คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้ขาดอายุความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการตรวจสอบหนี้ และข้อจำกัดการรับชำระหนี้ขาดอายุความ
แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือหนี้ที่เป็นมูลให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็หาผูกพันให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลต้องถือตามไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลจึงมีอำนาจจะฟังข้อเท็จจริงว่า หนี้สินตลอดจนหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งยื่นขอรับชำระนั้นมีมูลหนี้อันจะพึงอนุญาตให้รับชำระหนี้ตามคำขอหรือไม่
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์นำหนี้ซึ่งสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วมาขอรับชำระหนี้ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 94 (1) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4372/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามหนังสือรับสภาพความรับผิดขาดอายุความเมื่อยื่นขอรับชำระหนี้เกิน 2 ปีนับจากวันที่ลูกหนี้รับสภาพ
หนี้ตามหนังสือรับสภาพความรับผิดมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35ปรากฏว่าลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพความรับผิดในวันที่ 5 สิงหาคม 2536แต่เจ้าหนี้รายที่ 6 ยื่นฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งวันที่ 31 มกราคม 2539 ต่อมาได้ถอนฟ้องและนำหนี้มายื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ การที่เจ้าหนี้รายที่ 6 ฟ้องคดีดังกล่าวแล้วถอนฟ้องไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อเจ้าหนี้รายที่ 6 ยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 13 มิถุนายน 2539 จึงเป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิด หนี้รายนี้จึงขาดอายุความไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง: บังคับจำนองได้แม้หนี้ขาดอายุความ แต่จำกัดดอกเบี้ยค้างชำระ และไม่สามารถเอาทรัพย์หลุดได้หากราคาทรัพย์ท่วมหนี้
จำเลยร่วมกู้เงินโจทก์ โดยจำเลยนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน จำเลยร่วมค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 7 ปีเศษโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 745 ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น กล่าวคือ ห้ามบังคับจำนองหนี้ประเภทเดียวคือดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความหรือไม่ก็ตาม หาใช่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเรียก ดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนที่ค้างชำระไม่เกินห้าปี เท่านั้น โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ. 2530เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดิน ของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัว อยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงิน ที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้ ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3) นั้นปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับ วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีผิดสัญญาจ้างแรงงาน เริ่มนับจากวันที่สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเกิด ขึ้นเมื่อหนี้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ติดตามทวงถามลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แก่โจทก์ ไม่ปฎิบัติตามหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนคดีขาดอายุความ ทำให้โจทก์เสียหายและเรียกค่าเสียหาย เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้เมื่อสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อนาย ส. ขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2525 และสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อคู่กรณีที่ขับรถชนรถยนต์ของโจทก์ขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2524ดังนี้ โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้นับแต่วันที่หนี้แต่ละรายดังกล่าวขาดอายุความ โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 24 มีนาคม 2536 จึงเป็นเวลาเกิน 10 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนองจากผู้จำนองที่ดินเพื่อประกันการทำงานของลูกหนี้ แม้หนี้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 ผู้จำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์ผู้รับจำนองจากการกระทำของจำเลยที่ 1 คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยในศาลชั้นต้นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคือมีสิทธิบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 ได้หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่งแต่ก็หาตัดสิทธิโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองที่จะบังคับชำระหนี้อันเกิดจากความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นตามสัญญาจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189(เดิม) และมาตรา 745ไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยแก่จำเลยที่ 2ได้ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินตามฟ้องของจำเลยที่ 2 มาจำนองเป็นประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาว่าหากจำเลยที่ 1 ก่อความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาทจำเลยที่ 2 จึงมิใช่มีฐานะเป็นเพียงผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 เท่านั้นแต่เป็นผู้จำนองที่ดินตามฟ้องไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 อาจก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ด้วย ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองจึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้นั้นจากทรัพย์สินที่จำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189(เดิม)(มาตรา 193/27 ใหม่)และมาตรา 745 ได้ไม่ว่าหนี้ที่ค้ำประกันนั้นจะขาดอายุความหรือไม่ จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1ด้วยการทำสัญญารับสภาพหนี้โดยจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมรู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ทั้งถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้แปลงหนี้ใหม่ โดยจำเลยที่ 2 ไม่รู้เห็นหรือยินยอมด้วยจำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นความรับผิด ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ขาดอายุความแต่ลูกหนี้รับสภาพหนี้แล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
หนี้ที่ลูกหนี้ได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หนี้ขาดอายุความย่อมไม่สามารถขอรับชำระได้
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ศาลออกคำบังคับ ถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเริ่มต้นบังคับคดีแล้ว เพราะหากลูกหนี้ตามคำพิพากษายอมปฏิบัติตามคำบังคับโดยครบถ้วน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงโดยไม่ต้องขอให้บังคับคดีและศาลไม่ต้องออกหมายบังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอหมายบังคับคดีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดี หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จะร้องขอให้บังคับคดีไม่ได้ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจอ้างอายุความเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ได้
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ การที่เจ้าหนี้นำหนี้ที่ขาดอายุความแล้วมายื่นขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมมีอำนาจที่จะอ้างเอาอายุความมาเป็นมูลยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้แม้ขาดอายุความแล้ว ถือเป็นการละเสียซึ่งอายุความ จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้ไม่ได้
หลังจากหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ขาดอายุความแล้วจำเลยได้ทำหนังสือรับว่าเป็นหนี้โจทก์ แล้วโจทก์และจำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น จึงเป็นเรื่องคู่กรณีทำหนังสือรับสภาพความผิดโดยสัญญา ถือว่าจำเลยละเสียซึ่งอายุความจำเลยจะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์อีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ที่ขาดอายุความแล้ว ยังมีผลผูกพันบังคับได้ หากลูกหนี้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จะขาดอายุความแต่ลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสภาพความรับผิด โดยเจ้าหนี้มอบอำนาจให้ น. เป็นตัวแทนทำขึ้นกับลูกหนี้และลูกหนี้ได้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้บางส่วน หนังสือรับสภาพความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ฟ้องบังคับกันได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอ้างว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ขาดอายุความหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 2