คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนังสือแจ้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ค่าเวนคืน: ผลของหนังสือแจ้งการนำเงินฝากและการตัดสิทธิการอ้างเหตุระยะเวลาอุทธรณ์
แม้นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทน ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ถึงวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ จะพ้นกำหนดเวลา 60 วัน แต่ในระหว่างเวลา 60 วัน ดังกล่าว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสืออีกฉบับแจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้กับธนาคารออมสินให้โจทก์ทราบ โดยระบุตอนท้ายของหนังสือว่า หากท่านไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทน ท่านมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ มิฉะนั้นท่านจะหมดสิทธิอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยึดถือตามหนังสือฉบับหลังนี้ และยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ภายในกำหนดเวลาตามหนังสือฉบับหลังนี้ จำเลยย่อม ถูกตัดบทมิให้ยกระยะเวลาที่ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ตามหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนฉบับแรกขึ้นมาต่อสู้เพื่อให้ยกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้คัดค้านในการแจ้งให้ผู้รับซื้อทรัพย์สินโอนกรรมสิทธิ์คืนแก่ลูกหนี้ในคดีล้มละลาย และการที่หนังสือแจ้งนั้นไม่ถือเป็นคำสั่งที่สามารถร้องคัดค้านได้
++ เรื่อง ล้มละลาย (ชั้นคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์)
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 87 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแจ้งให้โอนคืน แต่ไม่สร้างหนี้ได้
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเป็นเพียงหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการรับโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ.กับผู้ร้องเป็นการโอนขายที่ดินภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด แม้จะมีถ้อยคำขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1ภายใน 30 วัน อยู่ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้วหากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม ผู้คัดค้านหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นเด็ดขาดไม่เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่ 1 ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ค่าเวนคืน: การอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแม้ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทน
ตามหนังสือที่จำเลยขอให้โจทก์ผู้ถูกเวนคืนไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเขตทางหลวงมีข้อความระบุว่า "ด้วยคณะกรรมการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของท่าน... เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ ค่าทดแทนที่ดินโฉนดที่... เป็นเงิน... บาท จึงขอให้ท่านไปตกลงราคาค่าทดแทนดังกล่าวข้างต้น... หากไม่ได้รับการติดต่อภายในกำหนดเวลาดังกล่าว...จะได้ดำเนินการวางเงินค่าทดแทนต่อไป" เมื่อพิจารณาหนังสือดังกล่าวประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่งที่บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9... กำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่ที่ให้มารับเงินค่าทดแทนดังกล่าว และมาตรา 9 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทน ให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ และดำเนินการให้แล้วเสร็จ และประกาศราคาที่กำหนดไว้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ดังนี้ เห็นได้ชัดแจ้งว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนตามมาตรา 9 วรรคสี่ แล้วเมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจ โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้ทันทีโดยไม่จำต้องรอหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนอีก
กำหนดระยะเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดแห่งการใช้สิทธิอุทธรณ์ หาใช่กำหนดเวลาเริ่มต้นให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความหนังสือแจ้งค่าทดแทนและการคำนวณดอกเบี้ยในคดีเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
หนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินมีข้อความว่า เรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา และตอนท้ายของหนังสือระบุว่า ในการติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนนี้โจทก์มีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนโดยสงวนสิทธิหรือไม่สงวนสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งสิ่งที่ส่งมาด้วยมีรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญารับเงินค่าทดแทน ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นเหตุให้เข้าใจได้ว่าเป็นหนังสือแจ้งให้มาทำสัญญาตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนกันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อการกระทำทางปกครองของเจ้าหน้าที่ไม่มีความชัดแจ้ง จึงต้องตีความให้เกิดความชอบธรรมแก่ผู้ถูกกระทำคือประชาชนมิให้เสียสิทธิโดยไม่เป็นธรรม กรณีเช่นนี้จึงถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวมิใช่หนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530
หนังสือเอกสารหมาย จ.5 เป็นเพียงหนังสือเชิญโจทก์ไปติดต่อขอทำสัญญารับเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2535 แจ้งให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่วางไว้ที่ธนาคารออมสินตามหนังสือเอกสารหมาย จ.16 เมื่อโจทก์ไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.6และเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 30 กรกฎาคม 2535 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ค่าแผงรั้ว ประตูอัลลอยย์ และรั้วกับช่องระเบียง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ไว้ต่างหากแล้วในคดีของศาลแพ่งตามสำเนาคำพิพากษาท้ายฎีกาของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ในคดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 2 ในคดีนี้เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นคดีดังกล่าวเป็นการเวนคืนรายเดียวกันกับคดีนี้และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยถึงความเสียหายในส่วนนี้ให้ในคดีนี้
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดอีกเป็นเงิน 266,200 บาท ทั้งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนที่เป็นสนามหญ้าเพิ่มขึ้นไว้แล้วในคดีของศาลแพ่ง ดังนั้นสำหรับคดีนี้จึงมีปัญหาที่จะวินิจฉัยเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเท่านั้น
ที่โจทก์ฎีกาขอให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ.2530 ใช้บังคับ เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าไม่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม และโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ศาลให้จำเลยทั้งสองชำระเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่: หนังสือแจ้งให้วางเงินไม่ใช่หนังสือให้รับโอนสิทธิ
แม้ศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตามที่โจทก์ขอและจำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ซึ่งมีผลทำให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดก็ตาม แต่การที่จำเลยยื่นคำร้องในภายหลังต่อมาว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และเหตุที่จำเลยไม่ได้มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีของโจทก์ เพราะจำเลยจำวันนัดคลาดเคลื่อนไป ขอให้ไต่สวนคำร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีของโจทก์และมีคำสั่งยกหมายบังคับคดี พร้อมกับจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อน ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวเท่ากับเป็นกรณีที่จำเลยกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติป.วิ.พ. ลักษณะ 2 การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งต้องด้วยมาตรา 296 วรรคแรกที่ให้อำนาจแก่ศาลที่จะมีคำสั่งให้ยกหรือแก้ไขหมายบังคับคดีนั้นเสียได้
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า โจทก์จะดำเนินการให้จำเลยได้รับสิทธิการเช่าห้องเลขที่ 191 จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงในอาคารห้องเลขที่ดังกล่าวหรือผู้ที่ได้รับสิทธิการเช่าช่วงหรือจากโจทก์ หากสามารถโอนสิทธิการเช่าได้เมื่อใดภายในก่อนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 จำเลยยอมชำระเงินส่วนที่เหลือ690,000 บาท ทั้งหมดในคราวเดียว แต่ให้หักชำระจากเงินที่ชำระไว้เดือนละ5,000 บาท นับแต่วันทำสัญญานี้ออกเสียก่อน แก่โจทก์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือให้ทำการรับโอนสิทธิ การชำระเงินจำนวนดังกล่าวจำเลยต้องนำมาวางต่อศาล ผิดนัดในข้อนี้ ยอมให้บังคับคดีและจำเลยจะต้องออกจากห้องพิพาท และขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากห้องพิพาททันที แต่ตามหนังสือบอกกล่าวของทนายโจทก์ถึงจำเลยระบุให้จำเลยนำเงินไปวางต่อศาลฝ่ายเดียวภายใน 2 เดือน โดยไม่ระบุว่าฝ่ายโจทก์จะโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยเมื่อใดเพียงแต่กล่าวว่าหลังจากจำเลยวางเงินต่อศาลครบถ้วนแล้ว โจทก์ก็จะได้เร่งดำเนินการให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าเท่านั้น จึงมิใช่หนังสือให้ทำการรับโอนสิทธิดังโจทก์อ้าง แม้จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวและมิได้นำเงินมาวางศาลจนล่วงพ้น 2 เดือน นับแต่วันรับ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. เริ่มนับจากวันที่ทราบคำวินิจฉัย แม้ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้ง
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 56 วรรคแรก ไม่ได้บัญญัติวิธีการในการแจ้งให้ทราบถึงคำวินิจฉัย คชก. ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร หรือจะต้องทำเป็นหนังสือทางการหรือไม่ ดังนั้น หากผู้เช่านาทราบคำวินิจฉัย คชก.ตำบลแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด ก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาที่ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน โจทก์ที่ 1 ทราบคำวินิจฉัย คชก.ตำบลแล้วในวันเดียวกันโจทก์ที่ 1 บอกให้โจทก์ที่ 2 ทราบคำวินิจฉัย คชก.ตำบลจึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 2 ได้ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลเช่นเดียวกัน โจทก์ทั้งสองจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลแม้ต่อมา คชก.ตำบล จะมีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยให้โจทก์ทั้งสองทราบในภายหลังอีก ก็หาเป็นผลให้โจทก์ทั้งสองอ้างเป็นเหตุให้เริ่มนับระยะเวลาอุทธรณ์ใหม่ นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวอีกได้ไม่เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์เกินกว่า 30 วันนับแต่ทราบคำวินิจฉัยแต่แรกเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 56 วรรคแรกคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 56 วรรคสองคชก.จังหวัดไม่มีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคชก.ตำบล ตามที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ การที่ คชก.จังหวัดได้ลงมติและวินิจฉัยอีก จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ปราศจากอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่ให้โจทก์ทั้งสองเลิกการเช่านาเป็นที่สุดแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ทำนาในที่นาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. การนับเริ่มจากวันที่ทราบคำวินิจฉัย แม้ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้ง
พระราชบัญญัติญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา56วรรคแรกไม่ได้บัญญัติวิธีการในการแจ้งให้ทราบถึงคำวินิจฉัยคชก.ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรหรือจะต้องทำเป็นหนังสือทางการหรือไม่ดังนั้นหากผู้เช่านาทราบคำวินิจฉัยคชก.ตำบลแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาที่ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน30วัน โจทก์ที่1ทราบคำวินิจฉัยคชก.ตำบลแล้วในวันเดียวกันโจทก์ที่1บอกให้โจทก์ที่2ทราบคำวินิจฉัยคชก.ตำบลจึงต้องถือว่าโจทก์ที่2ได้ทราบคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลเช่นเดียวกันโจทก์ทั้งสองจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดภายใน30วันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลแม้ต่อมาคชก.ตำบลจะมีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยให้โจทก์ทั้งสองทราบในภายหลังอีกก็หาเป็นผลให้โจทก์ทั้งสองอ้างเป็นเหตุให้เริ่มนับระยะเวลาอุทธรณ์ใหม่นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวอีกได้ไม่เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์เกินกว่า30วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยแต่แรกเป็นการฝ่าฝืนมาตรา56วรรคแรกคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลจึงเป็นที่สุดตามมาตรา56วรรคสองคชก.จังหวัดไม่มีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลตามที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์การที่คชก.จังหวัดได้ลงมติและวินิจฉัยอีกจึงเป็นคำวินิจฉัยที่ปราศจากอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายถือว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่ให้โจทก์ทั้งสองเลิกการเช่านาเป็นที่สุดแล้วโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ทำนาในที่นาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังประกาศเป็นป่าสงวน: เจตนาและหนังสือแจ้งผลคดี
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนที่ทางราชการจะประกาศให้ที่ดินบริเวณที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แม้จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีครั้งแรกและพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏเหตุผลที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยในครั้งนั้น ทั้งไม่ได้ความจากการนำสืบของโจทก์ว่าได้มีการแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการให้จำเลยทราบ หรือได้มีการแจ้งให้จำเลยออกจากที่พิพาท และจำเลยยังคงครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา แม้การที่จำเลยจะไม่ได้ไปแจ้งการครอบครองที่พิพาทต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทางราชการประกาศให้ที่ดินบริเวณที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติมีผลจะถือว่าจำเลยได้สละสิทธิในที่พิพาทและไม่มีสิทธิครอบครองอีกต่อไปก็ตาม แต่การที่พนักงานอัยการมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยไปยังหัวหน้าพนักงานสอบสวนโดยไม่ระบุเหตุผลการสั่งไม่ฟ้องและไม่ได้ความว่าได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบและแจ้งให้จำเลยออกจากที่พิพาทด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดาในชนบทเข้าใจได้ว่ายังคงมีสิทธิครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทได้อีกต่อไป ประกอบกับเมื่อจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีในครั้งนี้ จำเลยก็ให้การภาคเสธตลอดมาตั้งแต่ชั้นจับกุมว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือแจ้งการครอบครองมาก่อน คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนายึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติ ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเสียอายุความทางภาษีอากร: หนังสือแจ้งให้ขอคืนเงินถือเป็นการยอมรับหนี้และสละสิทธิเรียกร้องอายุความ
สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราอากรที่ได้เสียเกิน ย่อมสิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2468 มาตรา 10 วรรคห้าแต่การที่หัวหน้าฝ่ายกลาง กองพิธีการและประเมินอากร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามที่จำเลยมอบหมายมีหนังสือถึงโจทก์หลังจากครบกำหนดอายุความเรียกร้องขอคืนเงินอากรว่าโจทก์เสียอากรไว้เกินให้ไปติดต่อขอรับเงินที่ชำระไว้เกินคืน ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความอันครบบริบูรณ์แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 จำเลยจึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่.
of 2