พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือเลิกจ้างสองภาษา: เจตนาของคู่สัญญาและสิทธิการได้รับค่าชดเชย
หนังสือเลิกจ้างของบริษัทจำเลยจัดทำขึ้นเป็นสองภาษาคือภาษาอังกฤษและภาษาไทยในฉบับเดียวกัน แม้จำเลยจะเป็นบริษัทต่างประเทศแต่ก็ประกอบกิจการในประเทศไทย และโจทก์กับลูกจ้างอื่น ๆ ของจำเลยก็เป็นคนไทย ดังนั้น แม้หนังสือดังกล่าวจะไม่มีการระบุไว้ชัดแจ้งว่า หากข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษกับข้อความที่เป็นภาษาไทยแตกต่างกันให้ใช้ข้อความภาษาอังกฤษเป็นหลัก กรณีจึงต้องถือว่ามิอาจหยั่งทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะใช้ภาษาใดบังคับ จึงต้องถือตามข้อความที่เป็นภาษาไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 14 เมื่อข้อความภาษาไทยระบุถึงเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานขาดความรับผิดชอบและประสิทธิภาพในการทำงานของโจทก์ไม่เป็นที่ยอมรับของจำเลย อันมิใช่สาเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 จำเลยจะยกเหตุตามมาตราดังกล่าวมาอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ในภายหลังหาได้ไม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ที่ระบุกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง หากมิได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิก นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น หมายถึง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้หากมิได้ระบุเหตุผลดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วย ฉะนั้น แม้ในหนังสือเลิกจ้างจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานและขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย จำเลยก็สามารถยกเหตุการณ์การกระทำผิดอื่น ๆของโจทก์ขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ได้
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ที่ระบุกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง หากมิได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิก นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น หมายถึง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้หากมิได้ระบุเหตุผลดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วย ฉะนั้น แม้ในหนังสือเลิกจ้างจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานและขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย จำเลยก็สามารถยกเหตุการณ์การกระทำผิดอื่น ๆของโจทก์ขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ทนายความทำแทนผู้ให้เช่าได้
การบอกเลิกการเข่าตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 566 นั้น กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นทนายความมีหนังสือบอกเลิกการเช่าแทนผู้ให้เช่า จึงเป็นการสมบูรณ์ให้บังคับได้