พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008-5010/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้กู้ยืมที่มีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย ถือเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี เกินกว่าอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับตามฟ้องแยกเป็นการชำระเงินต้นเท่าใด ชำระดอกเบี้ยเท่าใด จึงถือว่าเช็คตามฟ้องทั้ง 7 ฉบับ ที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์ได้รวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ทุกฉบับ แม้ธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 7 ฉบับจำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมมีส่วนโมฆะ ไม่ทำให้สัญญาทั้งหมดเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินที่สมบูรณ์ได้
แม้สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์และจำเลยมีหนี้ส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วยเนื่องจากโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่สัญญากู้ตกเป็นโมฆะทั้งหมด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8673/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน: การชำระหนี้กู้ยืมควบคู่กับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา
โจทก์และจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโดยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยชำระเงินกู้ให้โจทก์ทั้งหมดครบถ้วนแล้ว โจทก์ตกลงยินยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์อยู่ให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทนในวันที่จำเลยชำระหนี้ครบถ้วน หนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นหนี้ที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องชำระตอบแทนซึ่งกันและกันทันทีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ มิใช่เพียงข้อผูกพันที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะแยกการชำระหนี้ออกจากกันได้ กรณีจึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 คือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้กู้ยืมเงินทั้งหมดแก่โจทก์โดยไม่ได้เสนอว่าโจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญากู้เงินตอบแทนด้วยจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้กู้ยืมเงินให้แก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะขอชำระหนี้ตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบความเป็นมาของหนี้กู้ยืมเงินเพื่อยืนยันเหตุผลในการรับผิดตามสัญญา ไม่ถือเป็นการนำสืบเกินกรอบประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์แล้ว โจทก์นำสืบว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์มาก่อนวันทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน โดยวิธีนำเช็คมาแลกเงินสดจากโจทก์หลายครั้ง แล้วรวมทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นจำนวนเงินตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คจากธนาคารได้ เป็นการนำสืบเพื่อให้ทราบถึงมูลเหตุที่จำเลยต้องทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ อันเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาแห่งหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว และเป็นข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าเหตุใดจำเลยจึงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้อง หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาดังกล่าวหรือเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4372/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแบ่งแยกหนี้กู้ยืม ดอกเบี้ยเกินอัตรา นำดอกเบี้ยรวมต้นเงิน สัญญาจำนองยังใช้บังคับกับหนี้สมบูรณ์
การที่โจทก์นำดอกเบี้ยจำนวน 60,000 บาท ที่จำเลยค้างชำระซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่คิดในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ไปรวมเข้ากับต้นเงิน 300,000 บาทที่กู้ยืม แสดงว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาที่จะแบ่งแยกการกู้เงินออกเป็นสองส่วน เฉพาะนิติกรรมการกู้ยืมส่วนที่เป็นดอกเบี้ยจำนวน 60,000 บาท เท่านั้น ที่ตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยในส่วนจำนวน 300,000 บาท ยังคงสมบูรณ์อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 หนี้กู้ยืมระหว่างโจทก์ จำเลยในเงินส่วนนี้จึงเป็นหนี้สมบูรณ์ เมื่อจำเลยจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ในวงเงิน360,000 บาท สัญญาจำนองดังกล่าว จึงมีผลใช้บังคับได้ตามจำนวนหนี้ประธานที่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ระหว่างเงินฝากและหนี้กู้ยืม โดยไม่ต้องมียินยอม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 ไม่ได้กำหนดว่าการหักกลบลบหนี้จะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งดังนั้นเมื่อการฝากเงินของโจทก์ไว้กับธนาคารจำเลยไม่มีการกำหนดเวลาคืนเงินฝากไว้แน่นอน ต้องถือว่าหนี้เงินฝากถึงกำหนดชำระหนี้ทันทีที่โจทก์ได้ฝากเงินไว้กับจำเลย และการกู้เงินและรับฝากเงินระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันมาหักกลบลบกันไว้ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำเงินฝากในบัญชีของโจทก์ไปหักกลบลบกับหนี้ที่โจทก์กู้เงินไปจากจำเลยที่ถึงกำหนดชำระแล้วได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองระงับเมื่อหนี้กู้ยืมเงินประธานสิ้นสุด แม้มีข้อตกลงจำนองเป็นประกันหนี้ในอนาคต หากสัญญาสิ่งอุปกรณ์ไม่ได้ระบุชัดเจน
แม้ในสัญญาจำนองที่ดินจะระบุข้อความว่า จำนองเป็นประกันหนี้ซึ่งจำเลยผู้จำนองมีต่อธนาคารโจทก์ผู้รับจำนองในเวลานี้หรือที่จะมีขึ้นใหม่ในภายหน้าก็ตามแต่เมื่อหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานที่มีการจำนองเป็นประกันได้ระงับสิ้นไปโดยจำเลยชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(1) ทั้งในการทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยก็มิได้ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวว่ามีการจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีมีข้อสงสัยเช่นนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ให้ตีความในทางที่เป็นคุณแก่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น กรณีต้องฟังว่าโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงให้นำสัญญาจำนองที่ดินมาเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินเพื่อชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้กู้ยืม แม้ดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย ก็ไม่กระทบสิทธิเรียกร้องเงินต้น การออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
หนี้ต้นเงินกู้ยืมที่จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่โจทก์กับดอกเบี้ยของต้นเงินกู้ยืมเป็นหนี้คนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้แม้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยจะเกินจากอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยก็คงมีผลแต่เพียงว่าโจทก์สิ้นสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อาจคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเท่านั้นแต่หาได้สิ้นสิทธิที่จะได้รับต้นเงินกู้ยืมไม่ และหากจำเลยชำระดอกเบี้ยไปแล้วก็หาอาจที่จะเรียกคืนหรือนำไปหักจากต้นเงินกู้ยืมได้ไม่ เมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วยการออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้เพราะขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงใช้เงินได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ทำให้การออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยให้คืนเงินแก่ตนมิได้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายการออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
++ ++++++++++++++++++++++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยและนายสุพลอินทรำพรรณ สามีของจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินนายฉัตรชัย เจริญผล ผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท กำหนดชำระเงินคืนภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2539ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
ต่อมาจำเลยออกเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขามาบตาพุดลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จำนวนเงิน 100,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.3 ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540 โดยให้เหตุผลว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย เนื่องจากจำเลยไม่มีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีเงินฝาก
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นต่อเมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ คดีนี้จำเลยและสามีร่วมกันกู้ยืมเงินผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1สำหรับการกู้ยืมเงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" และประมวลรัษฎากร มาตรา 118บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น เมื่อสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 ต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยและสามีไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 มาฟ้องบังคับจำเลยและสามีให้คืนเงิน 100,000 บาทแก่ตนมิได้ เช่นนี้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ แม้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยจะได้ความว่า จำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.3 เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายเสียแล้ว การออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
++
++ ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือว่าจำเลยกู้ยืมและทำสัญญากู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากผู้เสียหายจริงข้อเท็จจริงจึงยุติว่า จำเลยกู้ยืมเงินจริง คดีไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นหลักฐานในคดี แม้สัญญากู้ยืมเงินมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ยืมเงินให้ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น
++ ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ให้ถูกต้องความผิดของจำเลยก็ยังไม่เกิด
++ ขณะผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยและมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีความผิดต่อส่วนตัวกับจำเลยตลอดจนในขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ สัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การกระทำของจำเลยก็ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิด ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนและโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
++ ที่จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือยอมรับว่าทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายก็ไม่อาจทำให้สิทธิการร้องทุกข์ของผู้เสียหายและอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ไม่มีมาแต่เริ่มแรกพลิกฟื้นเกิดขึ้นโดยมีผลย้อนหลังไปได้คำฟ้องที่เสียไปก็ไม่อาจกลับคืนดีขึ้นมาได้อีก
++ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ความรับผิดทางอาญามีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 บังคับว่าไม่ว่าพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ส่วนการรับฟังพยานหลักฐานได้เพียงใด หรือไม่ก็มีบทบัญญัติบังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 อันเป็นหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา การฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227นั้น
++ เห็นว่า ก่อนศาลจะฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลย ต้องปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้ว่า มีการกระทำครบองค์ประกอบเป็นความผิดสำเร็จตามกฎหมายเสียก่อน แล้วจึงจะพิจารณาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่
คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 มีองค์ประกอบความผิดที่เกี่ยวกับหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ว่า ต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อหนี้ที่จำเลยออกเช็คชำระเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีประมวลกฎหมายรัษฎากรบัญญัติถึงการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่งของสัญญากู้ยืมเงินกำกับไว้อีกชั้นหนึ่ง จึงแตกต่างจากหนี้ทางแพ่งอื่นทั่วไปเมื่อกฎหมายบัญญัติไว้แจ้งชัดเช่นนี้ ย่อมไม่มีหนทางที่จะนำหลักกฎหมายดังที่โจทก์ฎีกาทำให้พลิกผันไปเป็นอย่างอื่นได้
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยให้คืนเงินแก่ตนมิได้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายการออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
++ ++++++++++++++++++++++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยและนายสุพลอินทรำพรรณ สามีของจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินนายฉัตรชัย เจริญผล ผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท กำหนดชำระเงินคืนภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2539ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
ต่อมาจำเลยออกเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขามาบตาพุดลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จำนวนเงิน 100,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.3 ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540 โดยให้เหตุผลว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย เนื่องจากจำเลยไม่มีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีเงินฝาก
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นต่อเมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ คดีนี้จำเลยและสามีร่วมกันกู้ยืมเงินผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1สำหรับการกู้ยืมเงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" และประมวลรัษฎากร มาตรา 118บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น เมื่อสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 ต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยและสามีไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 มาฟ้องบังคับจำเลยและสามีให้คืนเงิน 100,000 บาทแก่ตนมิได้ เช่นนี้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ แม้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยจะได้ความว่า จำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.3 เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายเสียแล้ว การออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
++
++ ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือว่าจำเลยกู้ยืมและทำสัญญากู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากผู้เสียหายจริงข้อเท็จจริงจึงยุติว่า จำเลยกู้ยืมเงินจริง คดีไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นหลักฐานในคดี แม้สัญญากู้ยืมเงินมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ยืมเงินให้ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น
++ ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ให้ถูกต้องความผิดของจำเลยก็ยังไม่เกิด
++ ขณะผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยและมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีความผิดต่อส่วนตัวกับจำเลยตลอดจนในขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ สัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การกระทำของจำเลยก็ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิด ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนและโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
++ ที่จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือยอมรับว่าทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายก็ไม่อาจทำให้สิทธิการร้องทุกข์ของผู้เสียหายและอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ไม่มีมาแต่เริ่มแรกพลิกฟื้นเกิดขึ้นโดยมีผลย้อนหลังไปได้คำฟ้องที่เสียไปก็ไม่อาจกลับคืนดีขึ้นมาได้อีก
++ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ความรับผิดทางอาญามีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 บังคับว่าไม่ว่าพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ส่วนการรับฟังพยานหลักฐานได้เพียงใด หรือไม่ก็มีบทบัญญัติบังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 อันเป็นหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา การฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227นั้น
++ เห็นว่า ก่อนศาลจะฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลย ต้องปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้ว่า มีการกระทำครบองค์ประกอบเป็นความผิดสำเร็จตามกฎหมายเสียก่อน แล้วจึงจะพิจารณาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่
คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 มีองค์ประกอบความผิดที่เกี่ยวกับหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ว่า ต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อหนี้ที่จำเลยออกเช็คชำระเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีประมวลกฎหมายรัษฎากรบัญญัติถึงการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่งของสัญญากู้ยืมเงินกำกับไว้อีกชั้นหนึ่ง จึงแตกต่างจากหนี้ทางแพ่งอื่นทั่วไปเมื่อกฎหมายบัญญัติไว้แจ้งชัดเช่นนี้ ย่อมไม่มีหนทางที่จะนำหลักกฎหมายดังที่โจทก์ฎีกาทำให้พลิกผันไปเป็นอย่างอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยวิธีการอื่นแทนการชำระหนี้ตามสัญญาเดิม และผลกระทบต่อการระงับสิ้นหนี้
การนำสืบว่า จำเลยโอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วกรณีมิใช่ เป็นการนำสืบการใช้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็น หนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จึงไม่ต้องห้าม มิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง จำเลยได้โอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และโจทก์ได้ยอมรับชำระหนี้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ ที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมทำให้หนี้กู้ยืมรายพิพาทระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคหนึ่ง