พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดและการไม่อุทธรณ์ตามกำหนดเวลา ส่งผลให้ศาลชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดได้
หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายแล้ว โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์หรือเหตุสุดวิสัยก็ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำสั่งศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดดังได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นแล้ว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีที่ถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้ กรณีไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ, การส่งสำนวนให้ศาลรัฐธรรมนูญ, และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ส่งสำนวนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดที่ศาลชั้นต้นได้ออกให้แก่โจทก์นั้นล้วนเป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นได้สั่งหลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว คำสั่งทั้งสองประการดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา อีกทั้งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งทั้งสองดังกล่าวได้
กรณีที่ศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยนั้น จะต้องเป็นเรื่องของข้อโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดี ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่กรณีตามคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ผู้พิพากษาบางคนที่ลงชื่อเป็นองค์คณะในคำพิพากษามิใช่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาซึ่งจำเลยจะต้องว่ากล่าวโต้แย้งโดยการยื่นอุทธรณ์ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ส่งสำนวนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาจึงชอบแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด ศาลชั้นต้นชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้ แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์แต่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายแล้ว ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำสั่งศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีถึงที่สุด ไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
กรณีที่ศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยนั้น จะต้องเป็นเรื่องของข้อโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดี ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่กรณีตามคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ผู้พิพากษาบางคนที่ลงชื่อเป็นองค์คณะในคำพิพากษามิใช่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาซึ่งจำเลยจะต้องว่ากล่าวโต้แย้งโดยการยื่นอุทธรณ์ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ส่งสำนวนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาจึงชอบแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด ศาลชั้นต้นชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้ แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์แต่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายแล้ว ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำสั่งศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีถึงที่สุด ไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด