พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ไม่สำเร็จ ศาลสั่งให้โจทก์แถลงผล แต่ไม่แจ้งผลให้ทราบ ถือว่าโจทก์ยังไม่ได้ละเลยคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ในวันเดียวกับวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ใน 15 วัน โดยให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วันนับแต่วันส่งไม่ได้"ต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งธนบุรี ขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลแพ่งธนบุรีเพื่อดำเนินการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยโดยโจทก์แนบตั๋วแลกเงินไปรษณีย์มาพร้อมคำแถลง ศาลชั้นต้นจัดการให้ ต่อมาศาลแพ่งธนบุรีได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้จัดการส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยแล้ว แต่ส่งไม่ได้พร้อมกับส่งหลักฐานรายงานการส่งหมายของเจ้าพนักงานให้ศาลชั้นต้นทราบด้วย ศาลชั้นต้นรับทราบแล้วมีคำสั่งอีกว่า "ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน " คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นมีความหมายว่าโจทก์ต้องทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ด้วยว่าส่งให้จำเลยไม่ได้ แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าพนักงานเดินหมายของศาลแพ่งธนบุรีส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีโอกาสทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบตามเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ หากส่งไม่ได้ ศาลต้องแจ้งโจทก์เพื่อให้ดำเนินการต่อ การไม่แจ้งถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
วันที่โจทก์ยื่นฟ้องอุทธรณ์ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2534ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ใน 15 วัน โดยให้โจทก์นำส่งใน 7 วัน หากวันส่งไม่ได้ให้แถลงใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งข้างต้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ ต่อมาวันที่ 3 มกราคม 2535 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งธนบุรี ขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลแพ่งธนบุรีเพื่อให้ดำเนินการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ ให้จำเลยต่อไป ศาลชั้นต้นจัดการให้ตามคำแถลง ต่อมา วันที่ 23 มกราคม 2535 ศาลแพ่งธนบุรีได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้จัดการส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยแล้ว แต่ส่งไม่ได้ ศาลชั้นต้นรับทราบแล้วมีคำสั่งในวันที่ 28 มกราคม 2535 อีกว่า ให้โจทก์แถลงใน 7 วัน คำสั่ง ของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นมีความหมายว่าโจทก์ต้องทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ด้วยว่าส่งให้จำเลยไม่ได้ แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าพนักงานเดินหมาย ของศาลแพ่งธนบุรีส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีโอกาสทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ ให้จำเลย ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบตามเวลา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลา ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะเป็นการทิ้งอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากส่งสำเนาฟ้องฎีกาไม่ได้ และข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลเดิมยกฟ้อง
เมื่อส่งสำเนาฟ้องฎีกาให้จำเลยไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจสั่งจำหน่ายคดี
ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในคดีซึ่งศาลเดิมและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง
ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในคดีซึ่งศาลเดิมและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่งผลให้ศาลจำหน่ายคดีได้
กรมการอำเภอส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ๆ ไม่รับ กรมการอำเภอส่งหมายและสำเนานั้นคืนศาลชั้นต้น ๆ สั่งว่าให้รวมสำนวนไว้ถือว่าจำเลยได้ทราบว่ามีอุทธรณ์แล้วดังนี้การส่งดังนี้ถือว่าไม่ถูกต้องตามวิธีพิจารณา.
แม้การไต่สวนมูลฟ้องจะทำลับหลังจำเลยได้แต่ต้องได้ส่งสำเนาฟ้องให้จำเลยได้ตามกฎหมายเสียก่อนจึงจะไต่สวนได้ และในการอุทธรณ์ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเช่นเดียวกัน เมื่อไม่ส่งให้ได้โดยถูกต้องตามกฎหมายศาลอุทธรณ์ก็ต้องจำหน่ายคดีไป.
แม้การไต่สวนมูลฟ้องจะทำลับหลังจำเลยได้แต่ต้องได้ส่งสำเนาฟ้องให้จำเลยได้ตามกฎหมายเสียก่อนจึงจะไต่สวนได้ และในการอุทธรณ์ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเช่นเดียวกัน เมื่อไม่ส่งให้ได้โดยถูกต้องตามกฎหมายศาลอุทธรณ์ก็ต้องจำหน่ายคดีไป.