คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ส่วนเกิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้
โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว แต่ยังคงค้างชำระค่าปรับ ปัญหาที่ว่าโจทก์ค้างชำระค่าปรับกรณีชำระค่าเช่าซื้อล่าช้าหรือไม่ และต้องชำระค่าปรับให้แก่จำเลยหรือไม่ เพียงใด เป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับประเด็นที่ว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อแก่จำเลยหรือไม่ โจทก์รับว่าค้างชำระค่าปรับแก่จำเลยตามสัญญาจริงเพียงแต่โต้แย้งว่าค่าปรับสูงเกินไป คดีจึงมีปัญหาว่าค่าปรับตามสัญญา เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนหรือไม่ เมื่อสัญญาเช่าซื้อมีข้อสัญญาว่า โจทก์ (ผู้ซื้อ) ต้องชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลย (ผู้ขาย) โดยผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นระยะเวลา 20 เดือน เป็นรายวัน วันละ 650 บาท ทุก 7 วัน เป็นเงิน 4,550 บาท หากไม่ส่งตามที่กำหนดปรับวันละ 100 บาท ปรับทุกครั้งไปจนกว่าชำระเสร็จให้แก่จำเลย ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ การชำระค่าเช่าซื้อของโจทก์ชำระงวดละ 4,550 บาท ถ้าโจทก์ผิดนัดจะต้องเสียค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จ เท่ากับโจทก์ต้องเสียค่าปรับ 803 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804-1805/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญานายหน้าซื้อขายที่ดิน: การแบ่งผลประโยชน์ส่วนเกินจากการขาย และความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญาร่วมกิจการนายหน้าระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยเป็นข้อตกลงในการร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้มีการซื้อขายที่ดินและจะได้แบ่งผลประโยชน์ซึ่งกันและกันให้สำเร็จลุล่วงตามความประสงค์เท่านั้น ไม่มีข้อความใดพอประมาณได้ว่าหากจำเลยรู้ว่าโจทก์ทั้งสองไม่ใช่นายหน้าผู้จะซื้อจะไม่ทำสัญญาร่วมกิจการนายหน้าอย่างแน่นอนดังนี้ ถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ชี้ช่องให้ บ. กับ ฟ. ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นผลสำเร็จ พฤติกรรมที่แสดงว่าคู่สัญญามิได้ให้ความสำคัญในเรื่องที่โจทก์ทั้งสองจะต้องเป็นนายหน้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สัญญาร่วมกิจการนายหน้าดังกล่าวจึงไม่ได้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสองแสดงการฉ้อฉลต่อจำเลยอันจะทำให้ตกเป็นโมฆียะ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาร่วมกิจการนายหน้าต่อโจทก์ทั้งสอง
สำหรับพวกจำเลยทั้งสิบสี่คนที่ร่วมลงชื่อในสัญญานายหน้านั้นไม่ได้กระทำการเป็นนายหน้าที่แท้จริง แต่สัญญานายหน้าฉบับดังกล่าวได้ทำขึ้นเนื่องจากเป็นความประสงค์ของ บ. และจำเลยเพื่อกระจายฐานภาษีที่จะต้องชำระให้น้อยลงเท่านั้นจึงต้องถือว่าเงินค่าที่ดินส่วนเกินซึ่งจำเลยเป็นผู้รับมาจาก บ. ต้องนำมาจัดแบ่งผลประโยชน์ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญาร่วมกิจการนายหน้า เมื่อจำเลยไม่นำมาแบ่งให้โจทก์ทั้งสอง ถือว่าจำเลยผิดสัญญาร่วมกิจการนายหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดินเกินเนื้อที่ตกลง ศาลพิพากษาให้ชำระราคาที่ดินส่วนเกินได้ ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากโจทก์เนื้อที่ 107 ตารางวา แต่จดทะเบียนโอนเกินกว่าที่ตกลงไป 11 ตารางวาขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนหรือให้จำเลยชำระค่าเสียหายเท่าราคาที่ดินตารางวาละ 120,000 บาท เมื่อศาลเห็นว่าคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินนั้น ไม่สามารถเพิกถอนได้ ก็ยกคำขอส่วนนี้และพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 1,320,000 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องที่ว่าหากสภาพแห่งหนี้ไม่อาจบังคับได้ขอให้จำเลยชำระค่าที่ดิน ซึ่งหมายความว่าเมื่อเพิกถอนนิติกรรมไม่ได้ก็ขอให้จำเลยชดใช้ค่าที่ดินส่วนที่เกินได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
สัญญาขายเหมาคือสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชำระราคาและผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคำนวณได้ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุตัวทรัพย์และส่วนของทรัพย์ที่จะซื้อจะขายไว้แน่นอน คือที่ดินเนื้อที่ 107 ตารางวาแต่ในส่วนของราคาระบุว่าให้เพิ่มหรือลดลงได้ตามเนื้อที่ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะมีราคาเท่าใด จึงไม่ใช่สัญญาขายเหมา
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ตกลงกันว่าจะสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ จึงให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ระหว่างนั้นได้ดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 2 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้นเมื่อถึงกำหนดก็จดทะเบียนโอนที่ดินเป็นชื่อจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของโจทก์จึงต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินผ่านตัวแทน vs. นายหน้า: สิทธิในการรับเงินส่วนเกิน
เมื่อตามหนังสือสัญญาการซื้อขายและสัญญายินยอมกับหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ มิได้มีข้อความระบุไว้แต่อย่างใดว่า จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้า โดยจะยกเงินส่วนที่เหลือเป็นค่าบำเหน็จในการชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าว แต่ในสัญญาสองฉบับข้างต้นกลับเป็นเรื่องที่โจทก์กระทำการแทนบริษัท ท. ซึ่งโจทก์ในฐานะกรรมการคนหนึ่งของบริษัท ท. ดำเนินการเป็นตัวแทนของบริษัทดังกล่าวตกลงซื้อที่ดินจากจำเลย มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ทำหน้าที่เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยให้แก่บริษัท ท.ดังนั้น หากมีเงินส่วนที่เหลือที่จำเลยจะต้องคืน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิรับไว้เนื่องจากเงินดังกล่าว โจทก์ได้มาในฐานะที่ทำการแทนตัวการเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หักกลบส่วนเกินที่ได้รับไปแล้ว
โจทก์จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสินสมรสคนละครึ่ง เมื่อเงินอยู่ที่โจทก์ เท่ากับโจทก์ได้รับส่วนของจำเลยเกินไป ต้องนำส่วนที่โจทก์ได้รับเกินไปหักออกจากสินสมรสจำนวนอื่นที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต่อไป แม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งก็ไม่เป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติไว้ คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากัน ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน จะแบ่งโดยกำหนดราคาทรัพย์สินสมรสให้จำเลยต้องแบ่งแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งได้ ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์จนครบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัทที่ระบุรวมค่าชดเชยเฉพาะส่วนเกินตามกฎหมายแรงงาน ไม่ครอบคลุมค่าชดเชยตามกฎหมายทั้งหมด
เงินบำเหน็จที่โจทก์ได้รับไปคำนวณตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยภาคผนวก 3 ข้อ 3 ก. ซึ่งข้อ 4 ก. กำหนดว่า 'เงินบำเหน็จที่กล่าวในข้อ 3 จะถือว่าได้รวม ไว้แล้วซึ่งเงินค่าชดเชยที่บริษัทพึงจ่ายตามภาคผนวก 5 ใน ส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่กฎหมายแรงงานกำหนด'และภาคผนวก 5 กำหนดว่า 'ค่าชดเชย (1) ลูกจ้างซึ่งให้ออกจากงานเพราะ มีลูกจ้างเกินอัตราหรือลูกจ้างซึ่งถูกให้ออกจากงานโดย ไม่มีความผิดมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน (2) กรณีลูกจ้างถูกให้ออกจากงาน ถ้าเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานมาเกินกว่า 6 ปีแล้วให้ลูกจ้างผู้นั้นมีสิทธิ ได้รับเงินชดเชยเพิ่มขึ้นอีกในอัตราเท่ากับเงินเดือนของแต่ละปี เป็นจำนวน 1 เดือนต่อปี ฯลฯ' ดังนี้เห็นได้ว่า เงินบำเหน็จคงรวมไว้แล้วซึ่งค่าชดเชยเฉพาะในส่วนที่เกิน กว่าจำนวนที่กฎหมายแรงงานกำหนดคือตามภาคผนวก 5 (2) เท่านั้นมิได้รวมถึงค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแรงงาน ตามภาคผนวก 5 (1) เงินบำเหน็จที่โจทก์รับไปแล้วจึงไม่มี ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานรวมอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำขอในคดีแสดงกรรมสิทธิ์: ศาลต้องตัดสินตามที่โจทก์ขอเท่านั้น แม้จะมีส่วนเกินที่ไม่ได้ระบุในคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินหมายเลข 2 ตามแผนที่ท้ายฟ้องเป็นของโจทก์ ทางพิจารณาได้ความว่า ที่ที่โจทก์ขอตามฟ้องเป็นของโจทก์ และปรากฏว่าโจทก์ปลูกห้องแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ของจำเลย 2 ศอก ศาลก็ควรพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามที่โจทก์ขอมาเท่านั้น ที่ 2 ศอก ที่เกินมานี้ไม่มีประเด็นขึ้นมาในคดี ศาลหาควรวินิจฉัยถึงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14806/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง: ผู้กู้และผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดในส่วนเกินหลังบังคับจำนอง หากสัญญามิได้ระบุข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 733
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ยืมและบังคับจำนอง เมื่อตามสัญญาจำนองมิได้ตกลงยกเว้นความใน ป.พ.พ. มาตรา 733 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในเงินส่วนที่ขาดหลังจากการบังคับจำนอง และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยตามมาตรา 698 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5989-5990/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ศาลสั่งคืนส่วนเกินให้จำเลย
ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเพียง 558,545.54 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 13,962.50 บาท จึงให้คืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินมาแก่จำเลย และเมื่อจำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ในส่วนคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้มาแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนอุทธรณ์คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งรวมอยู่ในคำฟ้องอุทธรณ์ฉบับเดียวกันอีก