พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีปกครอง - การส่งเรื่องระหว่างศาล และการแจ้งให้ฟ้องต่อศาลปกครอง
ในชั้นตรวจคำฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีปกครองซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 12 วรรคสอง กล่าวคือ ศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อน และศาลต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่า เคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้ว และศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง นอกจากนี้ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจ ศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 12 วรรคสอง ต่อไปเสียก่อนเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการส่งเรื่องวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ: คำวินิจฉัยประธานศาลฎีกาเป็นที่สุด
ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลใด เมื่อมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาแล้วว่า คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาดังกล่าวเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 13 จำเลยจะฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีกไม่ได้
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความ ต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความ ต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลหลังรับอุทธรณ์ขายทอดตลาด: ศาลชั้นต้นหมดอำนาจสั่งการอื่นหลังส่งเรื่องให้ศาลอุทธรณ์
ปัญหาที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาว่า เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์แล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องส่งอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา เลยขั้นตอนของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งใด ๆ อีก แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งดังกล่าวโดยมิใช่ศาลอุทธรณ์เป็นผู้สั่งนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ แล้วให้มีหนังสือเปิดผนึกตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอ ซึ่งก็มีผลเท่ากับให้โอนที่ดินทั้ง 4 แปลง ที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้จากการขาย-ทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ตามความประสงค์ของผู้ซื้อทรัพย์และตามที่อุทธรณ์แล้วฎีกาข้อนี้ของผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 1 ไปแล้ว และไม่มีฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านการขายทอดตลาด สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์โดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามกฎหมายมีอย่างไรคงมีอยู่อย่างนั้นไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องมีคำพิพากษารับรองให้อีกชั้นหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 1 ไปแล้ว และไม่มีฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านการขายทอดตลาด สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์โดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามกฎหมายมีอย่างไรคงมีอยู่อย่างนั้นไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องมีคำพิพากษารับรองให้อีกชั้นหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12376/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีเจ้าหน้าที่รัฐทุจริต: การส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แม้ขณะจำเลยกระทำความผิดอยู่ในบังคับใช้ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ก็ตาม แต่ ศ. เจ้าพนักงานตำรวจกองตรวจคนเข้าเมือง 2 ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2543 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ใช้บังคับแล้ว การสอบสวนจำเลยจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อ พ.ร.บ. นั้นไม่มีมาตราใดบัญญัติให้พนักงานสอบสวนซึ่งรับคำร้องทุกข์ไว้มีอำนาจสอบสวนได้ แต่มาตรา 89 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีผู้เสียหายได้ร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่บุคคลตามมาตรา 66 อันเนื่องมาจากได้กระทำการตามมาตรา 88 ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษเพื่อจะดำเนินการตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ในการนี้หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า เรื่องดังกล่าวมิใช่กรณีตามมาตรา 88 ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องกลับไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตาม ป.วิ.อ. ต่อไป" ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองจึงต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนและแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยของคณะอนุกรรมการไต่สวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งจึงชอบด้วยกฎหมายและการที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองไม่ได้สอบสวน จึงไม่มีผลทำให้การสอบสวนและการฟ้องคดีนี้ของโจทก์เป็นไปโดยไม่ชอบ