คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ส่วนได้เสีย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8104/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านการบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเป็นเจ้าหนี้/ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือมีสิทธิที่จดทะเบียน/ยื่นคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยพร้อมบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเลขที่ 32 และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี และนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของจำเลยยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาล ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหมายบังคับคดีและประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดี อ้างว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 67987 ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และบ้านเลขที่ 32 และผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นฟ้องโจทก์กับพวกต่อศาลชั้นต้นเป็นอีกคดีหนึ่งเพื่อขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว เมื่อผู้ร้องทั้งสองเป็นเพียงผู้ที่ได้ยื่นฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาล และแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าผู้ร้องทั้งสองมีสิทธิครอบครองในบ้านเลขที่ 32 และให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 67987 ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 280 ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายบังคับคดีและประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายผู้ว่าการ ททท. ชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีส่วนได้เสียกับบริษัทคู่สัญญา และขัดต่อจรรยาบรรณกรรมการรัฐวิสาหกิจ
ตาม พ.ร.บ. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 15 บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจที่จะยับยั้งการกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ที่เห็นว่าเป็นการขัดต่อนโยบายหรือมติของรัฐมนตรีได้ด้วย ส่วนพนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจที่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน เมื่อปรากฏว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541 เรื่องจรรยาบรรณของกรรมการรัฐวิสาหกิจ ข้อ 4 กำหนดให้กรรมการต้องไม่มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับรัฐวิสาหกิจที่ตนเป็นกรรมการไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัทที่ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี ข้ออ้างในการย้ายโจทก์จากตำแหน่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่เป็นเหตุนอกเหนือไปจากเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 25 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัท ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด หากไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งเป็นนิติบุคคล แต่ผู้ร้องและผู้ร้องร่วมเป็นเพียงผู้ถือหุ้นและกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ทั้งผู้ร้องและผู้ร่วมไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ ผู้ร้องและผู้ร้องร่วมมิใช่เป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียในคดีแรงงาน และไม่มีสิทธิขอทุเลาการบังคับคดี
โจทก์เป็นลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด เป็นกรณีลูกจ้างฟ้องให้นายจ้างชำระเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 วรรคสาม และ ป.พ.พ. มาตรา 582 ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ผู้ร้องเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลย ไม่ใช่ผู้ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ไม่ใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยให้ทำการแทนจึงไม่ใช่นายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ตามความหมายคำว่านายจ้าง (2) และไม่ใช่ผู้ตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานให้ จึงไม่ใช่นายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ผู้ร้องไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับโจทก์ ผลแห่งคดีมีเพียงว่านายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างหรือไม่เพียงใด เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชอบชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก ไม่จำกัดเฉพาะทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 นั้น ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรง หากมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายก็มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ ผู้ร้องเป็นบุตรของ ช. ส่วน ช. เป็นบุตรของผู้ตาย ช. จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์มรดกของผู้ตายย่อมตกทอดได้แก่ทายาทของผู้ตายรวมทั้ง ช. เมื่อ ช. ก็ถึงแก่ความตาย สิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายในส่วนที่ตกได้แก่ ช. จึงเป็นมรดกของ ช. ที่ตกได้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ ช. ผู้ร้องจึงมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เป็นมรดกของผู้ตายด้วยถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียไม่จำกัดเฉพาะทายาท แต่รวมถึงผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง หาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทของผู้ตายทุกกรณีไม่ เมื่อผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ อ. ในที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดกของ อ. หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ดังนั้น ผู้ร้องก็ย่อมมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในที่ดินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ อ. และมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้จะแยกกันอยู่ แต่เมื่อยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย ก็ไม่สิ้นสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1628 ผู้ร้องจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินของผู้ตาย ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3543/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องมีส่วนได้เสียและผลกระทบโดยตรงจากการกระทำของจำเลย การอ้างเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ทำให้เกิดอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้อ้างหนังสือที่ ซ. ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยเป็นพยานต่อศาลโดยมิชอบเนื่องจากไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด การที่จำเลยใช้หนังสือดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานจนศาลหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้โจทก์เสียสิทธิในที่ดินไปโดยไม่ชอบ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งว่าหนังสือยกให้เป็นโมฆะ และห้ามมิให้จำเลยใช้อ้างต่อโจทก์หรือบุคคลภายนอก แต่คำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในที่ดินที่ ซ. ยกให้จำเลยอย่างไร และการที่จำเลยใช้หนังสือเป็นพยานหลักฐานในคดีทำให้โจทก์เสียสิทธิในที่ดินแปลงนี้ไปเพราะเหตุใดซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิพ. มาตรา 55 การกระทำของจำเลยไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนให้ทำได้ และเมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะรับไว้พิจารณาและชอบที่จะยกฟ้องเสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่จำกัดเฉพาะทายาทโดยตรง แต่รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรง หากมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายก็มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ เมื่อทรัพย์มรดกของ ช. เจ้ามรดกตกทอดได้แก่ทายาทซึ่งรวมทั้ง ม. มารดาผู้ร้องด้วย แต่ ม. ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว สิทธิในทรัพย์มรดกของ ช. ส่วนที่ตกได้แก่ ม. จึงเป็นมรดกของ ม. ที่ตกได้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาท ผู้ร้องจึงมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เป็นมรดกของ ช. ด้วยตามส่วน ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้รับมรดกแทนทายาทเดิม โดยมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 บัญญัติว่า ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามมาตราดังกล่าวหาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตายทุกกรณีไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกของ ก. แทนที่ ช. บิดาผู้ร้อง และหลังจากที่ ก. ถึงแก่ความตาย ที่ดินของ ก. และ ส. ยังมิได้จัดแบ่งตามกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของรวม ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่งและถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้
of 24