คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สูญเสียสมรรถภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7422/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพมือขวา: กำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
การที่มือขวาของลูกจ้างสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ถือว่าเป็นการสูญเสียมือขวานั้นด้วย ที่โจทก์ต้องจ่ายค่าทดแทนตามข้อ 54 (2) และข้อ 54 วรรคสอง แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 25สิงหาคม 2525 โดยจ่ายตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 และกรณีสูญเสียมือขวาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกรณีเดียวกันกับมือขาดในข้อ 1 (3) ข้อ 3 (3)และ (8) ซึ่งมีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนสามปีห้าเดือน ส่วนข้อ 1 (16) ใช้บังคับแก่กรณีสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (15) เมื่อข้อ 1 (3) ได้กำหนดไว้เฉพาะกรณีสูญเสียมือแล้ว การสูญเสียมือขวาของลูกจ้างโจทก์จึงอยู่ในความหมายของข้อ 1 (3) ดังกล่าว หาใช่อยู่ในความหมายของการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (15) ที่มีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนไม่เกินห้าปีตาม (16) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7422/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสูญเสียสมรรถภาพมือขวา: ค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย พิจารณาการสูญเสียอวัยวะโดยตรง ไม่ใช่การสูญเสียสมรรถภาพทั่วไป
การที่มือขวาของลูกจ้างสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ถือว่าเป็นการสูญเสียมือขวานั้นด้วยที่โจทก์ต้องจ่ายค่าทดแทนตามข้อ 54(2) และข้อ 54 วรรคสองแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 9)ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 โดยจ่ายตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 และกรณีสูญเสียมือขวาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกรณีเดียวกันกับมือขาดในข้อ 1(3) ข้อ 3(3) และ(8) ซึ่งมีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนสามปีห้าเดือน ส่วนข้อ 1(16) ใช้บังคับแก่กรณีสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (15) เมื่อข้อ 1(3) ได้กำหนดไว้เฉพาะกรณีสูญเสียมือแล้ว การสูญเสียมือขวาของลูกจ้างโจทก์จึงอยู่ในความหมายของข้อ 1(3) ดังกล่าว หาใช่อยู่ในความหมายของการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (15) ที่มีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนไม่เกินห้าปี ตาม (15) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329-1330/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพทางการทำงานบางส่วน และการรวมค่าครองชีพเป็นฐานคำนวณค่าจ้าง
ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายกระดูกสันหลังแตกยุบเป็นเหตุให้ขาทั้งสองข้างสูญเสียสมรรถภาพอย่างถาวรข้างละร้อยละ 7 นั้น การคำนวณค่าทดแทนต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54 (2) มิใช่ข้อ 54 (3) เพราะเป็นกรณีที่ลูกจ้างสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของขาทั้งสองข้างไปเพียงบางส่วนซึ่งตามข้อ 54 วรรคสอง ให้ถือว่าลูกจ้างสูญเสียอวัยวะนั้นด้วย จึงต้องคำนวณค่าทดแทนรายเดือนเทียบส่วนร้อยละจากระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกายตามข้อ 54(2)
ค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างมีวิธีการจ่ายเช่นเดียวกับการจ่ายค่าจ้างตามปกติและวัตถุประสงค์ของการจ่ายก็เพื่อให้ลูกจ้างมีรายได้เพิ่มขึ้น ถือได้ว่าค่าครองชีพที่ลูกจ้างได้รับเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่โจทก์จ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณค่าทดแทนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329-1330/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพบางส่วนของอวัยวะ และการรวมค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง
ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายกระดูกสันหลังแตกยุบเป็นเหตุให้ขาทั้งสองข้างสูญเสียสมรรถภาพอย่างถาวรข้างละร้อยละ 7 นั้น การคำนวณค่าทดแทนต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54(2)มิใช่ข้อ 54(3) เพราะเป็นกรณีที่ลูกจ้างสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของขาทั้งสองข้างไปเพียงบางส่วนซึ่งตามข้อ 54 วรรคสอง ให้ถือว่าลูกจ้างสูญเสียอวัยวะนั้นด้วย จึงต้องคำนวณค่าทดแทนรายเดือนเทียบส่วนร้อยละจากระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกายตามข้อ 54(2)
ค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างมีวิธีการจ่ายเช่นเดียวกับการจ่ายค่าจ้างตามปกติ และวัตถุประสงค์ของการจ่ายก็เพื่อให้ลูกจ้างมีรายได้เพิ่มขึ้น ถือได้ว่าค่าครองชีพที่ลูกจ้างได้รับเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่โจทก์จ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณค่าทดแทนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพการมองเห็นบางส่วนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
การที่ลูกจ้างประสบอันตรายขณะทำงานเป็นเหตุให้ตาขวาสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานร้อยละสามสิบนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนฯ ข้อ1(15) กำหนดว่า ถ้าสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป ให้มีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทน สองปี หนึ่งเดือน และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54 กำหนดว่า การประสบอันตรายซึ่งเป็นเหตุให้สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ให้คำนวณเทียบอัตราส่วนร้อยละจากจำนวนระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการสูญเสียอวัยวะประเภทนั้นดังนั้น กรณีนี้จึงมีกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนเท่ากับสองปีหนึ่งเดือน คูณด้วย 30 หารด้วย 100 มิใช่สองปีหนึ่งเดือน คูณด้วย 30 หารด้วย 90