สถานที่ตั้งมูลนิธิอยู่ที่ตั้งของวัดโจทก์ตามที่เคยเป็นมาแต่เดิม และให้คณะกรรมการบริหารมูลนิธิจำเลยที่ 1 ต้องประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือฝ่ายโจทก์ ฝ่ายพ่อค้า และฝ่ายข้าราชการประจำหรือข้าราชการบำนาญ และให้กรณีเลิกมูลนิธิทรัพย์สินของมูลนิธิต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่เคยเป็นในตราสารมาแต่เดิม แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย จึงเป็นเหตุผลเพียงพอที่โจทก์ในฐานะตัวการจะปฏิเสธไม่ให้จำเลยที่ 1 กระทำการใดในฐานะเป็นตัวแทนโจทก์เกี่ยวกับการดูแลสุสานของโจทก์อีก เมื่อโจทก์บอกกล่าวแจ้งยกเลิกการอนุญาตให้จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนของโจทก์ทราบโดยชอบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้
ทั้ง ชื่อ วัตถุประสงค์ และสถานที่ตั้งทำการ ที่ปรากฏในตราสารการขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 และการดำเนินการของจำเลยที่ 1 ที่ดำเนินการดูแลสุสานของโจทก์ตลอดมา เป็นที่ชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการดูแลสุสานในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ ข้อเท็จจริงนี้ จำเลยทั้งสองก็ให้การเป็นไปในทำนองรับ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของโจทก์ในการดูแลสุสานของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำการไปในทางที่ขัดต่อความประสงค์ของโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ เช่น การที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงตราสารของมูลนิธิเป็นว่า ให้สถานที่ตั้งมูลนิธิอยู่ที่ตั้งของวัดโจทก์ตามที่เคยเป็นมาแต่เดิม และให้คณะกรรมการบริหารมูลนิธิจำเลยที่ 1 ต้องประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือฝ่ายโจทก์ ฝ่ายพ่อค้า และฝ่ายข้าราชการประจำหรือข้าราชการบำนาญ และให้กรณีเลิกมูลนิธิทรัพย์สินของมูลนิธิต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่เคยเป็นในตราสารมาแต่เดิม แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย จึงเป็นเหตุผลเพียงพอที่โจทก์ในฐานะตัวการจะปฏิเสธไม่ให้จำเลยที่ 1 กระทำการใดในฐานะเป็นตัวแทนโจทก์เกี่ยวกับการดูแลสุสานของโจทก์อีก เมื่อโจทก์บอกกล่าวแจ้งยกเลิกการอนุญาตให้จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนของโจทก์ทราบโดยชอบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้