พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาซื้อขายเงินกู้, การผิดสัญญา, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
หนังสือสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 1 มีข้อความว่า "ผู้จะขายยอมตกลงขายที่นาฝากไว้... เป็นราคาเงิน 200,000 บาท มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาถึงวันที่ 1 เมษายน 2543 หากไม่มีเงิน 200,000 บาท มาคืนให้ผู้ซื้อ ผู้ขายยอมให้ที่นาจำนวน 15 ไร่ ตามสัญญาให้แก่ผู้จะซื้อ ณ วันที่ 1 เมษายน 2543" มีความหมายเพียงว่า จำเลยที่ 1 จะยอมให้กรรมสิทธิ์ในที่นาตกไปยังโจทก์ทั้งสองก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงิน 200,000 บาท คืนแก่โจทก์ทั้งสองเมื่อถึงเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้กรรมสิทธิ์ในที่นาตกไปยังโจทก์ทั้งสองทันทีโดยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 อาจไถ่ที่นานั้นคืนได้ในภายหลัง อันจะต้องด้วยลักษณะของสัญญาขายฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวนหนึ่งไปจากโจทก์ทั้งสองและตกลงว่าจะชำระคืนให้ อันเข้าลักษณะเป็นการกู้เงิน และหนังสือสัญญาดังกล่าวย่อมใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะกล่าวมาในคำฟ้องด้วยว่าจำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินแก่โจทก์ทั้งสอง ก็เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงเท้าความถึงข้อความที่ปรากฏในหนังสือสัญญา ซึ่งโจทก์แนบสำเนามาท้ายคำฟ้องเท่านั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าต้องด้วยบทกฎหมายใด โดยเฉพาะโจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องขอให้บังคับคดีเกี่ยวกับที่ดิน คงขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินคืนท่านั้น
โจทก์อุทธรณ์ว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกเงินคืนหากวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาเอกสารหมาย จ.1 เป็นสัญญาขายฝากตกเป็นโมฆะ ก็ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 บังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินแก่โจทก์ในฐานะที่เป็นลาภมิควรได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฎีกาว่า ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์มิใช่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น เพราะเป็นการฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยตรง มิใช่เป็นฎีกาที่ต้องห้าม
โจทก์อุทธรณ์ว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกเงินคืนหากวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาเอกสารหมาย จ.1 เป็นสัญญาขายฝากตกเป็นโมฆะ ก็ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 บังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินแก่โจทก์ในฐานะที่เป็นลาภมิควรได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฎีกาว่า ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์มิใช่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น เพราะเป็นการฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยตรง มิใช่เป็นฎีกาที่ต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีผลบังคับใช้ แม้การกู้ยืมส่วนหนึ่งไม่เกิดขึ้น
จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 500,000 บาท ต่อมาจำเลยได้ติดต่อขอกู้เงินโจทก์อีก 4,000,000 บาท แล้วโจทก์กับจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโดยระบุรวมเอาจำนวนเงิน 500,000 บาท ที่จำเลยกู้จากโจทก์ไปก่อนหน้านั้นเข้าไว้ด้วย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,500,000 บาท แม้การกู้เงินกันจำนวน 4,000,000 บาท ในภายหลังจะไม่เกิดขึ้น หนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวก็ยังมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ในหนี้จำนวน 500,000 บาท ที่มีการกู้ยืมกันจริง และถือว่าโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีในหนี้เงินกู้ยืมจำนวน 500,000 บาท แล้วตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์เอกสารปลอม แม้ไม่ได้ยกข้อต่อสู้ไว้ก่อน
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้ไปสำนักงานที่ดินอำเภอ ในวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามหนังสือสัญญาขายที่ดิน และไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดจึงมีลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ปรากฏอยู่ในเอกสารดังกล่าวนั้น เป็นการนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นเอกสารปลอม จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้เช่นนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสี่เพียงแต่บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ร่วมกับ จ.และจำเลยโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับหนังสือสัญญาขายที่ดิน เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามฟ้อง จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะต้องให้การถึงหนังสือสัญญาขายที่ดินที่โจทก์ไม่ได้บรรยายมาในฟ้องนั้น และเมื่อต่อมาโจทก์นำหนังสือสัญญาขายที่ดินมาสืบเป็นพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบให้เห็นว่า หนังสือสัญญาขายที่ดินเอกสารหมาย จ.3 เป็นเอกสารปลอมเพื่อสนับสนุนข้อเถียงของจำเลยตามที่ได้ให้การไว้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามฟ้องแต่เพียงผู้เดียวได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นเอกสารปลอมก็ตาม
โจทก์ทั้งสี่เพียงแต่บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ร่วมกับ จ.และจำเลยโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับหนังสือสัญญาขายที่ดิน เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามฟ้อง จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะต้องให้การถึงหนังสือสัญญาขายที่ดินที่โจทก์ไม่ได้บรรยายมาในฟ้องนั้น และเมื่อต่อมาโจทก์นำหนังสือสัญญาขายที่ดินมาสืบเป็นพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบให้เห็นว่า หนังสือสัญญาขายที่ดินเอกสารหมาย จ.3 เป็นเอกสารปลอมเพื่อสนับสนุนข้อเถียงของจำเลยตามที่ได้ให้การไว้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามฟ้องแต่เพียงผู้เดียวได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นเอกสารปลอมก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้เงินที่มิได้ขีดฆ่าแสตมป์ ทำให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้รับเงินกู้ไปแล้ว จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จะต้องอ้างสัญญากู้เป็นพยานหลักฐานในคดี เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลมิได้ขีดฆ่าแสตมป์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ดังนี้ ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานที่จะรับฟังว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4818/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบอกเล่าประกอบพยานหลักฐานอื่น หักกลบลบหนี้ได้ แม้ไม่มีหลักฐานการชำระหนี้เป็นหนังสือ
พยานบอกเล่าเป็นเพียงพยานที่มีน้ำหนักน้อยเท่านั้น แต่ไม่ใช่พยานที่กฎหมายห้ามมิให้รับฟัง เมื่อพยานบอกเล่านั้นสมเหตุผลและมีพยานอื่นสนับสนุน ก็เป็นพยานที่มีน้ำหนักควรแก่การรับฟังได้ ผู้ตายกู้ยืมเงินโจทก์โดยทำหนังสือสัญญากู้ เมื่อหนี้ถึงกำหนดผู้ตายได้โอนขายที่ดินบางส่วนให้โจทก์เป็นการหักกลบลบหนี้ดังนี้ผู้ตายย่อมหลุดพ้นจากหนี้ตามหนังสือสัญญากู้นั้น การนำสืบการหักกลบลบหนี้นั้นไม่ต้องมีหลักฐานการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2530 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิในทรัพย์สินโดยหนังสือสัญญา ทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้รับสิทธิโดยสมบูรณ์ แม้ไม่ต้องจดทะเบียน
เมื่อสามีทำหนังสือสละสิทธิในทรัพย์สินทั้งปวงให้แก่ภรรยาที่พิพาทซึ่งในโฉนดมีชื่อภรรยาถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของภรรยาโดยสมบูรณ์ หาจำต้องจดทะเบียนกันอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในหนังสือสัญญา กู้ยืมเงิน ชื่อเล่นใช้ได้ หากแสดงเจตนาชัดเจน
จำเลยทั้งสองเขียนจดหมายถึงโจทก์อ่านแล้วได้ความว่า จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินโจทก์เพื่อสร้างบ้านให้เสร็จ การที่จำเลยทั้งสองเขียนชื่อเล่นของจำเลยทั้งสองไว้ในตอนท้าย จดหมายดังกล่าวด้วยตัวอักษรธรรมดา (หวัดแกมบรรจง) นั้น ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2530)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2530)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญา การใช้ชื่อเล่นแทนชื่อจริง และการกู้ยืมเงิน
จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากัน เขียนจดหมายถึงโจทก์ข้อความในจดหมายดังกล่าวฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองเขียนชื่อเล่น ของจำเลยทั้งสองไว้ในตอนท้ายจดหมาย ด้วยตัวอักษรหวัดแกมบรรจงถือว่า เป็นการลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเดิมยังใช้บังคับได้ แม้มีการแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินภายหลัง
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้แม้ภายหลังจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินในสัญญานั้นก็ไม่ทำให้การกู้ยืมเงินอันมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้แต่เดิมเสียไปโจทก์ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีตามหนังสือสัญญากู้ที่ทำไว้เดิมได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาเงินกู้ แม้ไม่ได้ระบุผู้ให้กู้ ก็ใช้เป็นหลักฐานได้ หากมีเจตนาทำสัญญา
จำเลยเขียนกรอกข้อความลงในแบบพิมพ์สัญญากู้ยืมเงินว่าวันที่ 1 กันยายน 2524 จำเลยได้กู้ยืมเงินไปเป็นจำนวน 60,000 บาท กำหนดชำระคืนภายใน 3 เดือน คือวันที่1 ธันวาคม 2524 แล้วลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ แต่มิได้กรอกข้อความในช่องว่างที่ว่าได้ทำหนังสือให้ไว้แก่ผู้ใด ไม่มีลายมือชื่อในช่องผู้ให้กู้ พยานและผู้เขียนสัญญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือต้องมีข้อความว่ากู้ยืมเงินจากผู้ใด ถ้าได้ความว่าจำเลยทำมอบให้แก่โจทก์ ก็มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไปและทำหลักฐานการกู้ยืมไว้ให้ หนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือแล้ว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือต้องมีข้อความว่ากู้ยืมเงินจากผู้ใด ถ้าได้ความว่าจำเลยทำมอบให้แก่โจทก์ ก็มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไปและทำหลักฐานการกู้ยืมไว้ให้ หนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือแล้ว