คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ส่งตัวผู้ต้องหา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8332/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาที่ศาลแขวง: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตัวผู้ต้องหาและระยะเวลาการฟ้องทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จำเลยให้การปฏิเสธ ความผิดฐานดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม ป.อ. มาตรา 296 ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา เมื่อท้องที่ศาลจังหวัดหลังสวนยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 บัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ สำหรับคดีอาญาที่อัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการที่จะให้ใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ใดเมื่อใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีการตราพระราชกฤษฎีกาแล้วและมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2532 คดีนี้จึงอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ให้จำเลยทราบวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 กรณีย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงตั้งแต่วันดังกล่าว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง ถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการต้องขอผัดฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2543 โดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9268/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญาฆ่าผู้อื่น: การจับกุมและส่งตัวผู้ต้องหาต่อศาลทำให้เกิดผลต่ออายุความ
จำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเหตุเกิดเมื่อวันที่15มีนาคม2518เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้เมื่อวันที่6มีนาคม2538และส่งมอบจำเลยให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อมาวันที่10มีนาคม2538ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในระหว่างสอบสวนมีกำหนด7วันตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอจึงถือได้ว่าได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลหรือได้ตัวจำเลยมายังศาลแล้วฉะนั้นเมื่อต่อมาวันที่13มีนาคม2538ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนตามคำร้องของจำเลยและโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในวันเดียวกันนั้นซึ่งยังไม่พ้นกำหนดยี่สิบปีนับแต่วันที่15มีนาคม2518จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องและได้ตัวจำเลยมายังศาลภายในกำหนดยี่สิบปีนับแต่วันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95(1)แล้วฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา: การส่งตัวผู้ต้องหาต่อศาลเป็นสำคัญ
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง มีกำหนดอายุความฟ้องร้อง 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตามมาตรา 95(3)จำเลยกระทำความผิดข้อหาดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2527ต่อมาวันที่ 28 พฤศจิกายน 2537 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยส่งมอบแก่พนักงานสอบสวน ในวันเดียวกันพนักงานสอบสวนอนุญาตให้ประกันตัวไป วันที่ 30 พฤศจิกายน 2537 พนักงานอัยการขอผัดฟ้อง โดยไม่ได้นำตัวจำเลยส่งศาล แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผัดฟ้องได้ ก็ยังถือไม่ได้ว่าได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลแล้ว เพราะไม่มีการส่งมอบตัวจำเลยต่อศาลโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นฟ้องในวันที่ 2 ธันวาคม 2537จนกระทั่งวันที่ 7 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันนัดไต่สวนมูลฟ้องและวันสุดท้ายของอายุความ 10 ปี คือวันที่ 3 ธันวาคม 2537โจทก์ก็มิได้ตัวจำเลยมาส่งศาล จึงขาดอายุความฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งให้ส่งตัวผู้ต้องหาล่าช้าไม่ถือเป็นการบอกกล่าวโดยมิได้กำหนดวันนัด ผู้ประกันภัยไม่ต้องรับผิด
โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยซึ่งเป็นผู้ประกันตัวผู้ต้องหาให้ส่งตัวผู้ต้องหาวันที่4พฤศจิกายน2530เวลา8นาฬิกาแต่หนังสือดังกล่าวไปถึงจำเลยภายหลังวันเวลาตามกำหนดเพราะความผิดของโจทก์เองถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวให้ส่งตัวผู้ต้องหาโดยมิได้กำหนดวันนัดอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องส่งตัวผู้ต้องหาแก่โจทก์โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา203เมื่อจำเลยได้ส่งตัวผู้ต้องหาแก่โจทก์แล้วแม้จะมิได้ส่งโดยพลันก็ไม่ผิดสัญญาประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดเมื่อไม่ส่งตัวตามสัญญา แม้หมดระยะควบคุมตามกฎหมาย
ในช่วงเวลาที่เจ้าพนักงานมีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาตามป.วิ.อ.มาตรา87จำเลยได้ทำสัญญาประกันขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปเมื่อจำเลยไม่นำผู้ต้องหามามอบให้เจ้าพนักงานตามข้อสัญญาแม้ระยะเวลาที่กฎหมายอนุญาตให้เจ้าพนักงานควบคุมสิ้นไปแล้วจำเลยก็ยังต้องรับผิดตามสัญญาประกัน ผู้ต้องหาที่จำเลยขอประกันไปจากกรมศุลกากรโจทก์ถูกตั้งข้อหาพยายามลักลอบนำสินค้าหนีภาษีราคาประมาณห้าล้านบาทเข้ามาในราชอาณาจักรมีโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาสินค้าซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วหรือจำคุกไม่เกินสิบปีหรือทั้งจำทั้งปรับโจทก์ปรับจำเลยฐานไม่ส่งตัวผู้ต้องหา2คนตามสัญญาประกันรวมเป็นเงิน300,000บาทเป็นจำนวนค่าปรับที่สมควรแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกันตัวเมื่อไม่สามารถส่งตัวผู้ต้องหาตามสัญญา แม้ผู้เสียหายถอนฟ้อง
ในระหว่างประกัน ผู้ประกันมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาเมื่อไม่ปฏิบัติก็ได้ชื่อว่าผิดสัญญา การที่ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์คดีระงับไปแล้วนั้น ผู้ประกันไม่พ้นความรับผิดผู้ประกันจะพ้นความรับผิดได้ก็ต่อเมื่อได้นำตัวผู้ต้องหามาส่งศาลตามสัญญาและศาลสั่งถอนประกันหรือปล่อยตัวไปโดยไม่มีเงื่อนไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวนในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา และการผิดสัญญาจากการไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด
พนักงานสอบสวนเป็นบุคคลธรรมดา โดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำสัญญาประกันได้ จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันได้
นายประกันได้รับหนังสือให้ส่งตัวผู้ต้องหาภายหลังกำหนดวันที่จะต้องส่งตัวผู้ต้องหา นายประกันยังมีหน้าที่ส่งตัวผู้ต้องหาในเวลาต่อมา การที่นายประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการผิดสัญญาประกัน
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 มิได้บัญญัติถึงกำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาไว้ก็ตาม แต่เป็นที่เข้าใจว่านายประกันจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดที่พนักงานสอบสวนเรียกให้ส่งตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัว: หน้าที่นายประกัน & ผลเมื่อไม่ได้ส่งตัวผู้ต้องหา
เมื่อครบกำหนดฝากขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนครั้งแรกแล้วศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ขังต่อไปได้อีก 12 วันในวันนั้นผู้ต้องหาไม่มาศาลนายประกันขอเลื่อนไป 12 วัน และเลื่อนต่อๆ อีกหลายครั้งก็ส่งตัวผู้ต้องหาไม่ได้ ดังนี้ ศาลมีคำสั่งปรับนายประกันได้นายประกันจะหลุดพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันได้ก็ต่อเมื่อได้นำตัวจำเลยหรือผู้ต้องหามาส่งศาลและศาลสั่งถอนประกันหรือปล่อยตัวไปการที่พนักงานสอบสวนไม่ได้ขอฝากขังผู้ต้องหาเมื่อครบกำหนดที่ขอฝากขังไว้เดิม ไม่ทำให้สัญญาประกันระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายขังระหว่างพิจารณาหลังผู้ประกันสิ้นสภาพสมาชิกสภาฯ และผลของการไม่ส่งตัวผู้ต้องหาคืนศาล
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 และในวันเดียวกัน ส. ได้ใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นอนุญาต กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะออกหมายขังระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. 88 (เดิม) ที่ใช้บังคับขณะนั้น แม้ในระหว่างพิจารณาจะปรากฏข้อเท็จจริงแก่ศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมและควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเพื่อดำเนินคดีที่ศาลอาญาก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 116 บัญญัติว่า "การขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้เมื่อผู้ทำสัญญามอบตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงานหรือศาล" เมื่อผู้ประกันไม่ได้ยื่นคำร้องขอมอบตัวจำเลยที่ 2 คืนต่อศาล จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้ประกันได้ส่งมอบหรือคืนตัวจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นก็มิได้เพิกถอนสัญญาประกันแล้วออกหมายขังจำเลยไว้ในคดีนี้ เพราะเมื่อศาลชั้นต้นมีหนังสือขอให้ศาลอาญาส่งตัวจำเลยมาพิจารณาคดีนี้ ศาลอาญาแจ้งว่าจะส่งตัวจำเลยให้เมื่อพิจารณาคดีเสร็จแล้ว ดังนี้ ในระหว่างนั้นจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นต้องออกหมายขังระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 จนกระทั่งเมื่อได้ตัวจำเลยที่ 2 มาและเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส. ผู้ประกันจำเลยที่ 2 ได้พ้นจากสภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนสัญญาประกันและออกหมายขังจำเลยที่ 2 ระหว่างพิจารณาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8962/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเสพยาเสพติด ต้องส่งตัวผู้ต้องหาไปตรวจพิสูจน์การติดยาเสพติดก่อน หากอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีฐานขับขี่เสพยา
แม้ข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ความว่า จำเลยถูกพนักงานสอบสวนดำเนินคดีในความผิดสองฐาน คือ ฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนนั้นเป็นความผิดฐานอื่น ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนนั้น เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนที่ควรส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดเสียแต่แรก เมื่อพนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้พนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรีแล้วพนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนและผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ไม่โต้แย้งคำสั่ง เช่นนี้ เท่ากับพนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรีมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ย่อมส่งผลให้จำเลยมิได้ตกเป็นผู้ต้องหาหรือผู้ถูกดำเนินคดีในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนอีกต่อไป และต้องหาเพียงความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนเพียงข้อหาเดียว จึงเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับการส่งตัวไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ทั้งการที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นเหตุยกเว้นที่พนักงานสอบสวนสามารถส่งตัวผู้ต้องหาไปศาลเกินกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงได้ ดังนั้น เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน และยังไม่มีการส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด พนักงานสอบสวนต้องนำตัวจำเลยไปศาลเพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดเสียก่อน การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว จึงทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง