พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3135/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมขายที่ดินเฉพาะส่วนตน ผู้ซื้อได้สิทธิเฉพาะส่วนนั้น โจทก์มีสิทธิในส่วนของตน
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยร่วมกัน จำเลยไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม จำเลยคงมีสิทธิขายได้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้นการที่จำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องจึงมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของจำเลยส่วนของโจทก์ยังคงมีอยู่ตามเดิม
ผู้ร้องเข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทก่อนจำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องนั้น เป็นการเข้าครอบครองทำกินต่างดอกเบี้ย ถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์จำเลย ส่วนหลังจากจำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องถือได้ว่าผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายซึ่งผู้ร้องได้สิทธิเฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้นที่ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งแปลงย่อมถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วม มิใช่เป็นการแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้
ผู้ร้องขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ดีเสียภาษีบำรุงท้องที่ในที่ดินพิพาทก็ดี ไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมได้รู้เห็นในการกระทำดังกล่าวด้วย ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองต่อโจทก์ผู้ร้องจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้องตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องขอแบ่งจากจำเลย คำพิพากษาที่ให้จำเลยแบ่งที่ดินที่พิพาทให้โจทก์ จึงไม่มีผลบังคับเอากับผู้ร้องโจทก์จึงจะยึดที่ดินพิพาทซึ่งเจ้าของรวมคือโจทก์กับผู้ร้องมาขายทอดตลาดไม่ได้เพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอแบ่งจากผู้ร้อง
ผู้ร้องเข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทก่อนจำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องนั้น เป็นการเข้าครอบครองทำกินต่างดอกเบี้ย ถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์จำเลย ส่วนหลังจากจำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องถือได้ว่าผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายซึ่งผู้ร้องได้สิทธิเฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้นที่ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งแปลงย่อมถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วม มิใช่เป็นการแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้
ผู้ร้องขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ดีเสียภาษีบำรุงท้องที่ในที่ดินพิพาทก็ดี ไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมได้รู้เห็นในการกระทำดังกล่าวด้วย ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองต่อโจทก์ผู้ร้องจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้องตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องขอแบ่งจากจำเลย คำพิพากษาที่ให้จำเลยแบ่งที่ดินที่พิพาทให้โจทก์ จึงไม่มีผลบังคับเอากับผู้ร้องโจทก์จึงจะยึดที่ดินพิพาทซึ่งเจ้าของรวมคือโจทก์กับผู้ร้องมาขายทอดตลาดไม่ได้เพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอแบ่งจากผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินรวมของผู้เยาว์: สิทธิจำหน่ายส่วนของตนและข้อยกเว้นความยินยอม
ผู้ร้องสอดเป็นผู้เยาว์และเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ 200 ตารางวา ซึ่งไม่เกินส่วนของตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคแรก และเนื่องจากจำเลยไม่ได้นำเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องสอดมาขายให้โจทก์จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอดและศาลเสียก่อน เพราะมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยนำที่ดินของผู้เยาว์ไปทำนิติกรรมขายให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441-443/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมเกินส่วน-การจัดการมรดก: ผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 ทำพินัยกรรมเกินส่วนของตนในสินบริคณห์ พินัยกรรมนั้นมีผลเฉพาะส่วนของตนตามมาตรา1477
การเข้าเป็นผู้จัดการมรดกทำหลัง 1 ปี นับตั้งแต่เจ้ามรดกตายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลไม่ได้
การเข้าเป็นผู้จัดการมรดกทำหลัง 1 ปี นับตั้งแต่เจ้ามรดกตายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899-900/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส มิฉะนั้นสิทธิในทรัพย์สินส่วนที่เกินส่วนของตนจะตกแก่คู่สมรส
ที่ว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 นั้น แม้ทรัพย์สินตามพินัยกรรมจะมีค่าไม่เกินสินบริคณห์ส่วนของตนก็ตาม แต่ถ้ายังไม่ได้มีการแบ่งทรัพย์สินบริคณห์ระหว่างกัน ทรัพย์สินตามพินัยกรรมก็ยังเป็นสินสมรสซึ่งสามีหรือภริยายังมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรค 2 พินัยกรรมนั้นก็มีผลให้ทรัพย์ตกได้แก่ผู้รับพินัยกรรมเพียงตามส่วนของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น
โจทก์ตั้งฐานฟ้องเป็นเรื่องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรม ไม่ได้ขอให้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด และจำเลยก็ต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอม เจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ จึงถือว่าการที่จำเลยไม่ยอมส่งทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นการละเมิดมิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาใหม่ได้.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).
โจทก์ตั้งฐานฟ้องเป็นเรื่องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรม ไม่ได้ขอให้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด และจำเลยก็ต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอม เจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ จึงถือว่าการที่จำเลยไม่ยอมส่งทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นการละเมิดมิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาใหม่ได้.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจทำพินัยกรรมในส่วนของสินสมรส: พินัยกรรมยกทรัพย์สินสมรสเกินส่วนตนเป็นโมฆะ
บุคคลจะทำพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินของตนเองเท่านั้น จะกำหนดการเผื่อตายในทรัพย์สินของคนอื่นไม่ได้ หากเป็นทรัพย์สินที่สามีภริยามีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตน
แม้ในพินัยกรรมจะปรากฏข้อความว่า "เพื่อมิให้ยุ่งยากจึงให้นางจ้อยภริยาข้าพเจ้าเป็นพยานยกให้ด้วย" และภริยาได้พิมพ์ลายมือไว้ในช่องพยานด้วยก็ตาม ก็๋ไม่ใช่ในฐานะผู้ทำพินัยกรรม หากเป็นเพียงพยานรับรู้ว่าสามีได้ทำพินัยกรรมจริงเท่านั้น แม้จะถือว่าภริยายินยอมให้สามีทำพินัยกรรม พินัยกรรมก็ไมมีผลผูกพันถึงสินบริคณห์ส่วนของภริยา
แม้ในพินัยกรรมจะปรากฏข้อความว่า "เพื่อมิให้ยุ่งยากจึงให้นางจ้อยภริยาข้าพเจ้าเป็นพยานยกให้ด้วย" และภริยาได้พิมพ์ลายมือไว้ในช่องพยานด้วยก็ตาม ก็๋ไม่ใช่ในฐานะผู้ทำพินัยกรรม หากเป็นเพียงพยานรับรู้ว่าสามีได้ทำพินัยกรรมจริงเท่านั้น แม้จะถือว่าภริยายินยอมให้สามีทำพินัยกรรม พินัยกรรมก็ไมมีผลผูกพันถึงสินบริคณห์ส่วนของภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมขายที่ดินแปลงรวมโดยไม่ยินยอม สิทธิเรียกร้องเพิกถอนสัญญาเฉพาะส่วน
เจ้าของร่วมเอาที่ทั้งแปลงไปทำสัญญาซื้อขายให้กับบุคคลภายนอกโดยเจ้าของร่วมอีกผู้หนึ่งไม่รู้เห็นยินยอมด้วย เจ้าของร่วมผู้ไม่ยินยอมนั้นมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิของตนได้ แต่จะเพิกถอนสัญญาซื้อขายทั้งหมดหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมขายที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอม สัญญาผูกพันเฉพาะส่วนของตน
เจ้าของร่วมเพียงคนเดียวไปทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่เขาหมดทั้งแปลงโดยมิได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วมคนอื่นๆนั้น สัญญาจะซื้อขายนั้นย่อมผูกพันเฉพาะส่วนของเจ้าของร่วมผู้ทำสัญญาจะขายเท่านั้น ไม่ผูกพันส่วนของเจ้าของร่วมคนอื่นด้วย
ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินให้ทั้งแปลงตามสัญญา เมื่อปรากฏว่าที่ดินนั้นมีผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมด้วยอีกหลายคน จะให้โอนทั้งแปลงไม่ได้ได้แต่โอนเฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้น ดังนี้ เมื่อคดีไม่ปรากฏว่าส่วนของจำเลยมีอยู่เท่าใด ศาลก็จะพิพากษาให้แบ่งไป ไม่ได้ ได้แต่พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียเท่านั้นแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องร้องว่ากล่าวเป็นเรื่องใหม่
ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินให้ทั้งแปลงตามสัญญา เมื่อปรากฏว่าที่ดินนั้นมีผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมด้วยอีกหลายคน จะให้โอนทั้งแปลงไม่ได้ได้แต่โอนเฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้น ดังนี้ เมื่อคดีไม่ปรากฏว่าส่วนของจำเลยมีอยู่เท่าใด ศาลก็จะพิพากษาให้แบ่งไป ไม่ได้ ได้แต่พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียเท่านั้นแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องร้องว่ากล่าวเป็นเรื่องใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินสินสมรสเกินส่วนที่ตนมีสิทธิ พินัยกรรมไม่ตกเป็นโมฆะ แต่ข้อกำหนดนั้นไม่มีผล
พินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ ถ้าได้ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1652, 1653, 1656, 1657, 1658, 1660, 1661 หรือ 1663 ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 ที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือเนื้อที่ 11 ไร่ 87 ตารางวา เป็นสินสมรสส่วนของโจทก์เพียง 8 ไร่ 2 งาน 7,0625 ตารางวา โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนดังกล่าวหลังจากที่จดทะเบียนหย่า การที่ ส. ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือดังกล่าวให้แก่จำเลย จึงไม่ใช่กรณีตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจแก้ไขชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1481 ที่บัญญัติ "สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้" เพราะขณะทำพินัยกรรมโจทก์และ ส. ไม่ได้เป็นสามีภริยากันแล้ว ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ใช่บทมาตราที่จะตกเป็นโมฆะตามที่มาตรา 1705 บัญญัติ แต่เป็นการทำพินัยกรรมกำหนด การเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ใช่ในเรื่องทรัพย์สินของตนเองตามมาตรา 1646 ก็มีผลเพียงว่า ข้อกำหนดที่ยกที่ดินพิพาทส่วนของผู้อื่นไม่มีผลบังคับเท่านั้น ส่วนข้อกำหนดอื่น เช่น การตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกคงมีผลบังคับได้ ดังนี้ หาทำให้พินัยกรรมตกเป็นโมฆะไม่เนื่องจากไม่ต้องด้วยกรณีตามมาตรา 1705 เช่นกัน