พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความยินยอมในการค้ำประกันหนี้: การตีความเจตนาและความหมายของคำว่า 'ตลอดไป' ในหนังสือยินยอม
ความยินยอมให้ทำนิติกรรมไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายจะให้ความยินยอมเป็นการล่วงหน้าและตลอดไปไม่ได้ทั้งโดยสภาพผู้ให้ความยินยอมสามารถให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายหรือตลอดไปก็ได้หนังสือให้ความยินยอมมีข้อความว่าจำเลยที่2ยินยอมให้ จ. สามีทำนิติกรรมในการกู้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีค้ำประกันฯลฯหรือทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องได้โดยจำเลยที่2ตกลงให้ความยินยอมในการกระทำนั้นตลอดไปย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่2มีเจตนาให้ความยินยอมในการที่ จ. ทำนิติกรรมที่ระบุในหนังสือให้ความยินยอมและนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ได้ตลอดไปดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่ จ. ทำกับโจทก์เพื่อ ค้ำประกันหนี้ของ ว. ที่มีต่อโจทก์ย่อมมีผลใช้บังคับโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมในการทำนิติกรรมของคู่สมรส: ขอบเขตและผลผูกพันของหนังสือยินยอมที่ให้ความยินยอมตลอดไป
ความยินยอมให้ทำนิติกรรมของสามีภริยาไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายจะให้ความยินยอมเป็นการล่วงหน้าและตลอดไปไม่ได้และโดยสภาพแล้วความยินยอมให้ทำนิติกรรมผู้ให้ความยินยอมสามารถให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายหรือตลอดไปได้ หนังสือให้ความยินยอมมีข้อความว่าจำเลยยินยอมให้จ.สามีทำนิติกรรมในการกู้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีค้ำประกันและมีข้อความต่อไปอีกว่าหรือทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องได้โดยจำเลยตกลงให้ความยินยอมในการกระทำนั้นตลอดไปสัญญาค้ำประกันที่จ. ทำกับโจทก์จึงมีผลใช้บังคับโดยชอบจำเลยไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากสินสมรส: ภริยาฟ้องได้โดยไม่จำเป็นต้องมีหนังสือยินยอมจากสามี
คำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่1ลูกจ้างจำเลยที่2ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสของโจทก์จากจำเลยที่2จึงไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476วรรคหนึ่งระบุไว้ในอนุมาตรา1ถึงอนุมาตรา8แต่ประการใดและในวรรคสองได้ระบุว่าการจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งสามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายฉะนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานหนังสือยินยอม การสืบพยานบุคคลแทนหนังสือยินยอมขัดต่อกฎหมาย
โจทก์มิได้นำสืบหนังสือยินยอมของสามีจำเลยที่ให้จำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แต่กลับสืบพยานบุคคลแทนหนังสือให้ความยินยอม และการที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยมีหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงว่าสามีจำเลยได้ให้ความยินยอมนั่นเอง จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับความยินยอมจากสามีให้ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3174/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมที่ถูกข่มขู่ แต่ไม่บอกล้างภายในหนึ่งปี ย่อมมีผลผูกพัน และผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามไปด้วย
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์จะทำหนังสือให้ความยินยอมรับสภาพหนี้ที่ ธ. ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์และเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะถูกโจทก์ข่มขู่อันจะเป็นเหตุให้หนังสือให้ความยินยอมตกเป็นโมฆียะกรรมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้บอกล้างหนังสือให้ความยินยอมภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หนังสือให้ความยินยอมย่อมมีผลใช้บังคับ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามที่ได้ทำหนังสือให้ความยินยอมไว้ และเมื่อหนี้ตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวไม่มีกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระไว้เป็นการแน่นอน ทั้งการที่กำหนดให้โจทก์ไปดำเนินการเรียกร้องจาก ธ.และธนาคาร อ. ก่อน แล้วจำเลยที่ 1 จะชำระส่วนที่เรียกร้องไม่ได้ก็หาเป็นการที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1ผู้เป็นลูกหนี้แต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ, หนังสือยินยอมสามี, บอกกล่าวบังคับจำนอง, ดอกเบี้ยเกินอัตรา, และดอกเบี้ยผิดนัด
คดีก่อนโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลย บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง คดีก่อนที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องเพราะโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ต่อมาเมื่อโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้วฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ หนังสือให้ความยินยอมของสามีโจทก์ ไม่เป็นใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ การบอกกล่าวบังคับจำนอง กำหนดเวลาให้ชำระหนี้ ภายใน 30 วันเป็นเวลาอันสมควร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4054/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีของหญิงมีสามีและประเด็นความสมบูรณ์ของฟ้องที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าโจทก์เป็นหญิงมีสามีแต่โจทก์ไม่ได้แนบหนังสือให้ความยินยอมมาท้ายคำฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยมิได้อ้างเหตุแห่งการนี้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรส จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1479 จำเลยจะอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1475 วรรคท้ายมาใช้โดยจำเลยมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งหาได้ไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 มิได้บังคับให้มีการชี้สองสถานทุกคดีไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วก็ย่อมมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3083/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสินสมรส: การแก้ไขข้อบกพร่องด้านความสามารถฟ้องคดี และการไต่สวนความถูกต้องของหนังสือยินยอม
โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีมิได้ยื่นหนังสือยินยอมของสามีให้ฟ้องคดีมาพร้อมกับฟ้องในศาลชั้นต้น แต่ได้ส่งหนังสือยินยอมดังกล่าวมาพร้อมฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ จำเลยแก้ฎีกาว่าหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่จำเลยไม่รับรอง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงควรให้ศาลชั้นต้นไต่สวนว่าหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ที่ให้ฟ้องคดีถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็ถือว่าโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีบริบูรณ์แล้ว ถ้าไม่ถูกต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่ง แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าที่จำเลยไม่ทราบฟ้องและข้อบกพร่องของหนังสือยินยอมหย่า ทำให้สัญญาหย่าไม่สมบูรณ์
โจทก์รู้ที่อยู่ของจำเลยดี แต่หลีกเลี่ยงไม่ให้จำเลยทราบฟ้องโจทก์จำเลยแสดงเหตุที่ขาดนัดให้การและพิจารณา และชี้แจงในคำขอพิจารณาใหม่ว่าหนังสือหย่าทำผิดแบบ เป็นรายละเอียดที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วหนังสือยินยอมหย่ามีพยานลงลายมือชื่อคนเดียวไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 1498 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หน้าที่ของจำเลยในการยืนยันแก้ไขเอกสารเพื่อให้บรรลุผลตามสัญญา
โจทก์ จำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันในสัญญาข้อ 8 ระบุว่า จำเลยจะเซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 4 คำขอ และจำเลยได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ตามสัญญา โดยแยกทำหนังสือยินยอม 1 ฉบับ ต่อคำขอของโจทก์ 1 คำขอโจทก์ได้นำหนังสือยินยอมดังกล่าวไปยื่นประกอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อเจ้าหน้าที่กองเครื่องหมายการค้า หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอยืมหนังสือยินยอมของจำเลยจากเจ้าหน้าที่มาจัดการขูดลบ แก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมเป็นระบุหมายเลขคำขอโจทก์ 4 เลขหมายที่ จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ตามสัญญาต่อหนังสือยินยอมของจำเลย 1 ฉบับ โดยมิได้เพิ่มเติมเลขหมายคำขอให้มีจำนวนมากขึ้นและมิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อความอื่นให้ผิดไปจากเดิมอันจะทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใดซึ่งโจทก์ได้ทำไปโดยพลการปราศจากการรู้เห็นยินยอมของจำเลย แล้วโจทก์นำหนังสือยินยอมของจำเลยที่แก้ไขนั้นไปยื่นใหม่ เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีรอยขูดลบ แก้ไข จึงมีหนังสือให้โจทก์นำจำเลยไปยืนยันและเซ็นชื่อกำกับข้อความที่แก้ไขเพราะสงสัยว่าจะไม่ใช่หนังสือยินยอมอันแท้จริงของจำเลย ดังนี้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำหนังสือยืนยันและไปลงชื่อกำกับรอยแก้ไขในหนังสือยินยอมให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของเจ้าหน้าที่นั้น จำเลยจะอ้างว่าได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์แล้ว จึงหมดความผูกพันตามสัญญาหาได้ไม่ เพราะการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับพิจารณาหนังสือยินยอมของจำเลย เท่ากับว่ายังขาดหนังสือยินยอมของจำเลยนั่นเอง คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่ตกลงกันในสัญญา