คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ส่งทางไปรษณีย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6204/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือแจ้งภาษีอากรโดยวิธีปิดหมายไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สามารถส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานสรรพากรเลือกที่จะส่งหมายเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร หรือหนังสืออื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่งก็ได้ แต่การใช้วิธีปิดหมาย หนังสือแจ้ง หรือหนังสืออื่นหรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ตามวรรคสอง จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อไม่สามารถส่งตามวิธีในวรรคหนึ่งได้
เจ้าพนักงานสรรพากรส่งหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและหนังสือแจ้งภาษีการค้าแก่จำเลยโดยวิธีปิดหนังสือแจ้ง แต่ไม่ปรากฏว่าไม่สามารถส่งหนังสือแจ้งให้แก่จำเลยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ได้ การที่โจทก์ส่งหนังสือแจ้งแก่จำเลยโดยปิดหนังสือจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งแล้วไม่ได้ จึงยังไม่เป็นหนี้เด็ดขาดและยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนที่โจทก์จะนำมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถือว่าชอบแล้ว หากผู้รับมีคุณสมบัติตามกฎหมาย และการยื่นคำให้การเกินกำหนดทำให้ไม่รับคำให้การ
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสามโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับมีผลเสมือนว่าเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 73 ทวิ ดังนั้น เมื่อภรรยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุเกิน 20 ปี และอยู่บ้านเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยตนเอง ย่อมถือได้ว่ามีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสามโดยชอบแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสามมีสิทธิยื่นคำให้การได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งแจ้งประเมินภาษีโดยวิธีโฆษณาเมื่อส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้ และผลของการเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของหุ้นส่วนจำกัด
โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าให้แก่จำเลยที่1ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้วแต่ส่งไม่ได้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ผู้นำส่งรายงานว่าไม่มีผู้รับกรณีเช่นนี้นับว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะส่งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคหนึ่งแห่งประมวลรัษฎากรโจทก์ชอบที่จะเลือกส่งตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งในสองวิธีตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสามการที่โจทก์ลงโฆษณาแบบแจ้งการประเมินในหนังสือพิมพ์ท้องที่จึงถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินตามความในวรรคท้ายแห่งบทกฎหมายดังกล่าวแล้วเมื่อจำเลยที่1มิได้อุทธรณ์การประเมินจึงมีผลให้หนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้เด็ดขาดและมีจำนวนแน่นอนเกินกว่าห้าแสนบาทขึ้นไปจำเลยที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่1จะกลับมาปฏิเสธว่าหนี้ดังกล่าวไม่ชอบหรือจำนวนหนี้ไม่ถูกต้องอีกหาได้ไม่ เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่1ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่เมื่อวันที่26กุมภาพันธ์2528ซึ่งถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด30วันนับแต่วันที่จำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10ปีคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ คดีห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่1เป็นหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์และจำเลยที่1มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีทรัพย์สินใดชำระหนี้แก่โจทก์ได้จำเลยที่2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1070,1077และมาตรา1080จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่1หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวการประชุมผู้ถือหุ้น: เลือกได้ทั้งพิมพ์โฆษณาหรือส่งทางไปรษณีย์ การเปลี่ยนวิธีการไม่ถือว่าไม่สุจริต
คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นอาจกระทำได้โดยทางใดทางหนึ่งใน 2 ทาง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1175 คือโดยการลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ หรือโดยส่งทางไปรษณีย์ไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน เมื่อจำเลยเลือกกระทำโดยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่แล้ว ก็ไม่จำต้องส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ไปยังโจทก์หรือผู้ถือหุ้นอื่นอีก แม้การเรียกประชุมใหญ่ในครั้งก่อน จำเลยจะได้ส่งคำบอกกล่าวถึงโจทก์ ก็เปลี่ยนมาเป็นการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แทนในการประชุมครั้งหลังได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า: การส่งหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ แม้ผู้รับไม่รับเอง ก็ถือว่าการบอกกล่าวมีผล
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่าโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึงจำเลย 3 แห่ง. คือ ที่บ้านของจำเลย ที่บ้านเช่า และที่โรงรับจำนำของจำเลย. แต่ถูกส่งกลับคืนมา โดยฉบับหนึ่งสลักหลังว่า'ผู้รับไม่อยู่ ไม่มีใครรับแทน ส่งไม่ได้คืน'. อีกฉบับหนึ่งสลักหลังว่า'ผู้รับไม่อยู่ คนในบ้านไม่รับแทน ส่งไม่ได้คืน'.และอีกฉบับหนึ่งสลักหลังว่า'ผู้รับไม่อยู่ ไม่มีใครรับแทน ส่ง 3 ครั้งแล้ว ส่งไม่ได้คืน'. ข้อความที่สลักหลังแสดงว่ามีผู้รับแต่ไม่ยอมรับแทน การส่งไม่ได้เป็นเพราะจำเลยหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับ. จึงถือได้ว่าการบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าของโจทก์ถึงจำเลยแล้ว.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 130 วรรคแรก. การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์โดยทางจดหมายย่อมมีผลนับแต่เวลาที่ไปถึงจำเลยเป็นต้นไป. จำเลยจะได้ทราบข้อความในหนังสือนั้นหรือไม่. การบอกกล่าวก็มีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าตามมาตรา 566 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมบริษัทจำกัด การนับระยะเวลาตามกฎหมาย ให้ดูวันที่ส่ง ไม่ใช่วันที่ผู้รับได้รับ
มาตรา 1175 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่บริษัทจำกัด เพียงแต่บังคับให้ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีได้ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นก็ได้รับ ย่อมถือว่าจำเลยส่งถูกต้องตามกฎหมายแล้ว โจทก์ได้รับวันใด หาเป็นข้อสำคัญไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำสั่งอายัดทางไปรษณีย์ต้องพิสูจน์อายุและสถานะของผู้รับแทนตามกฎหมาย
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278/1 และมาตรา 76 เจ้าพนักงานบังคับคดีแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ส่งคำสั่งอายัดให้แก่ผู้ร้องโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ในหนังสือรับรอง มีผู้รับแทนตามเอกสารท้ายหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดีฉบับลงวันที่ 14 มีนาคม 2549 โดยไม่ปรากฏรายละเอียดว่าบุคคลผู้รับแทนนั้นมีอายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้ร้องหรือไม่ ข้อเท็จจริงย่อมไม่เป็นการเพียงพอที่จะฟังว่าได้มีการส่งคำสั่งอายัดให้แก่ผู้ร้องถูกต้องตามกฎหมาย