คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ส่งออก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8407/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดเชยค่าภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก และความรับผิดจากบัญชีสินค้าสำหรับเรือ (Manifest) ที่ไม่ตรงกัน
บัญชีสินค้าสำหรับเรือ (Manifest) เป็นบัญชีแสดงรายละเอียดสินค้าที่ส่งออกเป็นเอกสารที่นายเรือทุกลำซึ่งบรรทุกสินค้าออกหรือตัวแทนมีหน้าที่ยื่นต่อศุลกสถานของโจทก์ภายใน 6 วันเต็ม นับแต่วันที่ได้ออกใบปล่อยเรือขาออก ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 51 บัญชีสินค้าสำหรับเรือ (Manifest) จึงเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่ามีการส่งสินค้าออกนอกราชอาญาจักรหรือไม่ เมื่อสินค้าที่ปรากฏในใบขนสินค้าขาออกทั้งสี่ฉบับไม่ตรงกับบัญชีสินค้าสำหรับเรือ (Manifest) และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้นำสืบหักล้างว่าเหตุใดจึงไม่ตรงกัน ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าไม่มีการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรตามใบขนสินค้าขาออก จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองและพยายามส่งออกเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย ความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดและมาตรการปราบปราม
เฮโรอีนของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม ขึ้นไปตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) บัญญัติให้ถือว่าเป็นการส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเมื่อเฮโรอีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 189.761 กรัม เกินกว่าสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม จึงเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และพยายามส่งออกเพื่อจำหน่ายตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8548/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองและพยายามส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 และ 4 จำเลยทราบประกาศกระทรวงสาธารณสุขแล้ว
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97ฯ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 6 (1) และมาตรา 11 (4) แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2539 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าวจึงมีผลบังคับใช้
คำฟ้องของโจทก์ในข้อ ก. กล่าวว่า จำเลยมีไว้เพื่อขายซึ่งเฟนเตอมีนอันเป็นวัถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97ฯ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว และจำเลยได้พยายามนำเฟนเตอมีนดังกล่าวออกนอกราชอาณาจักรไทย เพื่อไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลีโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการบรรยายฟ้องที่ยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้ว แม้ท้ายฟ้องหรือในการพิจารณาโจทก์มิได้นำส่งประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าว ก็หาทำให้การฟ้องและการดำเนินคดีของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมื่อสินค้าสูญหายหลังยึดและอนุญาตให้ส่งออก
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกตรวจสินค้าของโจทก์แล้วพบว่าโจทก์กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ จึงยึดสินค้าดังกล่าวแล้วนำไปฝากไว้ในตู้เก็บสินค้า โดยผนึกตะกั่วประทับตราของจำเลยที่ 1 ไว้ การเปิดตู้เก็บสินค้าจะกระทำมิได้เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 1 ยึดสินค้าดังกล่าวไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ แต่สินค้าสูญหายไปก่อน จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของศุลกากรเมื่อยึดสินค้าแล้วสูญหาย แม้จะอนุญาตให้ส่งออกได้
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ตรวจสินค้าของโจทก์แล้วพบว่าโจทก์กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 60,99 และดำเนินคดีแก่โจทก์ ซึ่งตามมาตรา 60 บัญญัติให้ริบสินค้าเสียสิ้นเมื่อจำเลยที่ 1 ยึดสินค้าไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตามมาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 กรณีหาใช่เพียงแต่อยู่ในความรักษาหรือตรวจตราดูแลของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 117 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์กระทำความผิดตามมาตรา 99 เท่านั้น และยอมให้โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าแก่โจทก์ เมื่อสินค้าสูญหายก็ต้องใช้ราคา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5251/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามส่งยาเสพติดออกนอกประเทศ แม้ยังไม่ผ่านการตรวจลงตรา
จำเลยมาที่ท่าอากาศยานกรุงเทพเพื่อโดยสารสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์ เดินทางออกนอกราชอาณาจักรไทย โดยจะออกจากท่าอากาศยานกรุงเทพเวลา 3.45 นาฬิกา เจ้าพนักงานตรวจค้นจับกุมจำเลยได้พร้อมเฮโรอีน แม้หนังสือเดินทางของจำเลย บัตรขาออกด่านตรวจคนเข้าเมือง และตั๋วโดยสารเครื่องบินของจำเลย ยังไม่ได้รับการตรวจลงตราจากเจ้าพนักงานให้จำเลยผ่านขึ้นเครื่องบินได้ก็ถือว่าจำเลยลงมือกระทำความผิดฐานส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5251/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานพยายามส่งยาเสพติดออกนอกประเทศ แม้ยังไม่ผ่านการตรวจลงตรา
จำเลยมาที่ท่าอากาศยานกรุงเทพเพื่อโดยสารสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์เดินทางออกนอกราชอาณาจักรไทย โดยจะออกจากท่าอากาศยานกรุงเทพเวลา 3.45นาฬิกา เจ้าพนักงานตรวจค้นจับกุมจำเลยได้พร้อมเฮโรอีน แม้หนังสือเดินทางของจำเลยบัตรขาออกด่านตรวจคนเข้าเมือง และตั๋วโดยสารเครื่องบินของจำเลย ยังไม่ได้รับการตรวจลงตราจากเจ้าพนักงานให้จำเลยผ่านขึ้นเครื่องบินได้ก็ถือว่าจำเลยลงมือกระทำความผิดฐานส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนภาษีซื้อของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะการส่งออก และการฟ้องเรียกคืนภาษีที่ได้รับไป
การขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดที่มิใช่การส่งออกเป็นการประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มาตรา 81/3(1) บัญญัติให้ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการดังกล่าวขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักจากภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีตามมาตรา 82/3 ได้ ดังนั้น หากผู้ประกอบการมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการย่อมไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการดังกล่าวตามมาตรา 82/3
กรมสรรพากรโจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทการค้าส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ด แต่จำเลยไม่เคยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดด้วยตนเองเลยเพียงแต่ขายให้แก่ผู้ส่งออกอีกทอดหนึ่งจึงเป็นการขายที่จำเลยมิได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81(1)(ก) จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน แต่จำเลยยังยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ขอคืนภาษีซื้อ เป็นการสำแดงภาษีซื้อที่เป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานหลงเชื่อคืนภาษีซื้อให้แก่จำเลย โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินมาคืนพร้อมดอกเบี้ย แต่จำเลยไม่ยอมคืน โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าภาษีซื้อที่จำเลยนำมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 คำฟ้องของโจทก์จึงมีมูลหนี้ที่แน่ชัด เมื่อคำฟ้องของโจทก์ระบุถึงมูลหนี้และเหตุที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์โดยแจ้งชัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรเมื่อไม่ได้ส่งออกสินค้าตามกำหนด และสิทธิการเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกัน
การที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศโดยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวางประกัน และรับของไปจากอารักขาของศุลกากรเป็นเพียงการผ่อนผันชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตสินค้าส่งออกไปต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามกฎหมาย ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำเงินอากรขาเข้าและภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องติดตามทางถามให้จำเลยชำระ ทั้งตาม พ.ร.บ. ศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสียก็ต้องเรียกเงินเพิ่มจากจำเลยตามกฎหมาย
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางก็ไม่มีบทบัญญัติใดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรว่าถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) ตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันทันที ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น ถ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ และเมื่อเรียกจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วหนี้ยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่มแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) และเงินเพิ่ม จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและภายในชอบที่กฎหมายบัญญัติ จึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2788/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศไม่กระทบเจตนาพิเศษ
การที่เครื่องหมายการค้าคำว่า FOX-D เครื่องหมายการค้า และ ของโจทก์ร่วมได้มีการจดทะเบียนในประเทศไทยโดยชอบแล้วมาตั้งแต่ปี 2513 ปี 2518 และปี 2536 โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีสิทธิเพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสามดังกล่าวสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 หากบุคคลอื่นเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมดังกล่าวไปใช้กับสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมโดยชอบแล้ว ก็ย่อมมีความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนของโจทก์ร่วม หรือถ้าได้มีการจัดทำเครื่องหมายการค้าขึ้นโดยการดัดแปลงแก้ไขให้คล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนของโจทก์ร่วมเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมแล้ว ก็ย่อมมีความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมได้
เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จนถึงเวลาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 114 เดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ได้มีการแก้ไขบทบัญญัติมาตรา 114 ดังกล่าวโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 มาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 114 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับมาตรา 114 ที่แก้ไขใหม่ และปรากฏว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดมากกว่ากฎหมายเดิม เพราะตามมาตรา 114 เดิม โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์เพียงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้กระทำความผิดเท่านั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการและผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย หน้าที่พิสูจน์ให้พ้นความผิดจึงตกอยู่แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ตามมาตรา 114 ที่แก้ไขใหม่หน้าที่พิสูจน์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดตกอยู่แก่โจทก์ซึ่งต้องพิสูจน์ว่าการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 เกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงจะต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น กรณีจึงต้องใช้บทบัญญัติมาตรา 114 ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้กระทำความผิดทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า สินค้าที่จำเลยทั้งสามผลิตโดยใช้เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะไม่มีการวางจำหน่ายในประเทศไทยโดยจำเลยทั้งสามส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศทั้งหมดก็ตาม แต่เจตนาพิเศษที่จำเลยทั้งสามได้กระทำขึ้นเพื่อให้ประชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมนั้น เป็นเจตนาพิเศษของจำเลยทั้งสามที่เกิดขึ้นเมื่อจำเลยทั้งสามเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม อันเป็นผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า เมื่อมีผู้พบเห็นแล้วจะได้หลงเชื่อในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทั้งสามได้เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม
คำว่า "ประชาชน" ตามความหมายในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หมายถึงบุคคลอื่นโดยทั่วๆ ไปเท่านั้น ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นคนใดคนหนึ่งหรือเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศแต่อย่างใด หากได้เคยเห็นหรือเคยรู้ว่าเครื่องหมายการค้า BOSNY เป็นของโจทก์ร่วมแล้วได้มาเห็นเครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปและคำว่า BOTNY ก็ทำให้หลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษครบองค์ประกอบความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แล้ว
of 7