คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนังสือบริคณห์สนธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ของบริษัท: การตีความวัตถุประสงค์บริษัทตามหนังสือบริคณห์สนธิ
บริษัท อ. มีวัตถุประสงค์กระทำการเป็นผู้สำรวจและจัดการให้เป็นที่ตกลงกันในการประนอมข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการ สืบสวน การตรวจสอบในสิทธิหน้าที่หนี้สิน ข้อพิพาทและสิทธิเรียกร้องทั้งปวงซึ่งเกิดจากสัญญาประกันภัยทุกประเภท ฯลฯ ดังนี้ การรับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยแทนโจทก์จึงอยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัท อ. บริษัท อ. มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์: ผลบังคับใช้เมื่อทำนอกขอบอนุญาต แต่มีวัตถุประสงค์ในหนังสือบริคณห์สนธิ
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1 ที่กู้เงินจากโจทก์ เมื่อการค้ำประกันหนี้เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 อาจได้รับอนุญาตให้กระทำได้ และอยู่ในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้ด้วยฉะนั้น หากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมรู้ด้วยว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ก็จะถือว่า นิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการฝ่าฝืนต้องห้ามโดยกฎหมาย ไม่ได้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์บริษัทจำกัดกับการค้ำประกัน: การตีความขอบเขตอำนาจตามหนังสือบริคณห์สนธิ
ตามหนังสือบริคณห์สนธิของจำเลยที่ 3 ปรากฏในข้อ 3(6) ว่ามีวัตถุประสงค์ในการจำนอง ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ ดังนี้ ต้องถือว่าการค้ำประกันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องของนิติบุคคล: วัตถุประสงค์ของบริษัทจำกัดตามหนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนแล้ว ถือเป็นที่รู้แก่บุคคลทั่วไป
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนเลขที่ 1430 ถึงแม้ว่าจะมิได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ แต่การจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียนและนายทะเบียนจะต้องแต่งย่อรายการไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นอันแก่บุคคลทั้งปวง จึงต้องถือว่าจำเลยทราบวัตถุประสงค์ของโจทก์ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายวัตถุประสงค์มาในฟ้องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหุ้นเพิ่มทุนราคาสูงกว่ามูลค่า ต้องได้รับอนุญาตตามหนังสือบริคณห์สนธิและกฎหมาย
ป.พ.พ.มาตรา 1105 นั้นใช้บังคับตลอดถึงการออกหุ้นโดยเพิ่มทุนของบริษัทด้วย ไม่ใช่ใช้สำหรับในการตั้งบริษัทใหม่เท่านั้น ฉะนั้นการที่บริษัทจะออกหุ้นในการเพิ่มทุน ให้มีราคาสูกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้จะต้องอาศัยหนังสือบริคนห์สนธิของบริษัทได้ให้อำนาจไว้ จึงจะเป็นการถูกต้องตามข้อบัญญัติของมาตรา 1105 วรรค 2
ที่ประชุมใหญ่ของบริษัทลงมติพิเศษให้ออกหุ้นที่เพิ่มขึ้นโดยเรียกเงินให้เปล่าหรือพรีเมียมอีกส่วนหนึ่ง หุ้นละ 50 บาท รวมกับมูลค่าของหุ้น 100 บาท เป็น 150 บาทนั้น เรียกว่าเป็นารออกหุ้นราคาสูงกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้ เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 1105 วรรค 2 และเป็นมติอันผิดระเบียบซึ่งจะถูกศาลเพิกถอนได้ตามมาตรา 1195.
มติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันจะถือได้ว่าเป็นการแก้ไข หนังสือบริคนห์สนธิของบริษัทได้นั้น จะต้องปฏิบัติตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1194 ให้ครบถ้วน.
ที่ประชุมใหญ่ของบริษัทลงมติให้เพิ่มทุนและอนุญาตให้ออกหุ้นราคาสูงกว่ามูลค่าได้ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1105 วรรค 2 ผู้ถือหุ้นได้คัดค้านว่าไม่ควรขายหุ้นราคาสูงกว่ามูลค่าในใบหุ้น แต่ต่อมาผู้ถือหุ้นคนนั้น ได้ตอบรับซึ้อหุ้นที่ออกใหม่ตามมติประชุมในคราวนั้น ไม่เป็นเหตุ+ถือหุ้นในการที่จะนำคดีมาฟ้อง+ ให้เพิกถอนมติอันผิดระเบียบนั้น มาตรา 1195.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหุ้นเพิ่มทุนราคาสูงกว่ามูลค่าต้องมีอำนาจตามหนังสือบริคณห์สนธิ และการเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1105 นั้นใช้บังคับตลอดถึงการออกหุ้นโดยเพิ่มทุนของบริษัทด้วย ไม่ใช่ใช้สำหรับในการตั้งบริษัทใหม่เท่านั้น ฉะนั้นการที่บริษัทจะออกหุ้นในการเพิ่มทุนให้มีราคาสูง กว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้จะต้องอาศัยหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทได้ให้อำนาจไว้ จึงจะเป็นการถูกต้องตามข้อบัญญัติของมาตรา 1105 วรรคสอง
ที่ประชุมใหญ่ของบริษัทลงมติพิเศษให้ออกหุ้นที่เพิ่มขึ้นโดยเรียกเงินให้เปล่าหรือพรีเมียมอีกส่วนหนึ่งหุ้นละ 50 บาทรวมกับมูลค่าของหุ้น 100 บาท เป็น 150 บาทนั้นเรียกว่าเป็นการออกหุ้นราคาสูงกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้ เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 1105 วรรค 2 และเป็นมติอันผิดระเบียบซึ่งจะถูกศาลเพิกถอนได้ตามมาตรา 1195
มติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันจะถือได้ว่าเป็นการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทได้นั้น จะต้องปฏิบัติตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1194 ให้ครบถ้วน
ที่ประชุมใหญ่ของบริษัทลงมติให้เพิ่มทุนและอนุญาตให้ออกหุ้นราคาสูงกว่ามูลค่าได้อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1105 วรรค 2 ผู้ถือหุ้นได้คัดค้านว่าไม่ควรขายหุ้นราคาสูงกว่ามูลค่าในใบหุ้น แต่ต่อมาผู้ถือหุ้นคนนั้น ได้ตอบรับซื้อหุ้นที่ออกใหม่ตามมติของที่ประชุมในคราวนั้น ไม่เป็นเหตุตัดสิทธิผู้ถือหุ้นในการที่จะนำคดีมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนมติอันผิดระเบียบนั้นตามมาตรา 1195

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9556/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลเท็จต่อนายทะเบียนบริษัทเพื่อเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ และที่ตั้งสำนักงาน ถือเป็นความผิดอาญา
การเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิ ป.พ.พ. มาตรา 1145 และมาตรา 1146 กำหนดว่า จะกระทำได้ต่อเมื่อมีการลงมติพิเศษ ซึ่งจะต้องมีการประชุมใหญ่โดยมีคำบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษ และกำหนดให้เป็นหน้าที่ของบริษัทจะต้องจัดให้ไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติพิเศษ และเหตุที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของบริษัทจะต้องนำเรื่องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญเพราะมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก กรณีที่จำต้องใช้เอกสารยืนยันภูมิลำเนาคือสำนักงานแห่งใหญ่ของนิติบุคคลเป็นพยานหลักฐานที่มีการรับรองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นที่เชื่อถือได้ในทางกฎหมาย ทั้งกิจการของบริษัท ร. ก็มิได้เป็นเพียงนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวข้องแต่เฉพาะบุคคลในวงศ์เครือญาติของจำเลย หากแต่ต้องติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นด้วย จำเลยจะอ้างความเคยชิน และความไว้วางใจระหว่างเครือญาติของจำเลยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้ อีกทั้งการที่จำเลยมอบอำนาจให้ทนายความไปยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และแจ้งย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท ร. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครโดยอ้างว่าจำเลยได้บอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2552 โดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์และส่งมอบให้ผู้ถือหุ้น และที่ประชุมวิสามัญมีมติพิเศษให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 2 และย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท จากเดิมที่ตั้งอยู่กรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดราชบุรีโดยไม่เป็นความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 จำเลยจึงอ้างว่าไม่มีเจตนากระทำความผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9556/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเพื่อจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ ถือเป็นความผิดอาญา
การเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิ ป.พ.พ. มาตรา 1145 และมาตรา 1146 กำหนดว่าจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการลงมติพิเศษ ซึ่งจะต้องมีการประชุมใหญ่โดยมีคำบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษ และกำหนดให้เป็นหน้าที่ของบริษัทจะต้องจัดให้ไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติพิเศษ และเหตุที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของบริษัทจะต้องนำเรื่องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญเพราะมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก กรณีที่จำต้องใช้เอกสารยืนยันภูมิลำเนาคือ สำนักงานแห่งใหญ่ของนิติบุคคลเป็นพยานหลักฐานที่มีการรับรองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งกิจการของบริษัท บ. ก็มิได้เป็นเพียงนิติบุคคลที่จดทะเบียนเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวข้องแต่เฉพาะบุคคลในเครือญาติของจำเลย หากแต่ต้องติดต่อกับนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นด้วย จำเลยจะอ้างความเคยชิน และความไว้วางใจระหว่างเครือญาติของจำเลยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้
การที่จำเลยมอบอำนาจให้ทนายความไปยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และแจ้งย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท บ. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยอ้างว่าจำเลยได้บอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ โดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์และส่งมอบให้ผู้ถือหุ้น และที่ประชุมวิสามัญมีมติพิเศษให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทจากเดิมที่ตั้งอยู่กรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดราชบุรีโดยไม่เป็นความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10351/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงลายมือชื่อกรรมการไม่ถือเป็นการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.บริษัทมหาชน พ.ศ.2535 มาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 31 กล่าวเฉพาะข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิเท่านั้นที่หากมีการแก้ไขจะต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ดังนั้น แม้ลายมือชื่อของนางสาว ส. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ จะเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปบ้าง แต่ก็ไม่ถือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชน พ.ศ.2535 มาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 31 กรณีจึงไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 8 ที่ว่า ผู้ถือหุ้นหรือบริษัทจะถือเอาประโยชน์จากบุคคลภายนอกจากข้อความหรือรายการใด ๆ ที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ จนกว่านายทะเบียนจะได้รับจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว เมื่อนาย ส. กรรมการโจทก์ลงลายมือชื่อร่วมกับนางสาว ส. ซึ่งเป็นกรรมการอีกคนหนึ่งและประทับตราสำคัญของโจทก์ อันเป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดในหนังสือรับรอง การมอบอำนาจของโจทก์ชอบแล้ว