พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4150/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวร ถือเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์ร่วมถูกตบด้วยแก้วที่ใบหน้าบริเวณเบ้าตาข้างซ้ายแพทย์ผู้ตรวจรักษาเบิกความประกอบรายงานความเห็นการตรวจชันสูตรบาดแผลว่าโจทก์ร่วมมีเลือดออกในลูกตาซ้าย ฉากรับภาพเคลื่อน เป็นเหตุให้ตาข้างซ้ายมองไม่เห็นใช้เวลารักษาประมาณ 2 เดือน หลังจากรักษาแล้วก็ยังมองไม่เห็นตาข้างซ้ายจะบอดตลอดกาล ไม่สามารถผ่าตัดตาข้างซ้ายให้กลับดีได้ จะเอาลูกตาคนอื่นเปลี่ยนแทนก็ไม่ได้เพราะเบ้าตาภายในเสีย แม้โจทก์ร่วมจะได้รักษาหลังจากเกิดเหตุทันทีก็ไม่อาจแก้ให้ดีได้ และได้ความจากโจทก์ร่วมว่า ก่อนเกิดเหตุตาทั้งสองข้างมองเห็นได้ชัดเท่ากัน ขณะเบิกความเห็นราง ๆ ตาข้างซ้ายของโจทก์ร่วมไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเท่าตาข้างขวา ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4150/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นถาวร
โจทก์ร่วมถูกตบด้วยแก้วที่ใบหน้าบริเวณเบ้าตาข้างซ้ายแพทย์ผู้ตรวจรักษาเบิกความประกอบรายงานความเห็นการตรวจชันสูตรบาดแผลว่าโจทก์ร่วมมีเลือดออกในลูกตาซ้ายฉากรับภาพเคลื่อน เป็นเหตุให้ตาข้างซ้ายมองไม่เห็นใช้เวลารักษาประมาณ 2 เดือน หลังจากรักษาแล้วก็ยังมองไม่เห็นตาข้างซ้ายจะบอดตลอดกาล ไม่สามารถผ่าตัดตาข้างซ้ายให้กลับดีได้ จะเอาลูกตาคนอื่นเปลี่ยนแทนก็ไม่ได้เพราะเบ้าตาภายในเสีย แม้โจทก์ร่วมจะได้รักษาหลังจากเกิดเหตุทันทีก็ไม่อาจแก้ให้ดีได้ และได้ความจากโจทก์ร่วมว่า ก่อนเกิดเหตุตาทั้งสองข้างมองเห็นได้ชัดเท่ากัน ขณะเบิกความเห็นราง ๆ ตาข้างซ้ายของโจทก์ร่วมไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเท่าตาข้างขวา ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7383/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่: การประเมินค่าเสียหายจากเหตุสูญเสียการมองเห็นและผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
อ. ครูประจำชั้นของโจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนของจำเลยมีส่วนประมาทเลินเล่อในการดูแลความปลอดภัยของโจทก์โดยละเลยไม่รีบนำโจทก์ไปให้แพทย์ตรวจรักษาดวงตา หลังจากทราบว่าโจทก์ถูกเด็กชาย ณ. ใช้หนังยางยิงแท่งดินสอถูกดวงตาข้างซ้าย ซึ่งการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวน่าเชื่อว่ามีส่วนทำให้ดวงตาข้างซ้ายของโจทก์ติดเชื้อ โดย ว. จักษุแพทย์พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า หากดวงตาข้างซ้ายของโจทก์ไม่ติดเชื้อก็อาจจะไม่ถึงขนาดสูญเสียการมองเห็น เมื่อโจทก์นำสืบรับฟังได้ว่า โจทก์ต้องสูญเสียการมองเห็นในเวลาต่อมาตามใบรับรองแพทย์ โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ในข้อนี้ให้เห็นเป็นอย่างอื่น เช่นนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดในผลของความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 420
โจทก์มิได้นำสืบในรายละเอียดของค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าเจ็บป่วยต้องทนทุกขเวทนาและกระทบกระเทือนจิตใจที่สูญเสียดวงตาข้างซ้าย กับค่าสูญเสียดวงตาในการทำมาหาเลี้ยงชีพตามที่โจทก์เรียกมาในคำฟ้องแต่ละจำนวน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายและมีค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่ากับที่โจทก์เรียกมาในคำฟ้อง ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่เวลาที่ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยชำระค่าดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันถัดจากวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ศาลฎีกาจึงต้องพิพากษาเรื่องดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องฎีกา
โจทก์มิได้นำสืบในรายละเอียดของค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าเจ็บป่วยต้องทนทุกขเวทนาและกระทบกระเทือนจิตใจที่สูญเสียดวงตาข้างซ้าย กับค่าสูญเสียดวงตาในการทำมาหาเลี้ยงชีพตามที่โจทก์เรียกมาในคำฟ้องแต่ละจำนวน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายและมีค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่ากับที่โจทก์เรียกมาในคำฟ้อง ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่เวลาที่ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยชำระค่าดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันถัดจากวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ศาลฎีกาจึงต้องพิพากษาเรื่องดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล และการประเมินค่าเสียหายกรณีสูญเสียการมองเห็น
เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อผู้เยาว์อันมีผลให้ผู้เยาว์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนนั้น เป็นการที่ผู้เยาว์จะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีการประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมก็ชอบที่จะต้องขอนุญาตศาลเสียก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ตามที่บังคับไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1574(12) เมื่อ ช.บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์กับจำเลยได้ทำข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลของโจทก์กับของ ช. โดยไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาจากจำเลยอีก เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ ช.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยตามลำพัง โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันโจทก์แต่ประการใด สิทธินำคดีมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนของโจทก์จึงไม่ระงับไป
เมื่อโจทก์ต้องเสียความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากโจทก์เสียตาข้างซ้ายทำให้ไม่สามารถมองภาพได้ละเอียดและกว้างเท่าคนปกติถือว่าเป็นค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 446 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.ผู้ทำละเมิดจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว หาใช่ต้องกำหนดเป็นค่ารักษาพยาบาลไม่ และค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสื่อมสุขภาพอนามัย ต้องเสียโฉม ได้รับความเจ็บปวดทรมานเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 446 วรรคหนึ่ง
เมื่อโจทก์ต้องเสียความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากโจทก์เสียตาข้างซ้ายทำให้ไม่สามารถมองภาพได้ละเอียดและกว้างเท่าคนปกติถือว่าเป็นค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 446 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.ผู้ทำละเมิดจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว หาใช่ต้องกำหนดเป็นค่ารักษาพยาบาลไม่ และค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสื่อมสุขภาพอนามัย ต้องเสียโฉม ได้รับความเจ็บปวดทรมานเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 446 วรรคหนึ่ง