พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากสัญญาจ้างทำของที่แบ่งชำระเป็นงวดๆ เริ่มนับจากวันที่ส่งมอบงานครบถ้วน
การที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้พิมพ์หนังสือเป็นเรื่องจ้างทำของสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวมีกำหนดอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)
สัญญากำหนดชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ตามงานที่เสร็จเป็นช่วง ๆ โจทก์จัดส่งหนังสือให้จำเลยครบถ้วนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 ฉะนั้น อายุความของโจทก์ในการฟ้องเพื่อสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงวดสุดท้ายจึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/12 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 จึงเป็นเวลาเกินกว่าสองปีแล้ว จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/9 การบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นจริงของสัญญาที่แบ่งชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ให้กลายเป็นการชำระหนี้ให้บางส่วน เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) ได้
สัญญากำหนดชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ตามงานที่เสร็จเป็นช่วง ๆ โจทก์จัดส่งหนังสือให้จำเลยครบถ้วนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 ฉะนั้น อายุความของโจทก์ในการฟ้องเพื่อสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงวดสุดท้ายจึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/12 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 จึงเป็นเวลาเกินกว่าสองปีแล้ว จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/9 การบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นจริงของสัญญาที่แบ่งชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ให้กลายเป็นการชำระหนี้ให้บางส่วน เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ อายุความเริ่มนับเมื่อส่งมอบงาน
สัญญาจ้างทำของ กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องกระทำตามแบบหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เพียงแต่ผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นก็เป็นการเพียงพอที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ดังนั้น แม้เอกสารตามที่โจทก์อ้างจะไม่มีลายมือชื่อของจำเลยในฐานะผู้ว่าจ้าง ก็ใช้เป็นพยานหลักฐาน เพื่อประกอบการพิจารณาว่าจำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้โจทก์ทำการดังกล่าวหรือไม่ได้
การที่โจทก์ต้องส่งมอบงานก่อสร้างอาคารชุด ส่วนที่ 17 และงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารชุดดังกล่าว แก่จำเลยเป็นหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญา แม้ในส่วนงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นโจทก์ได้ติดตั้งเสร็จแล้ว แต่งานในส่วนการก่อสร้างอาคารชุด ส่วนที่ 17 โจทก์ยังทำไม่เสร็จ โจทก์ย่อมมีเหตุอันควรที่จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกค่าติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าก็ยังไม่เกิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคหนึ่ง และอายุความในการฟ้องร้องจึงยังไม่เริ่มนับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ส่งมอบงานที่ทำดังกล่าวแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 และยื่นฟ้องวันที่ 3 มิถุนายน 2536 สิทธิเรียกร้องในส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
การที่โจทก์ต้องส่งมอบงานก่อสร้างอาคารชุด ส่วนที่ 17 และงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารชุดดังกล่าว แก่จำเลยเป็นหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญา แม้ในส่วนงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นโจทก์ได้ติดตั้งเสร็จแล้ว แต่งานในส่วนการก่อสร้างอาคารชุด ส่วนที่ 17 โจทก์ยังทำไม่เสร็จ โจทก์ย่อมมีเหตุอันควรที่จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกค่าติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าก็ยังไม่เกิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคหนึ่ง และอายุความในการฟ้องร้องจึงยังไม่เริ่มนับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ส่งมอบงานที่ทำดังกล่าวแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 และยื่นฟ้องวันที่ 3 มิถุนายน 2536 สิทธิเรียกร้องในส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าจ้างจากสัญญาจ้างทำของ เริ่มนับเมื่อส่งมอบงาน และการเปลี่ยนแปลงสัญญา
สัญญาจ้างทำของไม่ต้องกระทำตามแบบหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นก็เป็นการเพียงพอที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ในรายการเพิ่มเติมมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิมและมีการเพิ่มงานมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าราคาค่าก่อสร้างจะต้องเพิ่มขึ้นกว่าราคาเดิมอย่างมาก ประกอบกับเจ้าของห้องชุดที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแบบจะต้องได้รับอนุญาตจากโจทก์เสียก่อน จึงฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้องชุดตามรายการเพิ่มเติมโครงการจริง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ต่อโจทก์
งานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดำเนินการเสร็จในเดือนพฤษภาคม2534 แต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ บ. ในเมื่อขณะนั้นการก่อสร้างงานส่วนที่ 17 ยังไม่แล้วเสร็จ ย่อมมีเหตุผลอันควรที่โจทก์จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการจะเรียกสินจ้างจากจำเลยก็ยังไม่เกิดซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 บัญญัติว่า"อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..."และสิทธิเรียกร้องสินจ้างของโจทก์จะเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งมอบการที่ทำตามมาตรา 602 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยไม่ได้โต้แย้งในข้อนี้ว่า โจทก์ได้ส่งมอบการที่ทำแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เช่นนี้ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงหาขาดอายุความไม่
งานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดำเนินการเสร็จในเดือนพฤษภาคม2534 แต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ บ. ในเมื่อขณะนั้นการก่อสร้างงานส่วนที่ 17 ยังไม่แล้วเสร็จ ย่อมมีเหตุผลอันควรที่โจทก์จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการจะเรียกสินจ้างจากจำเลยก็ยังไม่เกิดซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 บัญญัติว่า"อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..."และสิทธิเรียกร้องสินจ้างของโจทก์จะเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งมอบการที่ทำตามมาตรา 602 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยไม่ได้โต้แย้งในข้อนี้ว่า โจทก์ได้ส่งมอบการที่ทำแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เช่นนี้ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงหาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างปลูกต้นไม้: การส่งมอบงาน, การชำระเงิน, และขอบเขตความรับผิดชอบความชำรุดบกพร่อง
สัญญาว่าจ้างปลูกต้นปาล์มน้ำมัน ข้อ 10 ความว่าการส่งมอบงานตามสัญญานี้ให้หมายถึงการส่งมอบงานที่แล้วเสร็จ และถูกต้องสมบูรณ์เป็นช่วง ช่วงละ 50 ต้น และข้อ 16 ความว่า ผู้ว่าจ้างตกลงชำระค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตามสัญญา โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ดังต่อไปนี้ (16.1) ชำระราคา ต่อเมื่อผู้รับจ้างได้ทำการปลูกต้นปาล์มน้ำมันจนแล้วเสร็จและ ส่งมอบในแต่ละช่วง ช่วงละ 50 ต้น (16.2) ชำระราคา โดยผู้ว่าจ้างจะทำการจ่ายภายหลัง 3 เดือน นับแต่ส่งมอบงาน แล้วเสร็จในแต่ละช่วง (16.3) ชำระราคา โดยผู้ว่าจ้าง จะทำการจ่ายเมื่อครบกำหนดการรับประกันโดยไม่มีข้อชำรุด บกพร่องในงานแต่ละช่วงตามสัญญา ดังนั้น การที่จำเลย จ่ายค่าจ้างงวดแรกให้โจทก์ตามสัญญา แสดงว่าโจทก์ได้ส่งมอบ งานตามสัญญาที่แล้วเสร็จและถูกต้องสมบูรณ์แล้ว เมื่อครบกำหนด 3 เดือน นับแต่ส่งมอบงานแล้วเสร็จในแต่ละช่วงตามสัญญาจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามข้อ 16.2 จำเลยแจ้งความเสียหาย ให้โจทก์แก้ไขเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2536 โจทก์ยอมรับว่า มีความชำรุดบกพร่องจริงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2537 แสดงว่า นับแต่จำเลยแจ้งความชำรุดบกพร่องครั้งแรกจนถึงวันตรวจสอบ ครั้งหลังเป็นเวลาเกือบหนึ่งปีครึ่ง น่าเชื่อว่าโจทก์ปรับปรุง แก้ไขนานแล้ว เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าโจทก์ส่งมอบงาน ที่แล้วเสร็จ สมบูรณ์ แก่จำเลยเมื่อใด แต่จำเลยจ่ายเงินค่าจ้าง งวดแรกแก่โจทก์ครบถ้วน ถือว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มน้ำมัน แล้วเสร็จภายใน 45 วัน คือ ถือว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มน้ำมัน และส่งมอบงานที่แล้วเสร็จ สมบูรณ์ แก่จำเลยภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2536 กำหนดเวลาที่โจทก์รับประกันความชำรุด บกพร่องของต้นปาล์มน้ำมันเป็นเวลา 1 ปี นับแต่ส่งมอบงานในแต่ละช่วง จึงมีกำหนดถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2537 จำเลยแจ้ง ให้โจทก์ทราบว่าต้นปาล์มน้ำมันล้มตายเป็นจำนวนมาก ให้โจทก์แก้ไขซ่อมแซมซึ่งเป็นเวลาหลังจากการรับประกัน ความชำรุดบกพร่องของโจทก์สิ้นสุดลงแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่า ความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่โจทก์รับประกัน ความชำรุดบกพร่อง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดแก้ไขซ่อมแซม ที่กรรมการโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่ามีต้นปาล์มน้ำมันเสียหาย 12 ต้น ก็ไม่มีข้อความใดระบุว่าความเสียหายเกิดขึ้นภายใน ระยะเวลาที่โจทก์รับประกันความชำรุดบกพร่องจำเลยจึง มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนร้อยละ 10 ของจำนวน ค่าจ้างตามสัญญาข้อ 16.3 เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินจึงเป็นฝ่าย ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดส่งมอบงานและการใช้ดุลพินิจศาลในการลดเบี้ยปรับ
แม้หนังสือสัญญาว่าจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ฉบับพิพาทจะได้กำหนดให้ทำเฟอร์นิเจอร์ส่งมอบแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2532 แต่ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้รับจ้างกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างก็ได้ตกลงเลื่อนกำหนดวันส่งมอบงานออกไปเป็นให้ส่งมอบงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเดิมเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้นจำเลยที่ 1 จะอ้างว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้าโดยถือว่าโจทก์ผิดสัญญาก่อนวันที่ 5สิงหาคม 2533 หาได้ไม่
โจทก์ได้ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วว่าหากทำไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ก็จะยอมให้ปรับ โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ผ่อนผันโดยไม่ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบล่าช้าหรือไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเดิมคู่สัญญาต่างมีเจตนาระงับกันไปโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาอีกต่อไปจนกว่าจะล่วงพ้นวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนทั้งหมดแล้วในวันที่ 10 กันยายน 2533 ล่าช้าไปจากวันที่ 5สิงหาคม 2533 เป็นระยะเวลา 35 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็มิได้โต้แย้ง เท่ากับว่าโจทก์ผิดสัญญาเพียง 35 วัน ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดปรับรายวันรวม 35 วันมาจึงชอบแล้ว
เบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้
โจทก์ได้ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วว่าหากทำไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ก็จะยอมให้ปรับ โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ผ่อนผันโดยไม่ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบล่าช้าหรือไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเดิมคู่สัญญาต่างมีเจตนาระงับกันไปโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาอีกต่อไปจนกว่าจะล่วงพ้นวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนทั้งหมดแล้วในวันที่ 10 กันยายน 2533 ล่าช้าไปจากวันที่ 5สิงหาคม 2533 เป็นระยะเวลา 35 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็มิได้โต้แย้ง เท่ากับว่าโจทก์ผิดสัญญาเพียง 35 วัน ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดปรับรายวันรวม 35 วันมาจึงชอบแล้ว
เบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาส่งมอบงานและการคิดค่าปรับ: การตกลงแก้ไขสัญญาย่อมมีผลเหนือกว่าข้อกำหนดเดิม
แม้หนังสือสัญญาว่าจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ฉบับพิพาทจะได้กำหนดให้ทำเฟอร์นิเจอร์ส่งมอบแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2532 แต่ต่อมาโจทก์ ในฐานะผู้รับจ้างกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างก็ได้ตกลงเลื่อนกำหนดวันส่งมอบงานออกไปเป็นให้ส่งมอบงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดตามสัญญาเดิม เป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้น จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าโจทก์ ส่งมอบงานล่าช้าโดยถือว่าโจทก์ผิดสัญญาก่อนวันที่ 5สิงหาคม 2533 หาได้ไม่ โจทก์ได้ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วว่าหากทำไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ก็จะยอมให้ปรับโดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ผ่อนผันโดยไม่ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบล่าช้าหรือไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเดิมคู่สัญญาต่างมีเจตนาระงับกันไปโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดสัญญาอีกต่อไปจนกว่าจะล่วงพ้นวันที่ 5 สิงหาคม2533 ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนทั้งหมดแล้วในวันที่ 10 กันยายน 2533 ล่าช้าไปจากวันที่5 สิงหาคม 2533 เป็นระยะเวลา 35 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1ก็มิได้โต้แย้ง เท่ากับว่าโจทก์ผิดสัญญาเพียง 35 วันที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดปรับรายวันรวม 35 วัน มาจึงชอบแล้ว เบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลง ศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าก่อสร้าง: เริ่มนับจากวันส่งมอบงานตามสัญญา แม้ไม่มีกำหนดจ่ายเงินที่แน่นอน
แม้ตามสัญญาจ้างเหมาจะได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานและหลักเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างไว้ว่าวิธีการจ่ายค่าจ้างให้ถือเอาความแล้วเสร็จของงานจ้างเหมาแต่ละชุดเป็นเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างแต่ละงวด โดยให้คิดเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จก็ตาม แต่ในการจ่ายค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ในแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนและจำนวนเงินที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ทางฝ่ายจำเลยซึ่งมีทั้งขอผัดชำระและมีการหักไว้บางส่วน โดยอ้างว่าจะจ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว แสดงว่าโจทก์กับจำเลยต่างมิได้ยึดถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าจ้างแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ แต่ยึดถือเมื่องานเสร็จตามโครงการแล้วจะต้องชำระให้หมดสิ้น โจทก์ได้ทำงานเสร็จทั้งโครงการและส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยรับไปในวันที่ 27 เมษายน 2532 อายุความเรียกค่าก่อสร้างและค่าจ้างจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างของโจทก์ เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 26 เมษายน 2534 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเรียกค่าก่อสร้าง เริ่มนับจากวันส่งมอบงานโครงการทั้งหมด ไม่ใช่รายงวด
แม้ตามสัญญาจ้างเหมาจะได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานและหลักเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างไว้ว่าวิธีการจ่ายค่าจ้างให้ถือเอาความแล้วเสร็จของงานจ้างเหมาแต่ละชุดเป็นเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างแต่ละงวด โดยให้คิดเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จก็ตรา แต่ในการจ่ายค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ในแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนและจำนวนเงินที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ทางฝ่ายจำเลยซึ่งมีทั้งขอผัดชำระและมีการหักไว้บางส่วน โดยอ้างว่าจะจ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว แสดงว่าโจทก์กับจำเลยต่างมิได้ยึดถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าจ้างแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ แต่ยึดถือเมื่องานเสร็จตามโครงการแล้วจะต้องชำระให้หมดสิ้น โจทก์ได้ทำงานเสร็จทั้งโครงการและส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยรับไปในวันที่ 27 เมษายน 2532 อายุความเรียกค่าก่อสร้างและค่าจ้างจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างของโจทก์ เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 26 เมษายน 2534 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าก่อสร้าง เริ่มนับจากวันส่งมอบงานทั้งหมด ไม่ใช่รายงวด แม้สัญญาระบุการชำระรายงวด
แม้ตามสัญญาจ้างเหมาจะได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานและหลักเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างไว้ว่าวิธีการจ่ายค่าจ้างให้ถือเอาความแล้วเสร็จของงานจ้างเหมาแต่ละชุดเป็นเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างแต่ละงวดโดยให้คิดเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จก็ตราแต่ในการจ่ายค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ในแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนและจำนวนเงินที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ทางฝ่ายจำเลยซึ่งมีทั้งขอผัดชำระและมีการหักไว้บางส่วนโดยอ้างว่าจะจ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้วแสดงว่าโจทก์กับจำเลยต่างมิได้ยึดถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าจ้างแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญแต่ยึดถือเมื่องานเสร็จตามโครงการแล้วจะต้องชำระให้หมดสิ้นโจทก์ได้ทำงานเสร็จทั้งโครงการและส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยรับไปในวันที่27เมษายน2532อายุความเรียกค่าก่อสร้างและค่าจ้างจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างของโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่26เมษายน2534เป็นระยะเวลาไม่เกิน2ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7588/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยจากการน้ำท่วมทำให้ส่งมอบงานล่าช้า ไม่ต้องเสียค่าปรับ
เงินส่วนหนึ่งของเงินค่าจ้างถมดินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์แต่จำเลยหักไว้เป็นค่าปรับตามสัญญาจ้างเหมาการปรับถมพื้นที่ซึ่งจำเลยอ้างว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้าโจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยตามกำหนดนัดได้เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ไม่ใช่ลาภมิควรได้ไม่อยู่ในบังคับอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419 แม้ฝนจะตกทุกปีในฤดูฝนแต่สำหรับปลายปี2526ฝนตกหนักและน้ำท่วมสูงกว่าปีก่อนเป็นเหตุให้น้ำท่วมบริเวณที่ดินที่จะถมดังนั้นแม้โจทก์จะหาแหล่งดินอื่นมาถมได้แต่เมื่อบริเวณที่จะถมน้ำท่วมและเส้นทางขนส่งลำเลียงดินน้ำท่วมโจทก์ก็ไม่อาจทำการถมดินให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้กรณีดังกล่าวถือได้ว่่าเป็นเหตุสุดวิสัย